โรคใบจุดไหม้ (Blight Leaf Spot)

เกิดจากเชื้อรา

มักจะพบควบคู่ใบไปกับโรคใบจุดสีน้ำตาล โรคนี้สามารถทำให้ผลผลิตลดลงได้ 12-30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากการสูญเสียพื้นที่ใบใบเหลือง และร่วงเร็วกว่าปกติ และอาจเป็นผลกระทบเนื่องมาจากการเปิดโอกาสให้วัชพืชเจริญได้ดีเมื่อใบร่วง และพุ่มใบเปิด

ลักษณะอาการ

อาการของโรคพบบนใบ เป็นจุดกว้างไม่มีขอบเขตที่แน่นอนเหมือนกับโรคใบจุดสีน้ำตาล จุดแผลจะกว้างมาก แต่ละจุดอาจกว้างถึง 1 ใน 5 ของแฉกใบ หรือมากกว่าด้านบนใบมักเห็นจุดแผลสีน้ำตาลค่อนข้างสม่ำเสมอ ขอบแผลมีสีเหลืองอ่อน ด้านใต้ใบมักเห็นเป็นวงสีเทา เนื่องจากส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา สาเหตุโรคเช่นเดียวกับโรคใบจุดสีน้ำตาล ลักษณะแผลในบางครั้งจะคล้ายกับโรคใบจุดวงแหวน ซึ้งเกิดจากเชื้อ Phoma sp. (Phyllosticta sp.) แต่โรคใบจุดวงเแหวนจะเห็นวงแหวนด้านบนของใบ เมื่อแผลลามติดต่อกันทำให้ใบเหลืองทั้งใบ และร่วงไปในที่สุด ในพันธุ์ที่อ่อนแอ ใบร่วงอย่างรุนแรง ในมันสำปะหลังที่มีอายุมากกว่า 6 เดือน อาการของโรคจะรุนแรงมากกว่ามันสำปะหลังที่มีอายุน้อย

การแพร่ระบาด

การป้องกันกำจัดเช่นเดียวกับโรคใบจุดสีน้ำตาล

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพลี้ยกระโดดท้องขาว หรือเพลี้ยกระโดดข้าวโพด (White-Bellied Planthopper, Corn Planthopper) โดยเพลี้ยกระโดดท้องขาวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและกาบใบ ทำให้ต้นข้าวโพดชะงักการเจริญเติบโต หากระบาดรุนแรงทำให้เกิดอาการใบไหม้ นอกจากนี้ยังขับถ่ายมูลหวาน ลงบนต้นพืชเป็นสาเหตุทำให้เกิดราดำ รูปร่างลักษณะ : ตัวเต็
ประวัติ ข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 86-1 ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ในระหว่างปี พ.ศ.2548-2554 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท เพื่อให้ได้ข้าวโพดหวานลูกผสมที่มีผลผลิตสูง และคุณภาพการบริโภคดี เกิดจากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้เบอร์ 75 กับสายพันธุ์แท้เบอร์ 50 ผ่านการประเมินผลผลิตพันธุ์ลูกผสมตามขั้นตอนของกรมวิชา
ชุดดินในที่ลุ่มที่สำคัญ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3. ชุดดินร้อยเอ็ด (Roi-et series : Re) กลุ่มชุดดินที่ 17 การกำเนิด : เกิดจากตะกอนของหินตะกอนเนื้อหยาบชะมาทับถมบนพื้นผิวของการเกลี่ยผิวแผ่นดินบริเวณพื้นที่เกือบราบหรือที่ราบ สภาพพื้นที่ : ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 %