ชนิดของพันธุ์ข้าว

การแบ่งพันธุ์ข้าวตามการตอบสนองต่อช่วงแสง 

  • พันธุ์ข้าวไวต่อแสง (Photoperiod Sensitive Varieties)   

เป็นพันธุ์ข้าวที่ต้องการช่วงแสง หรือช่วงเวลากลางวันสั้นเพื่อเปลี่ยนการเจริญเติบโตของลำต้นและใบมาเป็นการเจริญทางการสืบพันธุ์เพื่อสร้างช่อดอกและเมล็ด โดยข้าวจะสร้างช่อดอกเมื่อช่วงแสงสั้นกว่า 12 ชั่วโมง เช่น ขาวดอกมะลิ105, กข15, ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก1, กข45   

  • พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง (Insensitive Varieties)   

เป็นพันธุ์ข้าวที่ช่วงแสงไม่มีอิทธิพลต่อการสร้างช่อดอก พันธุ์ข้าวนี้จะออกดอกและเก็บเกี่ยว ตามอายุของแต่ละพันธุ์ค่อนข้างแน่นอน แบ่งเป็นข้าวพันธุ์เบา พันธุ์กลาง พันธุ์หนัก ซึ่งเกิดจากอุณหภูมิสะสมซึ่งแต่ละสายพันธุ์มีความต้องการไม่เท่ากัน เช่น ข้าวปทุมธานี1, ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง1, ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี, ข้าวกข 33,  สุรินทร์1 

การแบ่งพันธุ์ข้าวตามนิเวศการปลูกข้าว

  • ข้าวไร่ เป็นข้าวที่มีการปลูกแบบพืชไร่ ไม่มีน้ำขัง ไม่มีคันนาเก็บกักน้ำในพื้นที่ปลูกตลอดระยะการเจริญเติบโตของข้าว มักอาศัยน้ำฝน และเป็นที่ดอน  
  • ข้าวนาสวนนาน้ำฝน เป็นข้าวที่ปลูกในสภาพที่มีน้ำขัง มีคันนาสำหรับเก็บกักน้ำ อาศัยน้ำฝนในการเจริญเติบโตของข้าว ระดับน้ำไม่สูงกว่า 50 เซนติเมตร 
  • ข้าวนาสวนนาชลประทาน ปลูกในสภาพมีน้ำขัง สามารถควบคุมระดับน้ำได้  
  • ข้าวน้ำลึกและข้าวขึ้นน้ำ เป็นข้าวที่ปลูกในสภาพพื้นที่ซึ่งระดับน้ำสูงตั้งแต่ 50 เซนติเมตรขึ้นไป จนถึงระดับไม่เกิน 100 เซนติเมตร เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือน เรียกว่าข้าวน้ำลึก ส่วนข้าวที่ปลูกในพื้นที่ที่มีระดับลึกมากกว่า100 เซนติเมตร โดยที่ความสูงของต้นข้าวสามารถเปลี่ยนแปลงตามระดับน้ำเรียกว่า ข้าวขึ้นน้ำ 

การแบ่งพันธุ์ข้าวตามคุณภาพเมล็ดข้าวทางเคมี (Chemical Quality of Rice)

ปริมาณอมิโลส (Apparent amylose – content)    ข้าวอมิโลสต่ำ เป็นข้าวที่มีปริมาณอมิโลส 10 – 19% เมื่อหุงต้มลักษณะข้าวสุกจะนุ่มเหนียว ได้แก่ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105, กข15, กข21, ปทุมธานี 1, ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1, ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี, และข้าวสังข์หยดพัทลุง ฯลฯ 

ข้าวอมิโลสปานกลาง เป็นข้าวที่มีอมิโลส  20 – 25%  เมื่อหุงต้มลักษณะข้าวสุกค่อนข้างนุ่มเหนียวเล็กน้อย ได้แก่ ข้าวพันธุ์กข7, กข23, สุพรรณบุรี 60, ขาวปากหม้อ, ขาวตาแห้ง 17, สุพรรณบุรี 2, เล็บนกปัตตานี   

ข้าวอมิโลสสูง เป็นข้าวที่มีปริมาณอมิโลส มากกว่า 25% เมื่อหุงต้มลักษณะข้าวสุกจะร่วนค่อนข้างแข็ง ได้แก่ ข้าวพันธุ์ นางพญา 132, กู้เมืองหลวง,  แก่นจันทร์, กันตัง, เฉี้ยงพัทลุง, ชัยนาท 1,  กข5, กข1,  กข13,  ลูกแดงปัตตานี, ปทุมธานี 60,  สุพรรณบุรี 1, สุพรรณบุรี 90       

การแบ่งพันธุ์ข้าวตามการตลาดสินค้าเกษตร  

บทความที่เกี่ยวข้อง

ไนโตรเจนเป็นธาตุอาหารที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโต และการแตกกอของข้าว เป็นองค์ประกอบของเม็ดสีในเซลล์พืช การขาดไนโตรเจนพบได้ทั่วไป โดยเฉพาะในดินนาเนื้อหยาบ เช่น ดินทรายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือในดินที่ขาดการจัดการที่เหมาะสม
การบริหารจัดการเครื่องจักรกลการเกษตร (Machinery pool model) ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนบ้านอุ่มแสง (เกษตรทิพย์)