ความลับของอาการผลแตกในเมล่อน

เมื่อ “เมล่อน” เข้าสู่ระยะติดผล มักจะเกิดอาการชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ผลแตก” ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายให้กับผลผลิตของเกษตรได้ภายในเวลาเพียงข้ามคืนเลยทีเดียว

แล้วทุกท่านสงสัยไหมว่า ผลแตกนั้นเกิดจากสาเหตุใด?

วันนี้เราได้หาคำตอบมาให้กับผู้อ่านทุกท่านแล้ว โดยปัจจัยหลักคือ การควบคุมปริมาณการให้น้ำในระยะที่เมล่อนเริ่มพัฒนาผลซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการเพาะปลูกเมล่อน หากมีการให้น้ำในปริมาณที่มากเกินไป ควบคู่กับในช่วงฤดูปลูกเกิดการแปรปรวนของสภาพอากาศกะทันหัน ทำให้ความชื้นในแปลงปลูกและในอากาศมีสูง จะส่งผลให้เปลือกเมล่อนเริ่มเกิดอาการปริแตกและระเบิดในที่สุด

ดังนั้นวิธีป้องกันอาการผลแตกควรปฏิบัติอย่างไร?

วิธีที่ 1 สำหรับเมล่อนที่มีลวดลายให้ทำการสังเกตุที่บริเวณรอยแตกของลวดลายในช่วงที่เริ่มขยายผล หากพบว่าเปลือกเริ่มแสดงอาการปริแตกหรือบิรเวณรอยนูนของลวดลายมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ให้ทำการลดปริมาณน้ำทันทีจนบริเวณดังกล่าวไม่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 

วิธีที่ 2การฉีดพ่นอาหารเสริมหลังจากเมล่อนติดผล เนื่องจากในช่วงเมล่อนผิวเรียบผนังเซลล์ของผลเมล่อนยังบอบบางและไม่แข็งแรงทำให้เกิดอาการผลแตกได้ ดังนั้นหากทำการฉีดพ่นอาหารเสริมประเภทแคลเซียม และโบรอนในช่วงเวลาดังกล่าวจะช่วยให้ผนังเซลล์ของผลแข็งแรงขึ้นและลดการเกิดความเสียหายจากอาการผลแตกได้ โดยควรทำการฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน ในช่วงเวลาแดดไม่ร้อนจัด และควรงดการฉีดพ่นก่อนการเก็บเกี่ยว 1 สัปดาห์

และที่สำคัญ คือ หมั่นสังเกตุอาการผิดปกติในแปลงปลูก เนื่องจากเมื่อพบอาการผิดปกติต่างๆในระยะเริ่มต้นจะทำให้เราสามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ทันเวลา และลดการเกิดความเสียหายกับผลผลิตได้นั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

อุตสาหกรรมการเกษตรกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายจากความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน (Climate Change) ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน แรงงานสูงวัย และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เกษตรกรต้องพัฒนาศักยภาพในการทำการเกษตรให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตควบคู่กับการลดต้นทุนการผลิต โดยใช้ทรัพยากร
ถึงแม้ว่าเราจะดูแลมะเขือเทศเป็นอย่างดี แต่มีสิ่งหนึ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้คือ สภาพอากาศในวันที่สภาพอากาศอากาศเย็น มีหมอกในยามเช้า มีความชื้นสูง เป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเกิดโรคพืชในโรงเรือน และโรคพืชที่เราต้องเตรียมรับมือ คือ โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ เป็นโรคที่ระบาดแพร่หลาย และรู้จักกันดีโรคหนึ่ง
ภัยแล้งเป็นหนึ่งในปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมของประเทศไทย โดยปัญหาภัยแล้งเกิดจากหลายสาเหตุทั้งสาเหตุโดยธรรมชาติ เช่น การเปลี่ยนแปลงฤดูกาล และสาเหตุจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า ผลกระทบของภัยแล้งทำให้พืชขาดน้ำ การเจริญเติบโตหยุดชะงัก ปริมาณและคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ สร้างความ