โรคใบสีแสด (Orange Leaf Disease)

พบมาก : ในนาชลประทาน ภาคกลาง

สาเหตุ : พบทุกภาคที่มีการระบาดของแมลงพาหะ

อาการ : ข้าวเป็นโรคได้ตั้งแต่ระยะแตกกอจนถึงระยะตั้งท้อง ต้นข้าวที่เป็นโรคนี้ ใบแสดงอาการสีแสดจากปลายใบที่ใบล่าง และเป็นสีแสดทั่วทั้งใบยกเว้นเส้นกลางใบ ใบที่เป็นโรคจะม้วนจากขอบใบทั้งสองข้างเข้ามาหาเส้นกลางใบ และใบจะแห้งตายในที่สุด ต้นข้าวสูงตามปกติ แต่แตกกอน้อย และตายอย่างรวดเร็ว โรคใบสีแสดนี้เกิดเป็นกอๆ ไม่แพร่กระจายเป็นบริเวณกว้างเหมือนโรคใบสีส้ม

การแพร่ระบาด : เชื้อโรคถ่ายทอดได้โดยแมลงพาหะคือ เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก เชื้อสามารถอาศัยอยู่ตามวัชพืชและพืชอาศัยชนิดต่างๆ

การป้องกันกำจัด:

• กำจัดหรือทำลายเชื้อสาเหตุโรค โดยไถกลบหรือเผาตอซังในนาที่มีโรค กำจัดวัชพืช โดยเฉพาะวัชพืชใกล้แหล่งน้ำที่เป็นที่อยู่อาศัยและขยายพันธุ์ของแมลงพาหะ

• ใช้พันธุ์ข้าวต้านทานแมลงเพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก เช่น กข1 กข3 แต่ไม่ควรปลูกข้าวพันธุ์ดังกล่าว ติดต่อกันเป็นแปลงขนาดใหญ่ เนื่องจากแมลงสามารถปรับตัว เข้าทำลายพันธุ์ข้าวที่ต้านทานได้

• ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงพาหะได้แก่ ใช้สารฆ่าแมลงในระยะที่แมลงเป็นตัวอ่อน เช่นไดโนทีฟูเรน หรือ บูโพรเฟซิน หรือ อีโทเฟนพรอกซ์ ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงผสมกันหลายๆ ชนิด หรือใช้สารฆ่าแมลงผสมสารป้องกันกำจัดโรคพืชหรือสารกำจัดวัชพืช เพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงลดลง

• ไม่ใช้สารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เช่น ไซเพอร์มิทริน ไซฮาโลทริน เดลต้ามิทริน

• ถ้าปฏิบัติได้ เมื่อมีโรคระบาดรุนแรงควรงดปลูกข้าว 1–2 ฤดู เพื่อตัดวงจรชีวิตของแมลงพาหะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันผลผลิตทางการเกษตรประสบปัญหาสารเคมีมีตกค้างจากการใช้สารเคมีในกำจัดวัชพืช ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพต่อผู้ปลูกรวมถึงผู้บริโภค แต่เกษตรกรหัวก้าวหน้าท่านนี้มีนามว่า นายเสน่ห์ พันธ์ภูมิ อายุ 56 ปี บ้านเลขที่ 146 ม.1 ต.ศรีวิลัย อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ได้รับเลือกให้เป็นปราชญ์พร
มันมาอีกแล้ว” พื้นที่นาข้าวที่กำลังเขียวขจีในฤดูนาปลังปีนี้ เป็นทุ่งนาแห่งความ หวังของพี่น้องชาวนา หลังจากผ่านวิกฤติน้ำท่วมจากปลายปีที่แล้ว แต่การกลับมาของศัตรูตัวร้ายอันดับต้นๆ ของข้าว ทำให้เกษตรกรหลายคนถึงกับผวาแต่อยากบอกว่าเรามีทางป้องกันและแก้ไข ที่ไม่ยากเกินไปสำหรับเกษตรกรชาวนามืออาชีพ วิธีการ
ชนิด : ข้าวเจ้า คู่ผสม : ได้จากการผสมพันธุ์ ระหว่างสายพันธุ์ BKNA6-18-3-2 กับสายพันธุ์ PTT85061-86-3-2-1 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ในปี พ.ศ. 2533 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ PTT90071-93-8-1-1 การรับรองพันธุ์