แตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา

ความสำคัญ

แตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา จัดเป็นแมลงศัตรูธรรมชาติที่มีความสำคัญ ที่สามารถทำลาย ไข่หนอนกออ้อย ไข่หนอนกอข้าว ไข่หนอนเจาะสมอฝ้าย และไข่หนอนกระทู้เป็นต้น โดยตัวเมียของแตนเบียนไข่ทริโคแกรมม่าจะวางไข่ ไว้ในไข่ของแมลงศัตรูพืช ทำให้ไข่ไม่ฟักออกเป็นตัวแต่จะฟักออกเป็นแตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา มักใช้แตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา ในช่วงศัตรูพืชระบาด จะช่วยลดปริมาณไข่ของแมลงศัตรูพืชได้มากถึง 85 เปอร์เซ็นต์ และยังช่วยลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้ไม่มีสารตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

รูปร่างลักษณะ

แตนเบียนไข่ทริโคแกรมม่า มีขนาดเล็กมากความยาวจากส่วนหัวถึงปลายส่วนท้องตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศเมีย เฉลี่ย 0.4 และ 0.36 มม. ตามลำดับ ส่วนความกว้างเมื่อกางปีกออกของตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศเมีย มีขนาดประมาณ 0.87 และ 0.93 ตามลำดับ โดยตัวเต็มวัยจะมีขนาดเล็ก ตาสีแดง หนวดเป็นปล้อง 

ลักษณะการทำลายเหยื่อ

แตนเบียนไข่ไตรโคแกรมม่า เพศเมีย จะใช้อวัยวะวางไข่แทงเข้าไปตรงส่วนบนของไข่ผีเสื้อ ซึ่งไข่ของผีเสื้อ 1 ฟอง อาจจะมีแตนเบียนฯ วางไข่ 1 – 4  ตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของอาหารภายในไข่ เมื่อแตนเบียนฟักออกเป็นตัวอ่อน ก็จะดูดกินของเหลวภายในไข่ของผีเสื้อจนเจริญเติบโตเต็มที่ และเข้าดักแด้อยู่ภายในไข่ของผีเสื้อ เมื่อเจริญเติบโตจนเป็นตัวแก่ จึงจะเจาะรูออกมาจากไข่ของผีเสื้อ ไข่ของผีเสื้อที่ถูกแตนเบียนทำลายจะเปลี่ยนเป็นสีดำเข้ม ภายในระยะเวลา 3 วัน หลังจากนั้น 8 วัน จะฟักออกมาเป็นตัวเต็มวัยของแตนเบียน ซึ่งจะผสมพันธุ์และไปทำลายไข่ของผีเสื้อต่อไป เฉพาะแตนเบียนตัวเมียเท่านั้นที่ทำลายไข่ของผีเสื้อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปุ๋ยชีวภาพหมายถึง ปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างธาตุอาหารหรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืช ประกอบด้วยแบคทีเรียตระกูลไรโซเบียม (Rhizobiaceae) ที่สามารถเข้าสร้างปมรากกับพืชตระกูลถั่วได้ และเจริญอยู่ภายในปมรากแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Symbiosis) สามารถตรึงไนโตรเจนโดยใช้เอนไซม์ไนโตร
การบริหารจัดไร่อ้อยด้วยเครื่องจักรลการเกษตร เป็นอีกหนึ่งแนวทางสำคัญที่สยามคูโบต้าได้ส่งเสริมเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยลดต้นทุน ทั้งในด้านการประหยัดท่อนพันธุ์และการจ้างแรงงานคน รวมไปถึงได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ โดยล่าสุด สยามคูโบต้า ได้ส่งเสริมการบริหารจัดการไร่อ้อยด้วยเครื่องจักรกลการเกษตร
น้ำหมักชีวภาพ เป็นของเหลวซึ่งได้จากการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากพืชหรือสัตว์ที่มีลักษณะสดอวบน้ำหรือมีความชื้นสูงโดยอาศัยกิจกรรมของจุลินทรีย์ ทั้งในสภาพที่มีออกซิเจนและมีออกซิเจนน้อย ทำให้ได้ฮอร์โมนหรือสารเสริมการเจริญเติบโตของพืช เช่น ออกซิน จิบเบอเรลลิน และไซโดไคนิน รวมทั้งกรดอินทรีย์หลายชนิด