การดูแลพืชด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่

ปัจจุบันโดรนการเกษตรเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยอย่างแพร่พลาย เนื่องจากสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในด้านแรงงานและช่วยประหยัดเวลาในขั้นตอนการดูแลรักษาพืชได้อีกด้วย การใช้โดรนในการดูแลรักษาพืชนั้นส่วนใหญ่จะเน้นเป็นการพ่นสารป้องกันกำจัดโรค แมลง และให้อาหารเสริมทางใบแก่พืช โดยนิยมใช้กับพืชหลักเศรษฐกิจ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย เป็นต้น เรามาดูกันว่าสามารถใช้โดรนในการดูแลพืชแต่ละชนิดในช่วงระยะเวลาใดได้บ้าง

การดูแลรักษาข้าว

  • อายุ 7-10วัน ฉีดคุมวัชพืชก่อนข้าวเริ่มงอก(โดยในการกำจัดวัชพืชจะใช้โดรนในการฉีดคลุมเท่านั้น)
  • อายุ 15-20วัน (ระยะกล้า) ฉีดพ่นฮอร์โมนช่วยเร่งการเจริญเติบโต และกระตุ้นการแตกกอของข้าว 
  • อายุ 35-40วัน (ระยะแตกกอ) เป็นช่วงที่ต้องเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคและแมลง ถ้าหากพบการระบาดควรฉีดพ่นสารเพื่อป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืช และฉีดพ่นฮอร์โมนช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตทางลำต้น
  • อายุ 60-65วัน (ระยะตั้งท้องและออกรวง) ฉีดพ่นฮอร์โมน ช่วยสะสมอาหารและกระตุ้นการสร้างรวงของข้าว
  • อายุ 90-95วัน (ระยะสะสมน้ำหนัก) ฉีดพ่นฮอร์โมน จะช่วยเพิ่มน้ำหนักเมล็ด

การดูแลรักษาอ้อย

  • อายุ 7-10วัน ฉีดคุมวัชพืชชนิดก่อนงอก(โดยในการกำจัดวัชพืชจะใช้โดรนในการฉีดคลุมเท่านั้น)
  • อายุ 30-120วัน (ระยะแตกกอ) ฉีดพ่นสารป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชและฉีดพ่นฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต และกระตุ้นการแตกกอของอ้อย
  • อายุ 120-180วัน (ระยะย่างปล้อง) ฉีดพ่นฮอร์โมนช่วยกระตุ้นการยืดตัวของข้อและปล้อง นอกจากนั้นยังเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ลำต้น ช่วยสะสมอาหาร น้ำตาล และน้ำหนักให้กับอ้อย
  • อายุ 180-240วัน (ระยะสร้างน้ำตาล) ฉีดพ่นฮอร์โมนช่วยสะสมอาหาร น้ำตาล และน้ำหนักให้กับอ้อยก่อนทำการเก็บเกี่ยว

การดูแลรักษามันสำปะหลัง

  • อายุ 7-10วัน ฉีดคุมวัชพืชหลังจากการปลูกทันที(โดยในการกำจัดวัชพืชจะใช้โดรนในการฉีดคลุมเท่านั้น)
  • อายุ 30-90วัน (ระยะขยายทรงพุ่ม) ฉีดพ่นฮอร์โมนช่วยเร่งการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง
  • อายุ 90-180วัน (ระยะขยายหัว สะสมน้ำหนัก และสะสมแป้ง)  เฝ้าระวังการระบาดของเพลี้ยแป้ง หากพบการระบาดให้ทำการฉีดพ่นสารป้องกันทันที
  • อายุ 180-240วัน (ระยะพักตัว) ฉีดพ่นฮอร์โมนจะช่วยกระตุ้นให้ต้นมันสำปะหลังเจริญเติบโตโดยแสดงอาการทิ้งใบ

 โดยการดูแลรักษาพืชด้วยการใช้โดรนฉีดพ่นทำให้การปฏิบัติงานรวดเร็วกว่าการใช้แรงงานคนถึง 83เปอร์เซ็นต์ เพราะมีอัตราความเร็วในการทำงานถึง 1.5 – 2.0นาทีต่อไร่ โดยขึ้นอยู่กับสภาพพันธุ์พืช,ความสมบูรณ์,ความเข้มข้นของสารที่ใช้ และสภาพแวดล้อม

      จากข้อมูลในการดูแลรักษาพืชเหล่านี้เราจะเห็นได้ว่าพืชทุกชนิดต้องมีการดูแลรักษาและเอาใจใส่ในแต่ละระยะอย่างละเอียดและถี่ถ้วน หากเกษตรกรยุคใหม่นำเทคโนโลยีการเกษตรใหม่ๆมาปรับใช้ในการทำการเกษตร จะส่งผลให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและดีตามที่ต้องการ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถึงแม้ว่าเราจะดูแลมะเขือเทศเป็นอย่างดี แต่มีสิ่งหนึ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้คือ สภาพอากาศในวันที่สภาพอากาศอากาศเย็น มีหมอกในยามเช้า มีความชื้นสูง เป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเกิดโรคพืชในโรงเรือน และโรคพืชที่เราต้องเตรียมรับมือ คือ โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ เป็นโรคที่ระบาดแพร่หลาย และรู้จักกันดีโรคหนึ่ง
ปัจจุบันเทคโนโลยีโรงเรือนอัจฉริยะ (Smart Green House) ได้เข้ามามีบทบาทในภาคการเกษตรไทยมากขึ้น เนื่องจากสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ และยังลดความเสี่ยงการเกิดโรคและแมลงซี่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ผลผลิตของเกษตรกรเสียหาย วันนี้จะแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับเจ้าของสวนราชามะเขือ
เมลอน เป็นพืชที่มีความอ่อนแอต่อศัตรูพืช ทั้งโรคและแมลง มีโรคหลายชนิดที่พบทั่วไปในการปลูกเมลอน ทำให้ผลผลิตเสียหาย ไม่ได้คุณภาพผลตามที่ตลาดต้องการ ดังนั้น การปลูกเมลอน จึงต้องดูแลอย่างละเอียดตลอดฤดูการปลูก ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าพืชอื่นๆ ความสำคัญในการรู้จักโรคและการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคที่