โรคใบขีดแดงและยอดเน่า

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas rubrilineans

การระบาด

1. ระบาดไปทางท่อนพันธุ์

2. ระบาดโดยทางลม ฝน โดยพัดพาเชื้อจากต้นที่เป็นโรคไปติดต้นอ้อยข้างเคียง

ลักษณะอาการ

ใบมีเส้นสีแดงเป็นขีดยาวตามความยาวของใบบางครั้งรอยขีดติดกันเป็นปื้น ต่อมาเชื้อลามไปในยอด ทําให้มีอาการยอดเน่าบางพันธุ์อาจพบทั้งอาการขีดแดง และยอดเน่าเมื่อเป็นรุนแรงใบยอดเน่าดึงออกง่าย มีกลิ่นเหม็นรุนแรง ภายในลําช้ำเน่าเป็นสีชมพูถึงสีน้ำตาลแดง เนื้ออ้อยเน่ากลางตาอ้อยด้านข้างงอกเป็นหน่อบนต้น

การป้องกันกําจัด

1. ทําลายกอที่เป็นโรค

2. ป้องกันการทําลายของหนอนโดยใช้ยาดูดซึม

3. แปลงควรระบายน้ำดี

4. ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเดี่ยวระยะอ้อยอ่อน

5. กรณีที่ระบาดรุนแรงใช้สารเคมีคอบเปอร์ออกซิคลอไรด์ เช่นคาร์โบซินอัตรา 40 กรัม ต่อ 20 ลิตร

6. เมื่อจะเปลี่ยนพันธุ์ปลูกใหม่

  • ควรเลือกพันธุ์ที่ไม่อ่อนแอต่อโรค เช่นอู่ทอง 1 เค 84-200 เค 88-92
  • ไถดินตากและพักดินก่อนปลูกพันธุ์ใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

อีกหนึ่งคำยืนยันความสำเร็จจากเกษตรกรที่ปลูกข้าวด้วยวิธี KAS โดยใช้เครื่องหยอดและรถปักดำ ณ กลุ่มนาแปลงใหญ่บ้านพระแก้ว อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ในปัจจุบันวิธีการปลูกข้าวที่เกษตรกรนิยม คือ การทำนาหว่าน ซึ่งมีข้อดี คือ สะดวกและรวดเร็ว แต่การทำนาหว่านก็มีข้อเสียมากมายด้วยเช่นกัน เนื่องจาก
หลักพิจารณาสภาพพื้นที่ในการสร้างแปลงเพาะกล้ายาง 1. พื้นที่สำหรับสร้างแปลงกล้า – ควรเป็นที่ราบ สามารถระบายน้ำได้ดี อยู่ใกล้แหล่งน้ำ การคมนาคมสะดวก ดินร่วน ดินที่ไม่เหมาะสมคือ ดินทรายจัด และดินเหนียว เพราะการระบายน้ำไม่ดี 2. การเตรียมดิน – ไถพลิกดิน