ทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อชีวิตที่ปลอดภัยด้วยสารสกัดจากสมุนไพรรอบตัว

ปัจจุบันนี้การทำการเกษตรปลูกพืชด้วยวิถีอินทรีย์กำลังมาแรง และสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเป็นกอบเป็นกำ เพราะราคาพืชผักผลไม้ที่ปลูกด้วยระบบอินทรีย์มีราคาสูงกว่าพืชที่ใช้สารเคมีเกือบเท่าตัว และยังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่รักชีวิตตนเอง และครอบครัวด้วย เกษตรกรหลายท่านที่ยังคงใช้สารเคมีเพราะคิดว่าการทำเกษตรอินทรีย์นั้นทำยาก แต่เรามีวิธีการทำเกษตรอินทรีย์ที่ง่ายๆ ด้วยพืชพรรณที่หาได้จากรอบตัวเราเอง นอกจากปลอดภัยต่อผู้บริโภค และผู้ปลูกแล้ว ยังมีต้นทุนต่ำกว่าการใช้สารเคมีอีกด้วย โดยเป็นข้อมูลที่ปราชญ์ของเราได้ศึกษาและเผยแพร่ให้แก่ผู้สนใจเป็นวิทยาทาน ปราชญ์ของเราก็คือ อ.ธนาเดช ชัยยะสมุทร แห่งลำปาง

พืชชนิดใดที่สามารถนำมาสกัดเพื่อใช้ขับไล่แมลงศัตรูพืชได้บ้าง?

วิธีสังเกตว่าพืชชนิดใดสามารถนำมาสกัดเป็นสารไล่แมลงได้นั้น ให้สังเกตุว่าพืชต้นไหนที่ไม่เคยมีแมลงมากัดกินเลย แสดงว่าพืชชนิดนั้นมีสารที่แมลงไม่ชอบ ก็สามารถนำมาทดลองหมักแล้วนำไปฉีดพ่นพืชปลูกของเราดูว่าเมื่อฉีดพ่นไปแล้วมีแมลงมากัดกินหรือไม่ ถ้าไม่มีก็แสดงว่าใช้ได้

ถ้าวิธีที่กล่าวมายากเกินจะไปทดลองเราก็มีสูตรสำเร็จให้ท่านผู้อ่านนำไปลองทำและใช้กันได้ทันที โดยสูตรที่จะกล่าวถึงนี้มีคุณสมบัติครอบคลุมขับไล่หนอนและแมลงได้หลายชนิดเลยทีเดียว พืชสมุนไพรที่ใช้แต่ละชนิดที่จะนำมาสกัดสารมีสรรพคุณต่างกันดังนี้

1. ยาสูบ (ยาฉุน, ยาเส้น)

สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ คือ สารนิโคตินที่พบในทุกส่วนของต้นพืช (ใบ ลำต้น ดอก เมล็ด ฯลฯ)

ส่วนที่นำมาใช้ คือ ใบแก่ หรือ ใบที่ตากแห้งแล้ว

ใช้ได้ผลกับ ด้วงหมัด แมลงปากดูด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยไฟ มวน ไรแดง หนอนกอข้าว หนอนคืบกะหล่ำปลี หนอนชอนใบ และหนอนทั่วไปอีกหลายชนิด

2. บอระเพ็ด

ตัวเจตมูลยาน เถาหัวด้วน (สระบุรี) หางหนู (สระบุรี, อุบลราชธานี) จุ่งจิง เครือเขาฮอ (ภาคเหนือ) เจตมูลหนาม (หนองคาย)

สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ N-trans-feruloyltyramine, N-cis-feruloyltyramine, Picroretin

ส่วนที่นำมาใช้ คือ เถา หรือลำต้นสด

ใช้ได้ผลกับ หนอนกอข้าว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจั๊กจั่นสีน้ำตาล

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Cephalosporium, Fusarium และ Acremonium การระบาด 1. ทางท่อนพันธุ์ 2. เชื้อราอยู่ในดินและเศษซากจะเข้าทําลายอ้อย เมื่อปลูกพันธุ์ที่อ่อนแอ 3. โรคจะแพร่กระจายไปทางดินลม ฝน และน้ำชลประทาน ลักษณะอาการ อ้อยจะแสดงอาการใบเหลืองโทรม ต่อมาต้นจะแห้งตาย
ชุดดินในที่ลุ่มที่สำคัญ ในภาคเหนือ 1. ชุดดินหางดง (Hang Dongseries : Hd) กลุ่มชุดดินที่ 5 การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำพาบริเวณที่ราบตะกอนน้ำพาหรือตะพักลำน้ำ สภาพพื้นที่ : ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 % การระบายน้ำ : เลว การซึมผ่านได้ของน้ำ : ช้า การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ช้า
เห็ดเรืองแสง คือเห็ดที่สามารถเรืองแสงหรือเปล่งแสงได้ในที่มืด จัดเป็นเห็ดที่มีลักษณะพิเศษ คือมีแสงในตัวเอง โดยแสงที่เปล่งออกมาเป็นกลไกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนเมื่ออยู่ในสภาพที่ไม่มีแสงหรืออยู่ในที่มืด ส่วนใหญ่เรืองแสงสีเขียวอมฟ้า หรือสีเขียวอมเหลือง ตามชนิดของเห็ด