ชุดดินร้อยเอ็ด

ชุดดินในที่ลุ่มที่สำคัญ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

3. ชุดดินร้อยเอ็ด (Roi-et series : Re)

กลุ่มชุดดินที่ 17

การกำเนิด : เกิดจากตะกอนของหินตะกอนเนื้อหยาบชะมาทับถมบนพื้นผิวของการเกลี่ยผิวแผ่นดินบริเวณพื้นที่เกือบราบหรือที่ราบ

สภาพพื้นที่ : ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 %

การระบายน้ำ : ค่อนข้างเลว

การซึมผ่านได้ของน้ำ : ปานกลางถึงช้า

การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ช้า

ลักษณะสมบัติของดิน : เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทรายปนดินร่วน สีน้ำตาลปนเทาหรือสีน้ำตาล ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายหรือดินร่วนปนทราย  อาจพบชั้นดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินเหนียว สีเทาปนน้ำตาลอ่อนหรือเทาปนชมพู พบจุดประสีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีน้ำตาลปนแดงตลอด ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.0-6.5) ในดินบนและเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 4.5-6.5) ในดินล่าง

การแพร่กระจาย : พบมากบริเวณที่ราบลุ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี และนครราชสีมา ใช้ประโยชน์ที่ดินสำหรับการปลูกข้าว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ปัญหาและข้อจำกัด : เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ เสี่ยงต่อการขาดน้ำในฤดูเพาะปลูก

ข้อเสนอแนะ : เนื่องจากวัตถุต้นกำเนิดดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เป็นวัสดุที่มีเนื้อค่อนข้างหยาบ ดินที่เกิดขึ้นจึงมีเนื้อดินเป็นพวกดินทรายหรือดินร่วนหยาบ ส่วนใหญ่เป็นการทำการเกษตรแบบอาศัยน้ำฝน หากใช้ทำนาควรมีการชลประทานเข้าช่วยและมีการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยการใส่พืขปุ๋ยสด ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้น ถ้าปลูกพืชโดยอาศัยน้ำฝน ควรเลือกระยะเวลาปลูกที่เหมาะสมเพื่อลดอัตราเสี่ยงของการขาดแคลนน้ำ

สมบัติทางเคมี

บทความที่เกี่ยวข้อง

ความหมายของชั้นดินดาน ชั้นดินดาน หมายถึง ชั้นดินที่อัดตัวแน่นทึบ หรือชั้นที่มีสารเชื่อมอนุภาคดินมาจับตัวกัน ทำให้ดินแน่นทึบและแข็ง จนเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช การไหลซึมของน้ำและอากาศ ซึ่งกระบวนการเกิดชั้นดินดานมี 3 ประเภท มีรายละเอียดดังนี้ 1. ชั้นดินดานแข็ง (duripan) เป็นชั้น
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์ของประเทศ ทั้งนี้ มีการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ภายในประเทศมากถึงร้อยละ 93.1 ของอาหารเลี้ยงสัตว์ทั้งหมดภายในประเทศ ซึ่งจากปริมาณความต้องการดังกล่าวถือเป็นโอกาสอันดี ที่เกษตรกรของไทยจะพัฒนาการผลิตข้าว
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตอ้อย ซึ่งเป็นความ เกี่ยวข้องกันระหว่างระบบการปลูกและขั้นตอนการดูแลแปลงนั้นก็คือ การปรับระบบปลูกเพื่อใช้เครื่องจักรกลเข้าดูแลแปลงได้ตลอดอายุการ เจริญเติบโตของอ้อย ในขั้นตอนการดูแลรักษาแปลงที่สำคัญคือ การ ป้องกันกำจัดวัชพืช และการใส่ปุ๋ย ซึ่งปัจจุบันนี้จากปัญหาการขาดแคลน แรงงาน