เตือนภัย “โรคต้นแตกยางไหล” ในเมล่อน

แม้สภาพอากาศจะเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลย่อมเป็นผลดีต่อการเจริญเติบโตของพืชมากมายหลายชนิด แต่เมื่อมีข้อดีก็มักจะต้องมีข้อเสียควบคู่กันไป อย่างเช่นในปัจจุบันประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการซึ่งเป็นผลดีต่อเกษตรกรในการเพาะปลูกพืช แต่ไม่เป็นผลดีแน่หากเกษตรกรเลือกทาการเพาะปลูกพืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา บวบ และเมล่อน ในช่วงฤดูกาลนี้ เนื่องจากพืชตระกูลแตงมักจะพบการระบาดของโรคต้นแตกยางไหลอย่างรุนแรง

แล้วทุกท่านเคยสงสัยกันไหมว่า “ โรคต้นแตกยางไหล ทำไมมักจะเกิดการระบาดรุนแรงในช่วงฤดูฝน ” คำตอบคือ “ เมื่อฝนตกจะทาให้เกิดความชื้นในดิน ทาให้เชื้อรา Mycosphaerella citrulline และ Didymella sp. ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคดังกล่าวขยายพันธุ์เข้าสู่ลาต้นของพืชตระกูลแตงได้อย่างรวดเร็ว โดยลักษณะอาการที่สังเกตุเห็นได้อน่างชัดเจน คือ แผลจะฉ่าน้า เป็นยางเหนียวสีน้าตาลแดงที่บริเวณโคนต้น ลาต้น และก้านใบ เมื่อแผลแห้งจะเป็นจุดสีดาเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วบริเวณแผล ”

หากเกษตรกรรับมือกับการระบาดของโรคดังกล่าวได้ไม่ทันเวลาจะส่งผลให้ผลผลิตเสียหายและรายได้ของเกษตรกรลดลงอย่างมาก ดังนั้นเกษตรกรต้องหาวิธีการป้องกันกาจัดโรคนี้อย่างถูกต้องและถูกวิธี

ซึ่งทุกท่านไม่ต้องกังวลใจไปวันนี้เราได้รวบรวมวิธีการต่างๆมาให้ทุกท่านเลือกปฏิบัติแล้ว โดยสามารถปฏิบัติได้ดังนี้

ขั้นตอนที่สาคัญ คือ หมั่นสารวจแปลงปลูกบ่อยครั้งในช่วงฤดูฝน หากพบอาการที่กล่าวไว้เบื้องต้นให้รีบทาการป้องกันทันที โดยวิธีป้องกันแบ่งได้ 2 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1 พืชแสดงอาการเพียงเล็กน้อย และพบเพียงไม่กี่ต้นในแปลงเพาะปลูก ให้เลือกวิธีที่ปลอดภัยในการป้องกัน คือ การใช้ปูนขาวโรยบริเวณรอบโคนต้นในอัตราประมาณ 2 กรัมต่อต้นจะเป็นการป้องกันเชื้อราในดินขยายสู่ลาต้น และใช้ปูนขาวผสมน้าทาบริเวณแผลที่ฉ่าน้า เมื่อกลับมาสารวจแปลงอีกครั้งหลังจากป้องกันด้วยวิธีดังกล่าวจะพบว่าบริเวณแผลจะแห้งอย่างรวดเร็ว

กรณีที่ 2 พืชแสดงอาการอย่างรุนแรง และพบทั้งแปลงเพาะปลูก ให้ใช้แมนโคเซบฉีดพ่นซ้าทุก 7 วัน โดยใช้ในอัตราที่ฉลากระบุอย่างเคร่งครัด

โรคนี้นอกจากเกิดการระบาดจากช่วงฤดูกาลที่เป็นสาเหตุหลักแล้ว ยังมีอีกหนึ่งสาเหตุที่สาคัญ คือ เมล็ดพันธุ์ ที่ใช้ในการเพาะปลูก ดังนั้นก่อนการเพาะปลูกทุกครั้งควรแช่เมล็ดพันธุ์ด้วยไตรโครเดอร์มา ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งวิธีทาสามารถลดการระบาดของโรคต้นแตกยางไหลได้นั้นเอ

บทความที่เกี่ยวข้อง

การให้นํ้าแบบหยด (Drip or Trickle Irrigation) การให้นํ้าแบบหยด นับเป็นวิธีการให้นํ้าที่คิดค้นขึ้นมาหลังการให้นํ้าแบบอื่นๆ และกําลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ทั้งในเขตแห้งแล้งและเขตที่มีลักษณะดินเป็นดินทราย เพราะระบบการให้นํ้าแบบนี้มีการสูญเสียนํ้าน้อยมาก วิธีการให้นํ้าแบบหยดเป็นการให้นํ้าแก่พืชเป็นจุดๆ
ปัจจุบันอาชีพที่คนรุ่นใหม่หันมาให้ความสนมากขึ้น คือ อาชีพเกษตรกร เนื่องจากต้องการหนีความวุ่นวาย มลพิษในเมืองใหญ่ และความกดดันจากปัญหาต่างๆในการทำงาน รวมถึงอยากเป็นเจ้าของธุรกิจของตัวเอง วันนี้เราจะแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักเกษตรกรอายุน้อย คุณปิยะ กิจประสงค์ บ้านเลขที่ 73 ม.7 ต.ปลายนา อ.ศรีประจันต์ จ.สุพ
การปรับระดับดินนา โดยเครื่องจักรกลปรับระดับดินนาด้วยแสงเลเซอร์ (Laser land leveling) เครื่องจักรกลปรับระดับดินนาด้วยแสงเลเซอร์ มีการพัฒนามาแล้วกว่า 30 ปี ในการปรับระดับดิน เพื่อการจัดการน้ำให้กระจายทั่วถึงทั้งแปลงและระบายออก โดยเครื่องมือในการปรับระดับดินนาด้วยแสงเลเซอร์ มีองค์ประกอบหลัก คือ