ฝ่าวิกฤตภัยแล้งด้วยพืชหลังนา

จากสถานการณ์ภัยแล้งในปัจจุบัน ทำให้เกิดปัญหาในการทำนาเนื่องจากน้ำไม่เพียงพอต่อการปลูกข้าว  2 รอบต่อปี นายบุญเรือง พลายลหาร อายุ 42 ปี บ้านเลขที่ 17/2 หมู่ที่ 7 ต.บ้านสระ อ.สามชุก  จ.สุพรรณบุรี จัดการพื้นที่เพาะปลูก 25 ไร่โดยการปลูกข้าว 1 รอบต่อปีและหลังจากการเก็บเกี่ยว จึงทำการปลูกพืชหลังนา โดยเลือกปลูกถั่วเขียวเนื่องจากผลตอบแทนสุทธิ และอัตราผลตอบแทนต่อการลงทุนสูง นอกจากนั้นเกษตรกรทำการเลี้ยงวัวเนื้อ ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ในช่วงการพักนาและเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาภัยแล้งได้อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งมีกิจกรรมทางการเกษตรดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 กิจกรรมทางการเกษตร

เทคนิคการปลูกข้าว

 เกษตรกรเลือกปลูกข้าวพันธุ์หอมปทุมธานี 1เนื่องจากต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว และเหมาะกับพื้นที่เพาะปลูกเป็นดินทราย ทำให้การเจริญเติบโตของข้าวได้ดี  ซึ่งเกษตรกรเริ่มจากการเตรียมดินในช่วงต้นเดือน ก.ค. หลังจากนั้นสูบน้ำเข้าพื้นที่ปลูกให้สูงประมาณ 4-5 เซนติเมตร โดยแหล่งน้ำมาจากคลองมะขามเฒ่าอู่ทอง และทำการปั่นโรตารี่ ขลุบดิน เมื่อทำการเตรียมดินครบทุกขั้นตอนแล้วทำการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวปริมาณ 30 กิโลกรัม/ไร่ โดยเมล็ดพันธุ์ข้าวจะต้องทำการแช่น้ำเป็นระยะเวลา 1 วันและทำการบ่มก่อนการหว่านเพื่อให้มีรากงอก หลังจากนั้นทำการใส่ปุ๋ย 3  ครั้ง  ครั้งที่ 1คือ 30 วันหลังจากการหว่านเมล็ดโดยใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0  เพื่อช่วยให้พืชมีใบสีเขียว มีส่วนในการสังเคราะห์แสง ทำให้พืชเจริญเติบโตมีความสูง ใบเจริญงอกงามมีขนาดใหญ่ ใบสีเขียวเข้ม

  ครั้งที่ คือ 45 วันหลังจากการหว่านเมล็ดโดยใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0  เพื่อเพิ่มผลผลิต ป้องกันแมลงและเชื้อโรคได้ดีมาก โดยเฉพาะ นาข้าว พืชไร่ ทำให้พืชเขียวนาน

  ครั้งที่ 3 คือ 70-75 วันหลังจากการหว่านเมล็ดโดยใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-22-8 ทำให้ต้นข้าวแกร่ง ไม่ล้มง่าย และเพิ่มผลผลิต

เมื่อใส่ปุ๋ยครบทั้ง 3 ครั้งแล้วก็ทำการรอเวลาเก็บเกี่ยวช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งผลผลิตที่ได้จะขายในรูปแบบต้นสดเนื่องจากประหยัดเวลและค่าจ้างด้านแรงงาน ส่วนฟางข้าวจะทำการอัดก้อนเพื่อเก็บไว้เป็นอาหารให้กับวัว

เทคนิคการปลูกถั่วเขียว

หลังจากหมดฤดูการปลูกข้าวเกษตรกรทำการเตรียมดินโดยการไถกลบตอซังด้วยผานบุกเบิก  ปั่นโรตารี่ หว่านเมล็ดถั่วเขียว และปั่นโรตารี่กลบเมล็ด ตามลำดับ หลังจากนั้นทำการดูแลวัชพืช และโรคแมลง โดยเกษตรกรกล่าวว่า “จะทำการกำจัดโรคและแมลงเมื่อเห็นอาการที่ผิดปกติเท่านั้น เนื่องจากจะเสียค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน และสารเคมีสูงขึ้น” หลังจากการปลูกเป็นระยะเวลาประมาณ 80-90 วันทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตโดยราคาอยู่ที่ประมาณ 25,000 บาทต่อตัน

การเลี้ยงวัวเนื้อ

วัวเนื้อที่เกษตรกรเลี้ยง คือ พันธุ์บราห์มัน มีทั้งหมด 14 ตัว ได้แก่ แม่พันธุ์ 7 ตัว และลูกพันธุ์ 7 ตัวซึ่งหลักการเลี้ยงวัวเนื้อคือ ต้องให้อาหารและน้ำอย่างเพียงพอเต็มที่ โดยเกษตรกรใช้ฟางข้าวอัดก้อนที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวข้าว และหญ้าเนเปียร์ที่ทำการซื้อจากไร่ เป็นอาหารสำหรับวัว ราคาวัวเนื้อที่เกษตรกรสามารถขายได้ ดังนี้

1.  ตัวผู้ อายุประมาณ 1 ปีราคาอยู่ที่ประมาณ 20,000-25,000 บาท/ตัว

2.  แม่พันธุ์พร้อมลูกในท้อง ราคาอยู่ที่ประมาณ 40,000 บาท/ตัว

การปลูกพืชหลังนาและการเลี้ยงวัวเป็นอีกช่องทางที่ช่วยเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้นและฝ่าวิกฤตภัยแล้งไปได้ แต่เกษตรกรต้องมีการจัดการเพาะปลูกเพื่อวางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้สิ่งเหลือใช้เช่น ฟางข้าว ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

บทความที่เกี่ยวข้อง

การระบาดของแมลงศัตรูอ้อยในช่วงเดือนต่างๆ ได้แก่ หนอนกอลายจุดเล็ก หนอนกอลายจุดใหญ่ หนอนกอลายใหญ่ หนอนกอลายแถบแดง หนอนกอสีชมพู หนอนกอสีขาว แมลงหวี่ขาวอ้อย เพลี้ยกระโดดอ้อย เพลี้ยจักจั่นสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นงวง เพลี้ยกระโดดดำ เพลี้ยหอยอ้อย เพลี้ยอ่อนสำลี เพลี้ยแป้งสีชมพู มวนอ้อย ไรแมงมุมอ้อย ด้วงหนวดยาวอ้อย แมลงนูนหลวง ปลวกอ้อย แมลงค่อมทอง ด้วงขี้ควาย ด้วงดำ ด้วงงวงอ้อย ตั๊กแตนไฮโรไกรฟัส ตั๊กแตนโลกัสต้า ตั๊กแตนปาทังก้า และหนอนบุ้ง
หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด (Corn borer : Ostrinia fumacalis Guenee) รูปร่างลักษณะ : หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด เป็นแมลงศัตรูสำคัญที่สุดชนิดหนึ่งของข้าวโพด โดยเฉพาะในไร่ที่มีการปลูกข้าวโพดมานานปี หรือในแหล่งที่มีการใช้สารฆ่าแมลงมาก เพราะจะไปทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น แตนเบียนไข่ ซึ่งเป็นตัวคอย
พบมาก : ในนาชลประทาน ภาคกลาง สาเหตุ : พบทุกภาคที่มีการระบาดของแมลงพาหะ อาการ : ข้าวเป็นโรคได้ตั้งแต่ระยะแตกกอจนถึงระยะตั้งท้อง ต้นข้าวที่เป็นโรคนี้ ใบแสดงอาการสีแสดจากปลายใบที่ใบล่าง และเป็นสีแสดทั่วทั้งใบยกเว้นเส้นกลางใบ ใบที่เป็นโรคจะม้วนจากขอบใบทั้งสองข้างเข้ามาหาเส้นกลางใบ และใบจะ