มันสำปะหลังพันธ์ใหม่ “พิรุณ 2” เป็นได้ทั้งพันธุ์รับประทาน และพันธุ์อุตสาหกรรม

มันสำปะหลังพันธ์ใหม่ “พิรุณ 2” พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของกรมวิชาการเกษตร สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดลและศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ โดยการสนับสนุนงบประมาณการวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ตั้งแต่ 2549 จากลูกผสมมันสำปะหลัง รุ่น 1 ระหว่างพันธุ์ห้วยบง 60 ผสมกับ พันธุ์ห้านาที


ลักษณะลำต้น

ยอดสีเขียวอ่อน ก้านใบสีแดง ลักษณะทรงต้นตั้งตรง ผลผลิตเฉลี่ย 5.8 ตันต่อไร่ ปริมาณแป้งในหัวสด 24.7 หังแบบทรงโคนหรือดอกบัวตูม ก้านหัวสั้น ตัดหัวง่าย เปลือกหัวสีน้ำตาลเข้ม เนื้อหัวสีขาว เส้นใยน้อย

จุดเด่น 

ให้ผลผลิตหัวสดสูงกว่าพันธุ์ห้านาที เมื่อปลูกในสภาพไร่แบบอาศัยน้ำฝนอย่างเดียว ทรงต้นสวยมีก้านหัวสั้น ทำให้ตัดหัวง่าน เหมาะสำหรับปลูกในดินเหนียวสีแดงมากที่สุด รองลงมา คือ ดินร่วนปนเหนียว และดินเหนียว สีดำ เมื่อนำหัวไปนึ่งหรือเชื่อมให้เนื้อสีขาวรสชาติอร่อย เนื้อสัมผัสนุ่ม ไร้เสี้ยน มันสำปะหลังพันธุ์นี้เป็นได้ทั้งพันธุ์รับประทาน และพันธุ์อุตสาหกรรม

การแปรรูป

 “พิรุณ 2” เป็นพันธุ์ที่ให้เนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม รสชาติดี นำไปทำขนมไทยได้หลายชนิด เช่น มันเชื่อม ตะโก แกงบวด ขนมหน้านวล บ้าบิ่น ขนมมัน และแปรรูปเป็นมันสำปะหลังทอง

แหล่งท่อนพันธุ์

ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมหาสารคาม ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมาและในแหล่งปลูกมันสำปะหลังที่สำคัญดังนี้

  • จังหวัดกำแพงเพชร 081-674-0426
  • จังหวัดฉะเชิงเทรา 086-520-7547
  • จังหวัดชลบุรี 089-834-9760
  • จังหวัดระยอง 081–940–5565
  • จังหวัดนครราชสีมา อำเภอสีคิ้ว 081–879-5238
  • จังหวัดสุพรรณบุรี 081–981-2613
  • จังหวัดนครราชสีมา อำเภอเสิงสาง 088–470-6139 และ 086–246–9109

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประวัติ ข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 2 ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ในระหว่างปี พ.ศ.2549-2556 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท เพื่อให้ได้ข้าวโพดหวานลูกผสมที่มีผลผลิตสูง คุณภาพการบริโภคดี และต้านทานต่อโรคใบไหม้แผลใหญ่ เกิดจากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้เบอร์ 75 กับสายพันธุ์แท้เบอร์ 66 ผ่านการประเมินผลผลิตพันธุ์ลูก
ชนิด : ข้าวเหนียว ประวัติพันธุ์ :ปรับปรุงพันธุ์ โดยการใช้รังสีชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยใช้รังสีแกมมาปริมาณ 20 กิโลเรด อาบเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 แล้วนำมาปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขนและสถานีทดลองข้าวพิมาย จากการคัดเลือกได้ข้าวเหนียวหลายสายพันธุ์ในข้าวชั่วที่ 2 นำไปปลูกคัดเลือกจนอยู่ต
1. มลภาวะทางอากาศ มลพิษจากการเผาอ้อยจะมากหรือน้อยจะแตกต่างกันไปในแต่ละสถานที่ โดยทั่วไปมลพิษจากการเผาไหม้ ประกอบด้วย ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ สารประกอบอินทรีย์ที่ระเหยได้ อนุภาคของแข็งขนาดเล็กและฝุ่นละออง ซึ่งจะกระจายไปในอากาศทำให้สภาพการมองเห็นลดลง เกิดการระคายต่อจมูกและลำคอแล้วถ้าประสบสภาวะนี้อยู่นาน