ลดการใช้น้ำด้วยการดูแลดิน

วิธีการจัดการดินที่ใช้น้ำน้อย

1. การคลุมดิน (Mulching) เป็นการเก็บความชื้นในดินเพื่อให้พืชที่ปลูกสามารถนําน้ำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

ชนิดวัสดุคลุมดิน (ควรเลือกวัสดุคลุมดินที่หาได้ง่าย และเหมาะสมกับชนิดพืชที่ปลูก)

1. วัสดุเศษพืช เช่น แกลบ ฟางข้าว ขี้เลื่อย กากอ้อย หญ้าแห้ง ฯลฯ

2. วัสดุสังเคราะห์ เช่น กระดาษ แผ่นพลาสติก

ประโยชน์การคลุมดิน

ด้านกายภาพ :

–  ลดแรงกระแทกของเม็ดฝน

–  ลดอุณหภูมิภายในดิน และลดการจับตัวเป็นแผ่นแข็งที่ผิวดินเนื่องจากการสูญเสียน้ำ

–  รักษาสภาพภูมิอากาศบริเวณรอบทรงต้นพืชให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต

–  ลดการระเหยน้ำจากผิวดิน ชะลอการไหลบ่าของน้ำ และลดการชะล้าง พังทลายของดิน

ด้านเคมี :

–  ช่วยเร่งปฏิกิริยาในการย่อยสลายสารประกอบไนโตรเจนจากวัสดุหรือสารอินทรีย์จากตอซังหรือเศษซากพืชที่ใส่ลงไปในดินให้เร็วขึ้น

ด้านชีวภาพ

–  เพิ่มกิจกรรมจุลินทรีย์ในดินทําให้พืชเจริญเติบโต และให้ผลผลิตคุณภาพดีขึ้น

2. การปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เช่น การปลูกพืชคลุมดิน (Cover Crops) 

เป็นการปลูกพืชที่มีใบหนาแน่น หรือมีระบบรากแน่นปกคลุมหน้าดิน และยึดดินไว้ เช่น การปลูกพืชตระกูลถั่วหรือตระกูลหญ้า

ชนิดของพืชคลุมดิน

1.  พืชตระกูลถั่ว : พืชปุ๋ยสดตระกูลถั่ว (ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ปอเทือง โสนอัฟริกัน ถั่วมะแฮะ) ถั่วปืนตอย ถั่วคาโลโปโกเนียม ถั่วคุดซู ถั่วไซราโตร ถั่วซีรูเลียม

2.  พืชตระกูลหญ้า : หญ้าเนเปีย หญ้ากินนี

3.  หญ้าแฝก (ตัดใบคลุมดิน) 

ควรเลือกพืชคลุมดินที่เจริญเติบโตเร็ว แข่งกับวัชพืชไม่ให้ตั้งตัวได้ทัน เลื้อยปกคลุมพื้นที่ว่าง ถ้าเป็นพืชตระกูลถั่วจะยิ่งดี เพราะสามารถตรึงไนโตเจนจากอากาศ เมื่อพืชคลุมดินตายจะปลดปล่อยธาตุอาหารลงสู่ดิน

ประโยชน์ของพืชคลุมดิน

ด้านกายภาพ :

–  ลดแรงกระแทกของเม็ดฝน

–  ลดการสูญเสียธาตุอาหารที่เกิดจากการชะล้างพังทลายของดิน

–  รักษาความชุ่มชื้นในดิน

ด้านเคมี :

–  เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารพืช ดินมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น ทําให้พืชเจริญเติบโตและผลผลิตดีขึ้น

ด้านชีวภาพ

–  เพิ่มกิจกรรมจุลินทรีย์ในดินและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมทําให้พืชเจริญเติบโต และให้ผลผลิตคุณภาพดีขึ้น

ด้านอื่นๆ :

–  ลดอัตราการใช้ปุ๋ยเคมี

–  เพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่าย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ชุดดินในที่ดอนที่สำคัญ ในภาคกลาง 6. ชุดดินกำแพงแสน (Kamphaeng Saen series : Ks) กลุ่มชุดดินที่ 33 การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนเนินตะกอนรูปพัด สภาพพื้นที่ : ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 1-5 % การระบายน้ำ : ดี การซึมผ่านได้ของน้ำ : ปานกลาง
รำข้าว คือ ส่วนที่ได้จากการขัดข้าวกล้องให้เป็นข้าวสาร ซึ่งประกอบด้วยชั้นเยื่อหุ้มเมล็ด และคัพภะ เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งได้จากกระบวนการสีข้าว โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ รำหยาบ (bran) ซึ่งได้จากการขัดผิวเมล็ดข้าวกล้อง และรำละเอียด(polish) ได้จากการขัดขาวและขัดมัน นอกจากนี้รำข้าวยังมีคุณค่าทางอาหารสูง
ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช มีอยู่ 16 ธาตุ แต่มีเพียง 7 ธาตุ เท่านั้นที่พืชต้องการใช้ในปริมาณน้อยมาก และเราเรียกธาตุเหล่านี้ว่า จุลธาตุ (Micronutrient) ได้แก่ เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) สังกะสี (Zn) ทองแดง (Cu) โบรอน (B) โมลิดินัม (Mo) คลอรีน (Cl) แม้ว่าพืชต้องการธาตุเหล่านี้น้อย แต่ก็มี