ด้วงเต่าตัวห้ำ

ด้วงเต่าตัวห้ำ เป็นแมลงห้ำทั้งในระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย สามารถทําลายศัตรูพืชได้หลายชนิด ได้แก่ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน ไข่ของผีเสื้อ หนอนขนาดเล็ก และแมลงหวี่ขาว เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถกินไรศัตรูพืช และบางชนิดกินเชื้อราเป็นอาหาร ด้วงเต่าทั่วไปมีปากแบบ ปากกัด ตัวเต็มวัยจะกัดและบดกินเหยื่อทุกส่วน  ส่วนตัวหนอนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆ จะเจาะและดูดอาหารจากเหยื่อ เมื่อหนอนโตขึ้นจะสามารถกัดและเคี้ยวเหยื่อได้ทั้งตัว ด้วงเต่าตัวห้ำกินแมลงศัตรูพืชได้ทุกระยะ ทั้งระยะไข่ ตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย 

ด้วงเต่าตัวห้ำ นอกจากจะกินแมลงศัตรูพืชเป็นอาหารแล้ว  ในขณะที่ขาดแคลนอาหารด้วงเต่าตัวห้ำสามารถกินน้ำหวานที่แมลงกลั่นออกมา (honeydew) น้ำหวานจากดอกไม้และเกสร น้ำดอกไม้ หรือน้ำค้างบนพืช หรือแม้แต่ใบพืชที่ถูกแมลงเข้าทําลาย และมีสารเหลวออกมาจากแผลที่ถูกกัดทําลาย แต่อาหารจําพวกนี้ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตตามปกติได้ เพียงแต่ให้มีอายุอยู่ได้เท่านันแต่หากจะให้ด้วงเต่าตัวห้ำมีการเจริญที่ดีและขยายพันธุ์ได้ดีนั้น จะต้องได้กินแมลงศัตรูพืชชนิดที่เป็นอาหารหลักที่เหมาะสม ซึ่งแต่ละชนิด จะมีความชอบกินอาหารแตกต่างกันออกไป

วงจรชีวิตของด้วงเต่า

วงจรชีวิตของด้วงเต่า แต่ละชนิดไม่เหมือนกัน ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อาหาร อุณหภูมิ ความชื้นเป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในระหว่างการเก็บเกี่ยว การขนส่ง การเก็บรักษา และการวางจําหน่ายข้าวโพดฝักอ่อน จะเกิดการสูญเสียน้ำมาก ทำให้ฝักเหี่ยวเป็นสีน้ำตาล น้ำหนักลดลง เมื่อเก็บไว้นานความหวานจะลดลง อาการฝักเน่าและบวมจะปรากฏมากขึ้น การปอกเปลือกข้าวโพดฝักอ่อนถ้าไม่มีความชํานาญจะทําให้ฝักอ่อนเกิดบาดแผลหรือ เกิดอาการช้ำได้
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตอ้อย ซึ่งเป็นความ เกี่ยวข้องกันระหว่างระบบการปลูกและขั้นตอนการดูแลแปลงนั้นก็คือ การปรับระบบปลูกเพื่อใช้เครื่องจักรกลเข้าดูแลแปลงได้ตลอดอายุการ เจริญเติบโตของอ้อย ในขั้นตอนการดูแลรักษาแปลงที่สำคัญคือ การ ป้องกันกำจัดวัชพืช และการใส่ปุ๋ย ซึ่งปัจจุบันนี้จากปัญหาการขาดแคลน แรงงาน