เพลี้ยแป้งในนาข้าว

เพลี้ยแป้ง (rice mealy bug)

เพลี้ยแป้งเพศเมียไม่มีปีก ลำตัวเป็นปล้องค่อนข้างสั้นยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร  มีผงแป้งคลุมอยู่ภายนอก  มักพบเป็นกลุ่มระหว่างกาบใบและลำต้นข้าว  มักอยู่กับที่ไม่เคลื่อนไหวเมื่อฉีกกาบใบดูจะพบแมลงมีสีขาวคล้ายแป้งปกคลุม และเมื่อเอาส่วนแป้งที่ปกคลุมอยู่จะพบ แมลงตัวสีชมพู  เพศผู้มีปีก เคลื่อนย้ายโดยอาศัยมดพาไป หรืออาศัยลมพัดพาไป เพลี้ยแป้ง Pseudococus มีการลอกคราบ 3 ครั้ง ๆละ 5 วัน ระยะตัวเต็มวัย นาน 13 วัน วางไข่ได้ประมาณ 109 ฟอง เพศผู้ลอกคราบ 4 ครั้ง ระยะเวลานาน 15 วัน

ลักษณะการทำลาย
เพลี้ยแป้ง ทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นข้าวตั้งแต่ระยะกล้าถึงระยะออกรวง  ส่วนใหญ่พบทำลายช่วงระยะข้าวแตกกอ  ถ้ามีปริมาณมากทำให้กาบใบและใบข้าวเป็นสีเหลืองถึงน้ำตาล  เหี่ยวแห้ง  แคระแกร็นและแห้งตายทั้งกอ ต้นที่ไม่แห้งตายก็ไม่สามารถออกรวงได้ตามปรกติ หรืออกรวงก็มีเมล็ดลีบ  พบระบาดเป็นครั้งคราว มักพบระบาดเป็นหย่อมๆหรือบางจุด ยกเว้นปีที่อากาศแห้งและฝนแล้ง  ความเสียหายจะเกิดขึ้นมาก เช่นในภาคเหนือตอนบน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การป้องกันกำจัด

  • เมื่อข้าวแตกกอ ถ้าพบต้นข้าวเน่าฟุบตายหรือแห้งตายเป็นหย่อมๆ  และพบเพลี้ยแป้งให้ถอนต้นข้าวที่มีเพลี้ยแป้งมาเผาทำลาย
  • ในแหล่งที่พบการทำลายเป็นประจำ อย่าปล่อยพื้นนาแห้ง
  • เมื่อมีการระบาดรุนแรง ใช้สารมาลาไทออน (มาลาไธออน 57% อีซี)

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันการค้าข้าวอินทรีย์ยังมีปริมาณน้อยแต่แนวโน้มการบริโภคข้าวอินทรีย์มีมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคตระหนักถึงความปลอดภัยด้านอาหารและสิ่งแวดล้อม การผลิตข้าวเพื่อการค้าโดยทั่วไปจะไม่มีการรับผิดชอบร่วมกัน ดังภาพที่ 1 ส่วนการผลิตข้าวอินทรีย์ เกษตรกรควรรวมตัวกันเพื่อวางระบบการผลิตและการตลาด ซึ่งจะส่งผล
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น สนับสนุน โครงการบริหารจัดการเชื้อพันธุกรรมข้าวโพด โดยดำเนินการภายใต้ศูนย์วิจัยปรับปรุงพันธ์พืชเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน ซึ่งม รศ.ดร.กมล เลิศรัตน์ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้เก็บ รวบรวมเชื้อพันธุกรรมข้าวโพด เน้นกลุ่มข้าวโพดฝัก
เมล็ดที่มีการฟักตัว คือ เมล็ดที่มีชีวิตแต่ไม่งอก แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ระยะฟักตัวหาได้จากจำนวนวันหลังจากเก็บเกี่ยว ถึงวันที่เมล็ดงาน 80% โดบนับทั้งต้นอ่อนสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ ระยะฟักตัวของข้าวแตกต่างกันไปตามพันธุ์