ถั่วเขียวพันธุ์ใหม่ ผลผลิตสูง เมล็ดโต ต้านทานโรค

ประเทศไทยมีพื้นที่ผลิตถั่วเขียวประมาณ 829,145 ไร่ มีความต้องการเมล็ดพันธุ์ 4,146 ตัน แต่รัฐผลิตได้ 617 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ของความต้องการเมล็ดพันธุ์ทั้งประเทศ ตั้งแต่ปี 2557 เกิดปัญหาฝนแล้งทำให้เกษตรกรไม่สามารถทำนาปรังได้ ประกอบกับนโยบายแทรกแซงราคาข้าวสิ้นสุดลง เกษตรกรจึงหันมาปลูกถั่วเขียวแทนการทำนาปรัง  และก่อนการทำนาปีมากขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว ผลิตผลถั่วเขียว (เมล็ดพืช) เกษตรกรขาย ให้โรงงานแปรรูป ในราคากิโลกรัมละ 35 บาท (ผลผลิตถั่วเขียวโดยเฉลี่ยประมาณ 150 กิโลกรัมต่อไร่ อายุเก็บเกี่ยว 70 วัน หากมีการถ่ายทอดพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงขึ้น และการจัดการที่ดีจะยกระดับผลผลิตและรายได้ให้แก่เกษตรกร) ผลผลิตถั่วเขียวในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อความต้องการของ ภาคอุตสาหกรรมต้องนำเข้าจากต่างประเทศ

การส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวเป็นอาชีพทางเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากราคาเมล็ดพันธุ์ในปี 2558 200 กิโลกรัมต่อไร่ ดังนั้น เกษตรกรจะมีรายได้จากการผลิตเมล็ดพันธุ์ ไร่ละ 10,000 – 14,000 บาท อยู่ที่ประมาณ  60 – 70 บาท (กรมวิชาการจำหน่ายที่ราคา 40 บาทต่อกิโลกรัม) ผลผลิตเมล็ดพันธุ์ประมาณ

ในปี 2548 – 2554 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สนับสนุน ศ.ดร.พีระศักดิ์  ศรีนิเวศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้ทุนส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยอาชีพ โครงการเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการพัฒนาพันธุ์ถั่วเขียวไทย โดยได้ศึกษาลักษณะที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของถั่วเขียวพันธุ์ดีจากทั่วโลก การพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุล และสร้างแผนที่พันธุกรรมของถั่วเขียว รวมถึงการใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการช่วย คัดเลือกพันธุ์ถั่วเขียว ทำให้ได้ถั่วเขียวสายพันธุ์ดี 5 สายพันธุ์ ให้ผลผลิตสูงกว่า 300 กิโลกรัมต่อไร่ และมีขนาดเมล็ดใหญ่ (น้ำหนัก 1,000 เมล็ด ประมาณ 75-80 กรัม) มีความ ต้านทานต่อโรคราแป้งและใบจุด 

ลักษณะประจำพันธุ์ เคยูเอ็มแอล 1

  • ลำต้น: ลำต้นสีม่วง การแตกกิ่งก้านเป็นกลุ่ม มีความสูงของทรงพุ่มที่ระยะสุกแก่ประมาณ 70-75 เซนติเมตร
  • ฝัก และเมล็ด: ฝักมีลักษณะกลมยาว ส่วนปลายของฝักแหลมโค้งงอเล็กน้อย ฝักแก่สีน้ำตาล-ดำ เมล็ดมีสีเขียวเข้ม มีน้ำหนัก 1,000 เมล็ด ประมาณ 80 กรัม
  • ลักษณะอื่นๆ: มีใบใหญ่ สีเขียวเข้ม ลำต้นแข็งแรง โคนใหญ่ ต้นสูง แต่ไม่หักล้ม ทรงพุ่มค่อนข้างโปร่ง ต้านทานโรคราแป้งและใบจุด ปานกลาง แต่ส่วนใหญ่จะเกิดโรคหลังจากฝักแรกเปลี่ยนเป็นสีดำแล้ว จึงไม่กระทบต่อผลผลิตโดยรวม

ลักษณะประจำพันธุ์ เคยูเอ็มแอล 2

  • ลำต้น: ลำต้นสีเขียวการแตกกิ่งก้านเป็นกลุ่ม มีความสูงของทรงพุ่มที่ระยะสุกแก่ประมาณ 60-65 เซนติเมตร
  • ฝัก และเมล็ด: ฝักมีลักษณะกลมยาว ติดฝักเป็นช่อ ส่วนปลายของฝักโค้งเล็กน้อย ฝักแก่ สีดำ เมล็ดมีสีเขียวเข้ม มีน้ำหนัก 1,000 เมล็ด ประมาณ 75 กรัม
  • ลักษณะอื่นๆ: มีใบใหญ่สีเขียวลำต้นตั้งตรงแข็งแรง โคนต้นใหญ่ไม่หัก ฝักชูเหนือทรงพุ่ม อายุสุกแก่สั้น ประมาณ 65 วัน ต้านทานโรคราแป้งและใบจุดปานกลาง

ลักษณะประจำพันธุ์ เคยูเอ็มแอล 3

  • ลำต้น: ลำต้นสีเขียว การแตกกิ่งก้านเป็นกลุ่ม มีความสูงของทรงพุ่มที่ระยะสุกแก่ประมาณ 70-75 เซนติเมตร
  • ฝัก และเมล็ด: ฝักมีลักษณะกลมยาว ติดฝักเป็นช่อ ส่วนปลายของฝักโค้งเล็กน้อยฝักแก่ สีดำ ข้างในมีเมล็ดสีเขียวเข้ม มีน้ำหนัก 1,000 เมล็ด ประมาณ 80 กรัม
  • ลักษณะอื่นๆ: มีใบสีเขียวลำต้นตั้งตรงแข็งแรง โคนต้นใหญ่ไม่หักล้ม ช่อดอกดก ฝักใหญ่ ชูเหนือทรงพุ่ม อายุสุกแก่สั้น ประมาณ 65 วัน ต้านทานโรคราแป้งและใบจุด

ลักษณะประจำพันธุ์ เคยูเอ็มแอล 4

  • ลำต้น: ลำต้นสีเขียว การแตกกิ่งก้านเป็นกลุ่ม มีความสูงของทรงพุ่มที่ระยะสุกแก่ประมาณ 70-75 เซนติเมตร
  • ฝัก และเมล็ด: ฝักมีลักษณะกลมยาว ติดฝักเป็นช่อ ส่วนปลายของฝักโค้งเล็กน้อยฝักแก่ สีน้ำตาลดำ เมล็ดมีสีเขียวเข้ม มีน้ำาหนัก 1,000 เมล็ด ประมาณ 75 กรัม
  • ลักษณะอื่นๆ: มีใบสีเขียวลำต้นตั้งตรงแข็งแรง โคนต้นใหญ่ไม่หักล้ม ช่อดอกดก ฝักใหญ่ ชูเหนือทรงพุ่ม อายุสุกแก่สั้น ประมาณ 65 วัน ต้านทานโรคราแป้งและใบจุดดี

ลักษณะประจำพันธุ์ เคยูเอ็มแอล 5

  • ลำต้น: ลำต้นสีเขียว การแตกกิ่งก้านเป็นกลุ่ม มีความสูงของทรงพุ่มที่ระยะสุกแก่ประมาณ 70-75 เซนติเมตร
  • ฝัก และเมล็ด: ฝักมีลักษณะกลมยาว ติดฝักเป็นช่อดกส่วนปลายของฝักโค้งขึ้นเล็กน้อย ฝักแก่มีสีฟางข้าว มีเมล็ดสีเขียวสด มีน้ำหนัก 1,000 เมล็ด ประมาณ 75 กรัม 
  • ลักษณะอื่นๆ: มีใบสีเขียวลำต้นตั้งตรงแข็งแรง ไม่หักล้ม ช่อดอกดก ฝักดก ฝักชูเหนือ ทรงพุ่ม ฝักแก่มีสีฟางข้าว อายุสุกแก่สั้น ประมาณ 65 วัน

แชร์ :

[seed_social]

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้าวที่ดีที่สุดในโลกคือ ข้าวหอมมะลิ 105 ของไทยไม่มีใครกล้าปฏิเสธ แต่ผลผลิตที่เกษตรกรปลูกได้ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 350-450 กก./ไร่ เท่านั้น แต่มีกลุ่มเกษตรกรบ้านช้างมิ่ง จ.สกลนคร ปลูกข้าวหอมมะลิได้ผลผลิตถึง 700 กก./ไร่ และยังได้ราคาสูงกว่าราคากลางถึง 20% เขามีวิธีการอย่างไรเรามาดูกัน โดยการศึกษาครั้งนี้ผู
มีข้อแนะนำเกี่ยวกับการจัดการเพื่อรักษาความอุดมสมบูณ์ของดินให้เหมาะสมกับการใช้ปลูกข้าวอินทรีย์ดังนี้ 1.ไม่เผาตอซัง ฟางข้าว และเศษวัสดุอินทรีย์ในแปลงนา เพราะเป็นการทำลายอินทรียวัตถุและจุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์ 2.ไม่นำชิ้นส่วนของพืชที่ไม่ใช้ประโยชน์โดยตรงออกจากแปลงนา แต่ควรนำวัสดุอินทรีย์จากแหล่งใกล้เคียงใส่แปลงนาให้สม่ำเสมอทีละเล็กละน้อย
การพัฒนาพันธุ์มันสำปะหลัง (ข้าว) เหนียวของไทย สำหรับอุตสาหกรรมแป้งและเพื่อการส่งออก การพัฒนาพันธุ์มันสำปะหลัง(ข้าว) เหนียวของไทย สำหรับอุตสาหกรรมแป้งและเพื่อการส่งออก จากปริมาณความต้องการและคุณสมบัติของแป้ง ประกอบกับศักยภาพของวิทยาศาสตร์เกษตรในปัจจุบัน นักวิชาการจาก International Center for Tropical