พ่นปุ๋ยและสารกำจัดวัชพืชด้วยโดรน ดีกว่าอย่างไร

“โดรนเพื่อการเกษตร” เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่กำลังเป็นที่จับตามอง  สร้างความเปลี่ยนแปลงและสร้างประโยชน์อย่างมากให้แก่การเกษตรกรรม การนำโดรนมาใช้เพื่อมาใช้ในการพ่นปุ๋ย หรือยากำจัดศัตรูพืช เป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ช่วยตอบสนองการใช้งานด้านเกษตรได้อย่างดีในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่

ช่วยให้เข้าถึงพื้นที่การเกษตรได้ง่ายขึ้น

การปลูกพืช การทำไร่ที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ หรือพื้นที่อาจจะมีความลาดชัน เช่น การพ่นปุ๋ยสวนลำไยในพื้นที่ลาดชัน ทางขึ้น-ลง ลำบาก การพบโรคพืชอยู่ตรงกลางแปลง การใช้โดรนจะช่วยเข้ามาตอบโจทย์เรื่องนี้ทำให้การเข้าถึงพื้นที่การเกษตรของเกษตรกรเป็นเรื่องง่ายขึ้น สามารถป้องการการระบาดของโรคได้อย่างตรงจุด และยังลดการเหยียบย่ำในพื้นที่แปลงนาให้เกิดความเสียหายด้วย

มีประสิทธิภาพและความแม่นยําสูง

การใช้โดรนในการฉีดพ่น จะช่วยให้ฉีดพ่นอย่างสม่ำเสมอในทุกพื้นที่ สามารถควบคุมปริมาณการฉีดพ่นได้อย่างแม่นยํา และลดการสูญเสียในการฉีดพ่นได้

เพิ่มคุณภาพผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต

ถ้าฉีดพ่นด้วยการที่ต้องแบกเครื่องเองเป็นเรื่องยากตรงที่จะทำให้ละอองกระจายลงใบพืชได้อย่างทั่วถึง ต่างจากการบังคับโดรนให้ฉีดพ่นกดลงมาด้วยแรงลมที่เหมาะสมและไปในทิศทางที่ถูกต้อง ละอองการฉีดพ่นสัมผัสกับพืชได้อย่างดี ซึ่งจะช่วยให้พืชผลิตดอกผลได้ดีกว่า เพราะหากมีการฉีดพ่นผิดวิธีจะทำให้ใบพืชบอบช้ำ จึงไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ทันที เท่ากับกระบวนการผลิตดอกผลต้องล่าช้าไป

ช่วยลดการใช้แรงงานด้านการเกษตร

โดยปกติแล้วการฉีดพ่นยากำจัดศัตรูพืชและหว่านปุ๋ยในแปลงนาข้าวโดยใช้แรงงานคน จะใช้เวลาในการทำงานหลายชั่วโมงต่อพื้นที่นา 10 ไร่ โดยมีค่าจ้างอยู่ที่ประมาณ 50 บาท/ไร่ หากนำโดรนมาใช้ในการฉีดพ่นยาและหว่านปุ๋ยในแปลงนาจะมีค่าใช้จ่าย 120 บาท/ไร่ แต่การใช้โดรนจะทำให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีกว่าการใช้แรงงานคน สามารถลดเวลาในการทำงานได้ โดยที่พื้นที่ปลูกข้าว 10 ไร่ ใช้เวลาเพียงประมาณ 10 นาทีในการฉีดพ่นยาและหว่านปุ๋ย และใช้แรงงานคนในการควบคุมเพียง 1-2 คนเท่านั้น

เกษตรกรทำงานได้อย่างปลอดภัย

การใช้โดรนเกษตรในการทำเกษตรกรรม ช่วยให้เกษตรกรมีความปลอดภัย โดยการไม่ต้องสัมผัสชีวภัณฑ์หรือเคมีภัณฑ์โดยตรง รวมถึงไม่ต้องเดินเข้าไปสัมผัสบริเวณเพาะปลูกด้วยตัวเอง สามารถทำงานได้ด้วยความรวดเร็วอีกด้วย

โดรนการเกษตร คูโบต้า AGRAS T20

บทความที่เกี่ยวข้อง

เมลอน เป็นพืชที่มีความอ่อนแอต่อศัตรูพืช ทั้งโรคและแมลง มีโรคหลายชนิดที่พบทั่วไปในการปลูกเมลอน ทำให้ผลผลิตเสียหาย ไม่ได้คุณภาพผลตามที่ตลาดต้องการ ดังนั้น การปลูกเมลอน จึงต้องดูแลอย่างละเอียดตลอดฤดูการปลูก ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าพืชอื่นๆ ความสำคัญในการรู้จักโรคและการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคที่
ปัจจุบันเทคโนโลยีโรงเรือนอัจฉริยะ (Smart Green House) ได้เข้ามามีบทบาทในภาคการเกษตรไทยมากขึ้น เนื่องจากสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ และยังลดความเสี่ยงการเกิดโรคและแมลงซี่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ผลผลิตของเกษตรกรเสียหาย วันนี้จะแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับเจ้าของสวนราชามะเขือ
“เมล่อน” เป็นผลไม้ที่มีเนื้อสัมผัสกรอบ หวาน โดยความหวานที่เหมาะสมควรอยู่ที่ประมาณ 15-17 เปอร์เซ็นต์บริกซ์ แต่ถ้าหากเมล่อนมีรสชาติที่จืดหรือความหวานต่ำกว่า 12 เปอร์เซ็นต์บริกซ์ อาจส่งผลให้ผลผลิตไม่ตรงตามความต้องการของตลาด และขายไม่ได้ราคา ซึ่งปัญหาดังกล่าวอาจเกิดจากการดูแลเมล่อนที่ไม่ตรงตามระยะการ