เกษตรสุขกลางกรุง

เราทุกคนอยากมีสุขภาพที่ดี จึงมีการดูแลเอาใจใส่สุขภาพด้วยวิธีที่แตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเกษตรกรท่านนี้นามว่าคุณแอน พรมศักดิ์ อดีตแม่ค้าขายข้าวมันไก่ได้ผันตัวมาปลูกผักอินทรีย์อย่างเต็มตัว โดยจุดเริ่มต้นคือเบื่อกับชีวิตที่เร่งรีบ ทำให้ไม่มีเวลาดูแลตัวเอง และประกอบกับปัญหาด้านสุขภาพ จึงเริ่มลงมือปลูกผักอินทรีย์ในพื้นที่ที่จำกัด และศึกษาวิธีการปลูกผักอินทรีย์ด้วยตนเอง จนได้ผลผลิตกินเอง และเหลือพอที่จะจำหน่ายให้กับลูกค้าที่รักสุขภาพเช่นเดียวกับคุณแอน จนในปัจจุบันเกิดเป็นฟาร์มชื่อว่า “ เกษตรสุขกลางกรุง ณ ทุ่งบางเขน ” 

โดยพื้นที่ในการปลูกผักสลัดทั้งหมดเพียง 3 งาน แต่คุณแอนสามารถบริหารพื้นที่การเพาะปลูกเพื่อให้ผลผลิตหมุนเวียนสู่ลูกค้าได้ตลอดทั้งปี คือแบ่งพื้นที่เป็น 4 โซนต่อเดือน และทำการปลูกผักสลัดสัปดาห์ละ 4 แปลง โดย 1 แปลงสามารถปลูกได้ 300 ต้นจนครบทั้งหมด 20 แปลง ก็จะสามารผลิตผักได้ทั้งหมด 6,000 ต้นจะเห็นได้ว่าหากทำการปลูกผักหมุนเวียนไปเรื่อยๆผลผลิตก็จะทยอยออกสู่มือลูกค้าได้ตรงตามความต้องการนั่นเอง 

นอกจากนี้ยังมีทริคเล็กๆสำหรับการขายผักจากคุณแอน คือ ก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต 1 สัปดาห์จะทำการแจ้งผ่านช่องทางไลน์ให้เพื่อให้ลูกค้าได้จับจองสินค้า หลังจากนั้นก็จะทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตตามออเดอร์ที่ลูกค้าต้องการ เพื่อให้ผลผลิตยังมีความสดใหม่เมื่อถึงมือลูกค้า

ซึ่งนอกจากการบริหารพื้นที่เพาะปลูกและการตลาดแล้ว หัวใจหลักของฟาร์มแห่งนี้คือ “ ขั้นตอนการปลูกผักอินทรีย์ ” นั่นเอง หลังจากนี้เรามาดูกันว่ามีวิธีการดูแลเอาใจใส่อย่างไรให้ได้ผักที่มีคุณภาพและความปลอดภัยสู่มือลูกค้า

ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมดินและแปลงปลูก

  • เตรียมวัสดุปลูกประกอบไปด้วย ดิน 1 ส่วน:ขี้วัว 1 ส่วน:แกลบ 1 ส่วน:ขุยมะพร้าว 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน
  • โรยปูนขาวโดโลไมท์ เพื่อปรับปรุงแร่ธาตุในดินเป็นเวลา 1 เดือน
  • ก่อนปลูกใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา และ บาซิลลัส ซับทิลิส (BS) เพื่อทำการกำจัดเชื้อราในวัสดุปลูก

ขั้นตอนที่ 2 การเพาะกล้า

  • บรรจุพีทมอสลงในกระป๋องที่ทึบแสงและมีฝาปิด
  • โรยเมล็ดผักลงบนพีทมอส หลังจากนั้นทำการรดน้ำแล้วปิดฝา นำไปเก็บในที่ทึบแสง
  • เมื่อเพาะเมล็ดได้ประมาณ 3 วันให้ทำการเปิดฝาออกแล้วนำออกแดด 50%
  • อายุกล้าครบ 5 วันให้ทำการย้ายต้นกล้าลงถาดหลุมเพาะกล้า และนำไปเก็บในโรงเรือนเพาะกล้า
  • เมื่อต้นกล้าอายุได้ 17-18 วันให้ทำการย้ายต้นกล้าลงแปลงปลูก

ขั้นตอนที่ 3 การปลูกและการดูแลรักษา

  • หลังจากย้ายลงแปลงปลูกได้ประมาณ 1 สัปดาห์ ต้นกล้าจะเริ่มตั้งตัว ให้ทำการใช้น้ำหมักปลา 2 ช้อนโต๊ะ น้ำหมักนมสด 2 ช้อนโต๊ะ ผสมในน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นวันเว้นวันหลังรดน้ำในช่วงเช้า (7 โมงเช้า)
  • ช่วงเย็น(5 โมงเย็น)ให้ทำการไล่แมลงหลังจากการรดน้ำ โดยใช้สาร ชีวภัณฑ์ ยาสูบ หรือสะเดา โดยในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝนให้ฉีดพ่นทุกวัน (* สลับสารเพื่อป้องกันการดื้อยา)
  • การปลูกในฤดูร้อน ควรปิดม่านป้องกันแสงแดดในช่วงกลางวัน
  • เฝ้าระวังการระบาดของเพลี้ยและหนอน
  • การให้น้ำจะให้ช่วงเช้าก่อน 7 โมงเช้า และช่วงเย็นประมาณ 4 โมงเย็น ซึ่งทางฟาร์มจะมีการให้น้ำ 2 ระบบ คือแบบมินิสปริงเกอร์ และแบบการรดน้ำด้วยสายยาง

ขั้นตอนที่ 4 การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว

  • เมื่อผักอายุ 45 วันให้การเก็บเกี่ยวได้ โดยก่อนการเก็บเกี่ยวประมาณ 1 สัปดาห์ให้เพิ่มปริมาณการให้น้ำ(4 รอบ/วัน) เพื่อป้องกันผักมีรสขม
  • การพักดินสามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี ดังนี้

1.ดินใหม่ สามารถปลูกซ้ำได้ 3-4 รอบหลังจากนั้นพักดิน 1 เดือนโดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาราดที่วัสดุปลูกเพื่อป้องกันโรครากเน่า/โคนเน่า

2.ดินเก่า ที่ผ่านการปลูกมาหลายครั้งแล้วให้ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา และ บาซิลลัส ซับทิลิส (BS) ราดวัสดุปลูก เพื่อป้องกันเชื้อราในดินและพักดินประมาณ 1 เดือน

ซึ่งท้ายที่สุดคุณแอนยังกล่าวว่า “ไม่ต้องรอให้เก่งที่สุด แต่ก็สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่อยากเรียนหรือผู้ที่มาทีหลังได้เช่นกัน และประสบการณ์จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีเสมอ ” นั่นเอง และนี่เป็นเพียงเรื่องราวส่วนหนึ่งของ “ เกษตรสุขกลางกรุง ณ ทุ่งบางเขน ” หากท่านใดสนใจวิธีการเพาะปลูกผักสลัดชนิดต่างๆ สามารถเข้าไปรับชมคลิปวิดีโอสั้นๆ ได้ทาง “ Facebook : เกษตรสุขกลางกรุง ณ ทุ่งบางเขน ”

บทความที่เกี่ยวข้อง

มีข้อแนะนำเกี่ยวกับการจัดการเพื่อรักษาความอุดมสมบูณ์ของดินให้เหมาะสมกับการใช้ปลูกข้าวอินทรีย์ดังนี้ 1.ไม่เผาตอซัง ฟางข้าว และเศษวัสดุอินทรีย์ในแปลงนา เพราะเป็นการทำลายอินทรียวัตถุและจุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์ 2.ไม่นำชิ้นส่วนของพืชที่ไม่ใช้ประโยชน์โดยตรงออกจากแปลงนา แต่ควรนำวัสดุอินทรีย์จากแหล่งใกล้เคียงใส่แปลงนาให้สม่ำเสมอทีละเล็กละน้อย
การระบาดของแมลงศัตรูอ้อยในช่วงเดือนต่างๆ ได้แก่ หนอนกอลายจุดเล็ก หนอนกอลายจุดใหญ่ หนอนกอลายใหญ่ หนอนกอลายแถบแดง หนอนกอสีชมพู หนอนกอสีขาว แมลงหวี่ขาวอ้อย เพลี้ยกระโดดอ้อย เพลี้ยจักจั่นสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นงวง เพลี้ยกระโดดดำ เพลี้ยหอยอ้อย เพลี้ยอ่อนสำลี เพลี้ยแป้งสีชมพู มวนอ้อย ไรแมงมุมอ้อย ด้วงหนวดยาวอ้อย แมลงนูนหลวง ปลวกอ้อย แมลงค่อมทอง ด้วงขี้ควาย ด้วงดำ ด้วงงวงอ้อย ตั๊กแตนไฮโรไกรฟัส ตั๊กแตนโลกัสต้า ตั๊กแตนปาทังก้า และหนอนบุ้ง
ตรวจสอบความชื้นของเมล็ดพันธุ์ข้าว ตรวจสอบความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ข้าวและสิ่งเจือปน ตรวจสอบปริมาณข้าวแดง และข้าวเหนียวปนในข้าวเจ้าหรือข้าวเจ้าปนในข้าวเหนียว ตรวจสอบความบริสุทธิ์ของพันธุ์ข้าว ข้าวปนหรือเมล็ดพืชอื่นปน ตรวจสอบปริมาณเมล็ดเป็นโรคและแมลงที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ข้าว ตรวจสอบความงอกหรือความม