ชุดดินโคราช

ชุดดินในที่ดอนที่สำคัญ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

5. ชุดดินโคราช (โคราช series : Kt)

กลุ่มชุดดินที่ 35

การกำเนิด : เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ/หรือเคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางไม่ไกลนักของหินตะกอนเนื้อหยาบพวกหินทรายบริเวณพื้นที่เกือบราบหรือที่เกือบราบ (peneplain)

สภาพพื้นที่  ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 2-12 %

การระบายน้ำ : ดี

การซึมผ่านได้ของน้ำ : เร็ว

การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ปานกลาง

ลักษณะสมบัติของดิน : เป็นดินลึก ดินบนเป็นทรายปนดินร่วนถึงดินร่วนปนทราย สีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลปนแดงเข้ม ดินล่างเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย สีแดงปนเหลืองหรือแดงลึกลงไปเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย สีแดงหรือแดงเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง (pH 5.5-7.0) ในดินบน และเป็นกรดจัดมาก (pH 4.5-5.0) ในดินล่าง

การแพร่กระจาย : พบมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ที่ดินในการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ มันสำปะหลัง และอ้อยเป็นต้น

ปัญหาและข้อจำกัด : ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ ดินค่อนข้างเป็นทราย และมีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ อาจขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง

ข้อเสนอแนะ :  เหมาะสมสำหรับปลูกพืชไร่ ไม้ผลและไม้ยืนต้น แต่ควรมีการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดินให้มีความสามารถในการอุ้มน้ำดีขึ้นควรจัดหาแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของพืช

สมบัติทางเคมี :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ต้นฤดูฝน นิยมปลูกประมาณ กลางเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน* โดยปลูกงาก่อนฤดูปลูกข้าว *ขึ้นกับวันเวลาที่ฝนตกครั้งแรกของฤดูกาลและปริมาณการกระจายตัว ของฝนในแต่ละพื้นที่ ปลายฤดูฝน ปลูกประมาณเดือน กรกฎาคม – สิงหาคมโดยจะปลูกในพื้นที่ไร่ หรือพื้นที่ดอนหลังการเก็บเกี่ยวพืชไร่ ฤดูแล้ง
จากการสํารวจสวนยางเกษตรกรในพื้นที่จังหวัด กระบี่ ตรัง สตูล โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร สงขลา พบการแพร่กระจายของแมลงชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นแมลงปีกแข็ง ลําตัวส่วนใหญ่ดําเข้าปกคลุมต้นยางตั้งแต่เหนือโคนต้นขึ้นไป และกระจายตัวอยู่รอบบริเวณพื้นดิน ซึ่งการกระจายตัวของแมลง สร้างความกังวลให้แก่ชาวสวนยางพารา