ระวัง โรคใบร่วงในยาง ในหน้าฝน

ในช่วงนี้เป็นฤดูฝน สภาพอากาศมีความชื้นสูงซึ่งเหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อราไฟท๊อปธอร่าสาเหตุโรค ใบร่วงของยางพารา เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงยางพาราอย่างสม่ำเสมอ และเฝ้าระวังการระบาดของโรคใบร่วงจากเชื้อราไฟท๊อปธอร่า

เชื้อสาเหตุ  เชื้อรา Phytophthora botryosa chee, Phytophthora palmivora (Butl.) Butl.,  Phytophthora nicotianae Van Breda de Haan var. parasitica (Dastur) Waterhouse

ลักษณะอาการ  อาการใบร่วง ใบยางพาราจะร่วงทั้งที่มีสีเขียวสดและสีเหลือง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศสังเกตอาการได้เด่นชัดที่ก้านใบ สีรอยแผลช้ำสีน้ำตาลเข้มถึงดำ ตามความยาวของก้านใบ แผล บริเวณที่เป็นทางเข้าของเชื้อมีหยดน้ำยางเล็กๆ เกาะติดอยู่ เมื่อนำใบยางเป็นโรคมาสะบัดไปมาเบาๆ ใบย่อยจะหลุดทันทีซึ่งต่างจากใบยางที่ร่วงหล่นตามธรรมชาติ เมื่อนำมาสะบัดไปมาใบย่อยจะไม่ร่วง บางครั้งแผ่นใบอาจเป็นแผลสีน้ำตาลเข้มถึงดำมีลักษณะช้ำน้ำขนาดของแผล ไม่แน่นอน นอกจากนี้เชื้อสามารถเข้าทำลายฝักยางได้ทุกระยะ ทำให้ฝักเน่า ถ้าความชื้นในอากาศสูงจะพบเชื้อราสีขาว เจริญปกคลุมฝัก ฝักที่ถูกทำลายจะเน่าดำค้างอยู่บนต้น ไม่แตกและร่วงหล่นตามธรรมชาติกลายเป็นแหล่งเชื้อโรคในปีถัดมา

ในยางพาราใหญ่เมื่อเกิดโรคนี้ใบจะร่วงหมดต้น แต่ไม่ทำให้ต้นยางตาย ผลผลิตยางจะเริ่มลดลง    ถ้าเชื้อราระบาดจนทำให้ใบร่วงมากกว่า 20% และหากปล่อยให้โรคระบาดโดยไม่มีการควบคุมจนใบร่วงถึง 75% จะทำให้ผลผลิตลดลง 30-50% 

การแพร่ระบาด โรคนี้จะระบาดบริเวณพื้นที่ปลูกยางที่มีฝนตกชุก ความชื้นสูง เชื้อราแพร่กระจายโดยลมและฝน ความรุนแรงของการเกิดโรคขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนและจำนวนวันที่ฝนตก โดยปกติโรคจะเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง และรุนแรงในระยะที่มีฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลาหลายๆ วัน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในระหว่างเดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายนของทุกๆ ปี 

แนวทางการป้องกันกำจัด 

1. วิธีป้องกันที่ดีวิธีหนึ่ง คือ ใช้พันธุ์ต้านทาน คือ พันธุ์ GT1 และ BPM 24 ไม่ควรปลูกยางพันธุ์ที่อ่อนแอ เช่น RRIM 600 ในกรณีที่ปลูกพันธุ์อื่นที่อ่อนแอ ต่อโรคไปแล้วก็อาจใช้พันธุ์ต้านทานติดตาเปลี่ยนยอดได้ 

2. ไม่ควรปลูกพืชอาศัยของเชื้อราเป็นพืชแซมยาง ได้แก่ ส้ม ทุเรียน พริกไทย ปาล์มน้ ามัน โกโก้ 

3. กำจัดวัชพืชและตัดแต่งกิ่งในสวนยางให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นในสวนยาง 

4. ในยางพาราที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี ให้ใช้สารเคมี fosetyl-AI เช่น อาลีเอท 80% WP หรือสารเคมี metalaxyl เช่น เอพรอน 35% SD อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นพุ่มใบทุก 7 วัน เมื่อเริ่มพบการระบาด 

5. ในยางที่เปิดกรีดแล้ว ให้ใช้สารเคมี metalaxyl หรือ fosetyl-AI ทาที่หน้ากรีดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกัน โรคเส้นดำ เนื่องจากเกิดจากเชื้อราชนิดเดียวกัน 

6. ต้นยางใหญ่ที่เป็นโรคอย่างรุนแรงจนใบร่วงหมดต้น ให้หยุดกรีดและใส่ปุ๋ยบำรุงต้นให้สมบูรณ์

บทความที่เกี่ยวข้อง

“เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง” เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับฤดูกาลของการทำนาปรัง จึงจะขอนำเสนอ กรรมวิธีการป้องกันกำจัดเชื้อรา ที่เป็นปัญหาสำคัญของการเพาะกล้า และการทำนาในปัจจุบัน เพราะถ้าหากเกิดการระบาดของเชื้อราในพื้นที่แล้วนั้นจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง และแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว อีกทั้งโรคพืชในป
ความสำคัญ แตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา หรือแตนตาแดง เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมาก เมื่อเจริญเต็มที่มีขนาด ประมาณ 0.50 มิลลิเมตร ลำตัวสีน้ำตาลเหลืองขุ่น ตาสีแดง บริเวณเส้นปีกมีขนอ่อนเรียงเป็นแนวตรง แตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมาทำลายไข่ของผีเสื้อต่างๆ ได้หลายชนิด เช่น หนอนกออ้อย หนอนกอข้าว หนอนห่อใบข้าว หนอนเจาะ ล้าต้น
พบมาก ในนาชลประทาน ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง สาเหตุ เชื้อไวรัส Rice Ragged Stunt Virus (RRSV) อาการ ต้นข้าวเป็นโรคได้ ทั้ง ระยะกล้า แตกกอ ตั้งท้อง อาการของต้นข้าวที่เป็นโรค สังเกตได้ง่าย คือ ข้าวต้นเตี้ยกว่าปกติ ใบแคบและสั้นสีเขียวเข้ม แตกใบใหม่ช้ากว่าปกติ แผ่นใบไม่สมบ