ชุดดินมาบบอน

กลุ่มชุดดินที่ 35

การกำเนิด : เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางไม่ไกลนักของหินแกรนิตบริเวณลานตะพัก เชิงเขา เนินเขา หรือพื้นที่ที่เหลือค้างจากการกัดกร่อน

สภาพพื้นที่ : ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนชัน มีความลาดชัน 2-12 %

การระบายน้ำ : ดี

การซึมผ่านได้ของน้ำ : เร็ว

การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : เร็ว

ลักษณะสมบัติของดิน : เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทรายปนดินร่วน สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอ่อน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ดินล่างเป็นดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินร่วนเหนียวปนทรายปนกรวดมาก สีน้ำตาลแก่ สีเหลืองปนแดง และสีแดงปนเหลือง ในดินล่างลึกลงไป ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5-5.5) มักพบเศษวัตถุต้นกำเนิดดินจากหินแกรนิต มีการสะสมเหล็กหรือแมงกานีสปะปนในเนื้อดินชั้นล่างๆ

ปัญหาและข้อจำกัด : เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำสำหรับพืชในฤดูเพาะปลูก และเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลาย

ข้อเสนอแนะ : เหมาะสำหรับปลูกพืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น แต่ควรมีการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี เพื่อเพิ่มแร่ธาตุต่างๆให้แก่ดิน และป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน โดยใช้ระบบอนุรักษ์ดินร่วมด้วย เช่น การคลุมดิน การทำคันดินระบายน้ำ

สมบัติทางเคมี

บทความที่เกี่ยวข้อง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leptocorisa acuta (Thunberg) Leptocorisa oratorius (Fabricius) วงศ์ : Alydidae อันดับ : Hemiptera ชื่อสามัญอื่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ : มอดดิน (Ground Weevil) รูปร่างลักษณะ : ตัวเต็มวัยของมอดดินเป็นด้วงงวงขนาดเล็ก เป็นแมลงปีกแข็ง ลำตัวป้อม ผิวขรุขระมีสีดำปนน้ำตาล และเทา มีขนาดความกว้างของลำตัวเฉลี่ยประมาณ 2.2 มิลลิเมตร ความยาวเฉลี่ย 3.5 มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่ในดินบริเวณที่มีต้นพืช ไข่มีลักษณะกลมรี
สยามคูโบต้า นำองค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions เกษตรครบวงจร ไปต่อยอดและพัฒนาเกษตรกร ด้วยการทำแปลงทดสอบการปลูกพืชหมุนเวียน (Revolving crop model) ในพื้นที่นาข้าว ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำนาห้วยตาดข่า จ.อุดรธานี โดยร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชขอนแก่น กรมวิชาการเกษตร