ผสมเกสรเมล่อนอย่างไรให้ติดผล

การผสมเกสรเป็นหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญสำหรับการเพาะปลูกเมล่อนในโรงเรือน เนื่องจากโรงเรือนเป็นระบบปิด แมลงไม่สามารถเข้าไปภายในโรงเรือนเพื่อช่วยในการผสมเกสรได้ ดังนั้นจึงต้องมีการใช้แรงงานคนเข้ามาช่วยในขั้นตอนนี้

       หลักการสำคัญของการผสมเกสรคือ ให้ทำการผสมเกสรในข้อที่ 9-12 เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ไม่อยู่ต่ำเกินไป จนผลเมล่อนห้อยติดพื้น และไม่สูงเกินไปจนได้รับสารอาหารไม่เต็มที่ โดยต้องทำการผสมเกสรดอกตัวเมียทุกดอกที่บาน และช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการผสมเกสร คือ 06.00 – 10.00 น. เนื่องจากเป็นช่วงที่อุณหภูมิต่ำ จะส่งผลให้เปอร์เซ็นต์การผสมเกสรติดผลเพิ่มขึ้นนั่นเอง

วิธีการผสมเกสรจะต้องนำละอองเกสรตัวผู้ไปผสมในดอกตัวเมีย ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ 2 วิธี คือ

1.  การผสมดอกต่อดอก

2.  ใช้พู่กันในการช่วยผสม

เทคนิค

  • การผสมเกสรจะใช้ดอกตัวผู้ผสมซ้ำ 3 ดอก ต่อดอกตัวเมีย 1 ดอก  
  • ช่วงผสมเกสรให้หยุดการฉีดพ่นสารอาหารและสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ตั้งแต่เริ่มผสมเกสรดอกแรกไปประมาณ 7 วัน

เทคนิคการสังเกตดอกเมล่อน

ดอกตัวผู้ คือ ดอกจะขึ้นตามข้อ เกิดเป็นกระจุกหลายดอก ส่วนของฐานดอกไม่มีกระเปาะ
ดอกตัวเมีย คือ ดอกจะที่บริเวณกิ่งแขนง ฐานรองดอกจะมีลักษณะกลมรี เป็นกระเปาะผลเห็นชัดเจน

หลังจากทำการผสมเกสรแล้ว 1-2 วัน  ถ้าผสมติดกระเปาะผลจะขยายใหญ่ขึ้นและเจริญเติบโตเป็นผลในที่สุด แต่ถ้าหากกระเปาะผลเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองแสดงว่าผสมไม่ติด ให้หาสาเหตุและวิธีการแก้ไขในการผสมดอกถัดไปทันที

บทความที่เกี่ยวข้อง

อุตสาหกรรมการเกษตรกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายจากความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน (Climate Change) ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน แรงงานสูงวัย และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เกษตรกรต้องพัฒนาศักยภาพในการทำการเกษตรให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตควบคู่กับการลดต้นทุนการผลิต โดยใช้ทรัพยากร
ถ้าหากเกษตรกรเลือกทำการเพาะปลูกเมล่อนในช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำ ให้เฝ้าระวังการระบาดของแมลงศัตรูพืชที่มีชื่อว่า “ หนอนชอนใบ ” ซึ่งเป็นศัตรูร้ายที่สร้างความเสียหายให้กับเมล่อนได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต โดยลักษณะอาการเบื้องต้นที่สามารถพบเห็นได้ คือพบรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวไปมา ซึ่งเกิดจากตัวหนอนชอน
คุณนิโรจน์ แสนไชย เจ้าของ “สวนแสนไชย” ผู้อยู่ในวงการลำไยมาอย่างยาวนาน ทั้งลองผิดลองถูก จนสวนแห่งนี้กลายเป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร โดยสวนแห่งนี้ตั้งอยู่ที่จังหวัดลำพูน มีพื้นที่ปลูกลำไยกว่า 86 ไร่ ภายในสวนได้ปลูกลำไยแบบต้นเตี้ยระยะชิด ขนาด 6X6 เมตร และปลูกลำไยพันธุ์ “อีดอ”