NPV ไวรัสกำจัดหนอนร้าย

“รู้ว่าใช้เคมีอันตราย แต่เห็นผลทันที อยากใช้ชีวภัณฑ์นะ แต่ออกฤทธิ์ช้า ไม่ทันการณ์”คำตอบที่มักคุ้นเคย แม้จะรู้พิษภัยของการใช้สารเคมี แต่ด้วยปัจจัยหลายอย่าง ทำให้เกษตรกรจำนวนไม่น้อย ไม่อาจตัดใจเลิกใช้สารเคมีนั้นได้ แต่ในวันที่สารเคมีไม่สามารถจัดการศัตรูพืชได้ สารชีวภัณฑ์จึงเป็นตัวเลือกที่ไม่ควรมองข้าม “ไวรัสเอ็นพีวี” เป็นหนึ่งในสารชีวภัณฑ์ที่ถูกพูดถึงน้อย แต่ประสิทธิภาพสูงและที่สำคัญยังใช้ได้ทั้งเกษตรเคมีและเกษตรอินทรีย์อีกด้วย

ไวรัสเอ็นพีวี (Nuclear Polyhedriosis Virus: NPV) เป็นไวรัสกลุ่มหนึ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติและทำให้แมลงเกิดโรค ไวรัสเอ็นพีวีมีความจำเพาะต่อหนอนแต่ละชนิดๆ โดยในประเทศไทยพบไวรัสเอ็นพีวีจำเพาะหนอน 3 ชนิด ได้แก่ หนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก และหนอนเจาะสมอฝ้าย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นศัตรูพืชที่ทำลายพืชเศรษฐกิจของไทย ไม่ว่าจะเป็น องุ่น สตรอว์เบอร์รี่ แตงโม ดาวเรือง ผักตระกูลกะหล่ำ ผักสลัด เป็นต้น

ลักษณะการเข้าทำลายของไวรัสเอ็นพีวี จะออกฤทธิ์แบบกินตาย คือ หนอนต้องกินเชื้อไวรัสเข้าไป ในลำไส้ส่วนกลางของหนอนมีสภาพเป็นด่าง จะละลายผลึกที่หุ้มตัวไวรัส เชื้อไวรัสจะเริ่มทำลายกระเพาะของหนอนและกระจายไปทั่ว ทำให้หนอนติดเชื้อและตายในที่สุด

ซึ่งไวรัสเป็นสิ่งมีชีวิต ต้องการเวลาในการเพิ่มจำนวนและออกฤทธิ์ จะทำให้หนอนป่วย ด้วยกลไกแบบนี้หนอนที่ป่วยจากเชื้อไวรัส การเคลื่อนไหวจะช้า กินอาหารได้น้อยลง และตายในที่สุด โดยหนอนจะตายบนยอด ห้อยหัวลงเป็นลักษณะตัววี (V Shape) ซึ่งเป็นลักษณะการตายจำเพาะของหนอนที่ได้รับเชื้อไวรัสเอ็นพีวี เมื่อลมพัด ตัวหนอนปริแตก ไวรัสจะไหลลงต้นพืช หนอนตัวอื่นมากินก็จะได้รับเชื้อต่อไปด้วยกลไกการทำงานตามธรรมชาตินี้ ทำให้เมื่อพ่นไวรัสเอ็นพีวีแล้ว หนอนจะไม่ตายในทันที 

ไวรัสเอ็นพีวีใช้ได้กับ เกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ล้วน หรือแม้แต่เกษตรเคมี ซึ่งปัญหาการใช้สารเคมีที่พบในการทำเกษตร คือ ใช้ปริมาณเกินความจำเป็นและพ่นติดต่อหลายครั้ง ทำให้แมลงหรือโรคดื้อต่อสารเคมีนั้น แต่ถ้าใช้ไวรัสเอ็นพีร่วมด้วย หนอนจะอ่อนแอลง เมื่อใช้สารเคมี หนอนจะตายดีขึ้น สารเคมีที่หนอนเคยดื้อ ถ้าใช้ไวรัสเอ็นพีวีนำไปก่อน พบว่าสารเคมีที่เคยใช้ไม่ได้ผลก็สามารถใช้ควบคุมหนอนได้ด้วย ทำให้เกษตรกรลดต้นทุนการใช้สารเคมีและลดความเสี่ยงจากที่พ่นเคมีไปแล้ว แทนที่จะต้องเพิ่มอัตราการใช้สารเคมี ก็ให้สลับมาใช้ไวรัสเอ็นพีวี ไวรัสเอ็นพีวี จึงเป็นคำตอบของคนทำเกษตรอินทรีย์ และมั่นใจที่จะใช้ไวรัสเอ็นพีวีได้ เพราะสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movement; IFOAM) อนุญาตให้ใช้ไวรัสเอ็นพีวีในโปรแกรมควบคุมแมลงศัตรูพืชได้ 

แต่มีเงื่อนไขว่า   ผู้จำหน่ายต้องขอการรับรองจาก IFOAM หรือหน่วยงานมาตรฐานในประเทศนั้นๆ

วิธีการใช้ไวรัสเอ็นพีวีไม่แตกต่างจากการใช้สารควบคุมศัตรูพืชทั่วไป คือ ผสมน้ำแล้วฉีดพ่น แต่การใช้ให้ได้ประสิทธิภาพ เกษตรกรต้องรู้จักชนิดของหนอน เพื่อเลือกใช้ไวรัสเอ็นพีวีให้ถูกกับหนอน และต้องประเมินความรุนแรงของหนอนที่เข้าทำลายพืช เพื่อจะได้ใช้ไวรัสเอ็นพีวีในปริมาณที่เหมาะสม ต้องดูว่าหนอนกัดกินระยะไหน น้อย ปานกลาง หรือรุนแรง ถ้าน้อยก็ใช้ 10 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ถ้ารุนแรงต้องใช้ 20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ส่วนการฉีดพ่นควรฉีดหลังบ่ายสามโมง เพื่อหลีกเลี่ยงแสงยูวีที่จะส่งผลต่อการทำลายไวรัส ผสมสารจับใบเพื่อให้ไวรัสเอ็นพีวีเกาะอยู่บนใบพืช การใช้หัวสเปรย์ฝอยทำให้ได้ละอองมากกว่า ไวรัสเอ็นพีวีเกาะติดบนใบได้ดีกว่าสเปรย์หัวใหญ่

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในพื้นที่นี้ แต่เดิมก่อนปี พ.ศ. 2534 เกษตรกรปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 ซึ่งอยู่ในกลุ่มข้าวหอมมะลิไทย ไว้เพื่อการจำหน่าย และปลูกข้าวเหนียว กข6 ไว้เพื่อบริโภคและเหลือจำหน่ายบางส่วน ดินนามีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง-สูง ปริมาณน้ำฝนเพียงพอตลอดฤดูปลูก มีการใช้รถไถเดินตามและรถแทรกเตอร์ รวมทั้งเครื่องนวด
การระบาดของแมลงศัตรูอ้อยในช่วงเดือนต่างๆ ได้แก่ หนอนกอลายจุดเล็ก หนอนกอลายจุดใหญ่ หนอนกอลายใหญ่ หนอนกอลายแถบแดง หนอนกอสีชมพู หนอนกอสีขาว แมลงหวี่ขาวอ้อย เพลี้ยกระโดดอ้อย เพลี้ยจักจั่นสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นงวง เพลี้ยกระโดดดำ เพลี้ยหอยอ้อย เพลี้ยอ่อนสำลี เพลี้ยแป้งสีชมพู มวนอ้อย ไรแมงมุมอ้อย ด้วงหนวดยาวอ้อย แมลงนูนหลวง ปลวกอ้อย แมลงค่อมทอง ด้วงขี้ควาย ด้วงดำ ด้วงงวงอ้อย ตั๊กแตนไฮโรไกรฟัส ตั๊กแตนโลกัสต้า ตั๊กแตนปาทังก้า และหนอนบุ้ง
ถั่วเขียวเป็นพืชตระกูลถั่วที่ให้ประโยชน์ทั้งเป็นพืชบำรุงดินและขายเป็นรายได้สำหรับเกษตรกร ต้นฤดูฝนช่วงแรกก่อนที่จะปักดำข้าวสามารถปลูกถั่วเขียว เก็บเกี่ยวผลผลิตและไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดได้ 1. การเลือกพื้นที่ปลูก เกษตรกรที่มีการทำนาโดยวิธีปักดำข้าวสามารถปลูกถั่วเขียวได้ทุกพื้นที่ ถ้าเป็นพื้นที่นา