ชุดดินบ้านจ้อง

ชุดดินในที่ดอนที่สำคัญ ในภาคเหนือ

4. ชุดดินบ้านจ้อง (Ban Chong series : Bg)

กลุ่มชุดดินที่ 29

การกำเนิด : เกิดจากการผุพังสลายตัวของหินตะกอนเนื้อละเอียดและหินที่แปรสภาพ เช่น หินดินดาน หินทรายแป้ง หินโคลน หินชนวน และหินฟิลไลท์

สภาพพื้นที่ : ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงเป็นเนินเขา ความลาดชัน 3-35 %

การระบายน้ำ : ดี

การซึมผ่านได้ของน้ำ : ปานกลาง

การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ช้าถึงเร็ว

ลักษณะสมบัติของดิน : เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินร่วนปนดินเหนียว สีน้ำตาลเข้มถึงสีน้ำตาลปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ดินล่างเป็นดินเหนียว สีแดงปนเหลือง ถึงสีแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5-5.5)

การแพร่กระจาย : พบมากบริเวณภาคเหนือตอนบน กระจายตัวอยู่ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน และลำพูนส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ที่ดินในการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลำไย ยางพารา มันสำปะหลัง เป็นต้น

ปัญหาและข้อจำกัด : ดินมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำและเป็นกรด สภาพพื้นที่มีความลาดชัน ดินเกิดการชะล้างพังทลายได้ง่าย

ข้อเสนอแนะ : เหมาะสมสำหรับปลูกพืชไร่ ไม้ผลและไม้ยืนต้น แต่ควรมีการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยใช้อินทรียวัตถุ ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมี และใช้วัสดุปูนปรับแก้ความเป็นกรดของดิน จัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำให้เหมาะสม ควรจัดหาแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของพืช

สมบัติทางเคมี :

บทความที่เกี่ยวข้อง

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas rubrilineans การระบาด 1. ระบาดไปทางท่อนพันธุ์ 2. ระบาดโดยทางลม ฝน โดยพัดพาเชื้อจากต้นที่เป็นโรคไปติดต้นอ้อยข้างเคียง ลักษณะอาการ ใบมีเส้นสีแดงเป็นขีดยาวตามความยาวของใบบางครั้งรอยขีดติดกันเป็นปื้น ต่อมาเชื้อลามไปในยอด ทําให้มีอาการยอดเน่าบางพันธุ์อาจพบ
จุดกำเนิด ของการปลูกมันสำปะหลังเพื่อเลี้ยงโคนมในระบบอินทรีย์ของประเทศไทย เริ่มต้นจากกระแสการดูแลสุขภาพของคนทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น โดยเกษตรกรต้องการลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน แหล่งน้ำ และอากาศ รวมถึงการตอบแทนคุณแผ่นดินซึ่งเป็นที่ทำกินตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ