เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิตข้าว

การปรับระดับดินนา โดยเครื่องจักรกลปรับระดับดินนาด้วยแสงเลเซอร์ (Laser land leveling)

เครื่องจักรกลปรับระดับดินนาด้วยแสงเลเซอร์ มีการพัฒนามาแล้วกว่า 30 ปี ในการปรับระดับดิน  เพื่อการจัดการน้ำให้กระจายทั่วถึงทั้งแปลงและระบายออก โดยเครื่องมือในการปรับระดับดินนาด้วยแสงเลเซอร์ มีองค์ประกอบหลัก คือ เครื่องส่งสัญญานเลเซอร์ (Lase transmitter) และระบบควบคุมการปรับระดับดิน (Grade control system) (Trimble Agriculture, 2014) และเมื่อต้องการใช้ระบบเลเซอร์มาสั่งการในการปรับระดับผิวดินนั้น  สิ่งที่ต้องทำ 3 ขั้นตอนหลัก คือ

  • สำรวจ (Survey)
  • ออกแบบ (Design)
  • ปรับระดับ (Level)

จากการศึกษาของ Nong-Lam university, Ho Chi Minh City รายงานผลของการใช้เลเซอร์ในการปรับพื้นที่นาตั้งแต่ปี 2004 โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก IRRI ในเขตจังหวัด Bac Lieu, An Giang, และ Lam Dong และได้ทำการศึกษาเก็บข้อมูลจากแปลง  นาเกษตรกร 16 ราย จากการทำนา 5 – 10 ฤดูปลูก หลังการปรับพื้นที่ดิน พื้นที่ 5 – 150 เฮกตาร์ ตั้งแต่ ปี 2008 – 2013 ได้ผลดีดังนี้

1.  รายรับเพิ่มขึ้น 260 เหรียญสหรัฐอเมริกาต่อเฮคตาร์ต่อฤดูปลูก เพราะผลผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.62 ตันต่อเฮคตาร์ อยู่ในช่วง 0.38-1.0 ตันต่อเฮคตาร์

2.  ผลผลิตเพิ่มเฉลี่ย 0.6 ตันต่อเฮคตาร์

3.  ลดค่าแรงในการกำจัดวัชพืชลง 70 เปอร์เซ็นต์

4.  เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 5-8 เปอร์เซ็นต์ โดยการนำเอาคันนาที่ไม่จำเป็นออก

5.  ประสิทธิภาพการใช้เครื่องจักรดีขึ้น ลดการกลับตัวของเครื่องจักร (ทำงานเป็นทางยาวลดเวลาและน้ำมันที่ใช้ในการกลับหัวแปลง)

6.  ประหยัดน้ำ ในแปลงที่มีพื้นดินแตกต่าง 100 มิลลิเมตร ต้องการน้ำในระดับ 100มิลลิเมตรเพิ่มเติม ซึ่งมากเป็นสองเท่าของระดับน้ำปกติที่ต้องการในการเพาะปลูก

7.  ลดความเสียหายในขณะเก็บเกี่ยวเพราะต้นข้าวตั้งตรงและมีความสูงสม่ำเสมอ

8.  หากคำนวณในพื้นที่ปลูกหนึ่งล้านไร่ ตัวเลขของการเพิ่มผลผลิต 5-8 เปอร์เซ็นต์จากการทำนาปกติ เพียงปรับพื้นที่และนำคันนาที่ไม่จำเป็นออก จะได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 50,000-80,000 ตันในแต่ละรอบการผลิต

9.  ประหยัดน้ำ โดยการเก็บตัวเลขจากการสูบน้ำเข้านาเพื่อรักษาระดับ 5 เซนติเมตร เพื่อป้องกันวัชพืชก่อนการปรับระดับและหลังการปรับระดับพบว่า เดิมชาวนาสูบน้ำ 7 ครั้ง ใช้น้ำมันจาก 4.0 ลิตรต่อเฮคตาร์ ปรับลดเหลือ 1.50 ลิตรต่อเฮคตาร์ ค่าน้ำมันลดลงคิดเป็น 63 เปอร์เซ็นต์

10. ลดต้นทุนทางอ้อม สามารถลดต้นทุนการผลิตต่อเฮคตาร์ (Inputs/ha) ดังนี้

• ลดปริมาณเมล็ดพันธุ์ลง 80 กิโลกรัม จากเดิม 200 กิโลกรัม เหลือ 120 กิโลกรัม

• ลดสารเคมีและปุ๋ยลง 50 กิโลกรัม

• ลดสารกำจัดวัชพืชลง 4 ลิตร (ADB-IRRI, 2010) 

การใช้เครื่องจักรกลปรับระดับดินนาด้วยแสงเลเซอร์(Laser land leveling)เป็นเพียงการจัดการผิวหน้าดินนาในกระทงนาเดียวกันที่ยังมีความต่างระดับกันอยู่บ้าง ให้มีความราบเรียบและมีระดับที่สม่ำเสมอกันมากขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การจัดการเพาะปลูกดีขึ้น ต้นพืชมีการเจริญเติบโตที่สม่ำเสมอกันทั้งแปลงนา ส่งผลให้ได้ผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่สูงขึ้น และมีคุณภาพของผลผลิตที่ดีสม่ำเสมอกันอีกด้วย อย่างไรก็ตาม วิธีการปรับระดับพื้นที่แบบนี้ เป็นการย้ายหน้าดินจากจุดที่มีระดับสูงไปถมเติมในพื้นที่ระดับต่ำ ดังนั้น ในปีแรกหลังการปรับระดับการเจริญเติบโตของข้าวยังอาจจะไม่สม่ำเสมอ โดยมีสาเหตุจากความอุมสมบูรณ์ของดินที่ถูกย้ายไปตามหน้าดิน จึงต้องทำการศึกษาติดต่อกันอย่างน้อย 2 ฤดูปลูก เพื่อให้เห็นประสิทธิภาพของเทคนิคปรับระดับดินนาอย่างแท้จริง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันอาชีพที่คนรุ่นใหม่หันมาให้ความสนมากขึ้น คือ อาชีพเกษตรกร เนื่องจากต้องการหนีความวุ่นวาย มลพิษในเมืองใหญ่ และความกดดันจากปัญหาต่างๆในการทำงาน รวมถึงอยากเป็นเจ้าของธุรกิจของตัวเอง วันนี้เราจะแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักเกษตรกรอายุน้อย คุณปิยะ กิจประสงค์ บ้านเลขที่ 73 ม.7 ต.ปลายนา อ.ศรีประจันต์ จ.สุพ
ปัจจุบันโดรนการเกษตรเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยอย่างแพร่พลาย เนื่องจากสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในด้านแรงงานและช่วยประหยัดเวลาในขั้นตอนการดูแลรักษาพืชได้อีกด้วย การใช้โดรนในการดูแลรักษาพืชนั้นส่วนใหญ่จะเน้นเป็นการพ่นสารป้องกันกำจัดโรค แมลง และให้อาหารเสริมทางใบแก่พืช โดยนิยมใช้กับพืชหลักเศรษฐกิจ เช่น ข้าว
การปลูกเมล่อนในโรงเรือน เราจะพันต้นเมล่อนที่เชือกขึ้นตามแนวดิ่ง จุดสำคัญที่ต้องระวัง คือการแขวนผลเมล่อนที่ถูกต้อง เพราะหากดำเนินการผิดเมื่อผลเมล่อนมีน้ำหนักมากขึ้น จะทำให้ไปดึงให้กิ่งแขนงที่ติดอยู่กับลูกพับลงหรือฉีกขาดได้ สารอาหารที่จะไปเลี้ยงผลก็ส่งไปไม่สะดวก ผิวผลเมล่อนก็อาจจะไปถูกับลำต้น ทำให้ผิว