คำแนะนำในการใช้คลอโรฟิลล์มิเตอร์สำหรับการใส่ปุ๋ย เพื่อเพิ่มคุณภาพของข้าว

การใส่ปุ๋ยไนโตรเจน (N) เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการปลูกข้าวให้ได้คุณภาพดีและมีผลผลิตที่สม่ำเสมอ แต่ในดินที่มีการปลูกพืชมักจะขาดแคลนธาตุไนโตรเจน ทำให้เกษตรกรต้องใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในการทำนาทุกครั้ง ซึ่งในการใส่ปุ๋ย หากใส่มากเกินไป อาจทำให้ข้าวเกิดโรคและหักล้มง่าย หากใส่น้อยเกินไป อาจทำให้ได้ผลผลิตต่ำ นอกจากนี้ ยังเกิดปัญหาการใส่ปุ๋ยไม่ตรงกับระยะเวลาความต้องการของข้าวและใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสมด้วย ทำให้การใช้ปุ๋ยไม่มีประสิทธิภาพและเกษตรกรมีต้นทุนที่สูงเกินความจำเป็น

สยามคูโบต้า จึงเกิดแนวคิดที่จะช่วยพัฒนาแนวทางการปลูกข้าวของชาวนาไทย ด้วยการนำเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้ประเมินความเข้มข้นของคลอโรฟิลล์ในใบพืช โดยไม่ทำลายใบ ที่เรียกว่า คลอโรฟิลล์มิเตอร์ (Chlorophyll meter) ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก และวัดผลได้รวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถกำหนดปริมาณการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนได้อย่างเหมาะสมและแม่นยำ ช่วยให้เกษตรกรมีความเข้าใจในการใส่ปุ๋ยได้อย่างถูกต้อง

ขณะนี้ สยามคูโบต้า กำลังทำการศึกษาวิจัยในแปลงนาทดลองในพื้นที่ จ.อยุธยา โดยมีวิธีการศึกษาวิจัยการใช้คลอโรฟิลล์มิเตอร์ ดังนี้ 

1. เลือกสุ่มต้นข้าว โดยเลือกต้นที่มีการเจริญเติบโตมากที่สุด และเลือกใบข้าวที่ 2-3 (นับจากใบบนสุดของต้นข้าว)

2. ทำความสะอาดใบข้าวให้ปราศจากน้ำและฝุ่นละออง 

3. ทำการวัดค่า โดยใช้ปากคีบของเครื่อง หนีบที่ใบข้าว โดยให้ตำแหน่งหัววัดอยู่บริเวณส่วนกลางใบให้มากที่สุด และไม่ควรให้ตรงเส้นใบหรือก้านใบ เพราะจะทำให้ได้ค่าที่ผิดพลาด และมีข้อแนะนำว่า ในขณะวัดค่าควรป้องกันให้พ้นจากการสัมผัสแสงแดดโดยตรง ด้วยการยืนในตำแหน่งหันหลังให้พระอาทิตย์ เพื่อให้ได้ข้อมูลการใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องแม่นยำที่สุด

ทั้งนี้ ค่ามาตรฐานที่ใช้ประเมินความเข้มข้นของคลอโรฟิลล์ในใบข้าว แบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้

1. มีค่ามากกว่า >35 มีปริมาณไนโตรเจนสูงเกินไป ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย

2. มีค่าระหว่าง 35-30 มีปริมาณไนโตรเจนเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยหรือใส่เพียงเล็กน้อย

3. มีค่าระหว่าง 30-25 มีปริมาณไนโตรเจนค่อนข้างต่ำ จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย

4. มีค่าน้อยกว่า <20 มีปริมาณไนโตรเจนต่ำมาก อาจเกิดจากความเสียหายของรากและใบ

ดังนั้น การใช้คลอโรฟิลล์มิเตอร์ในการตรวจสอบปริมาณธาตุอาหารในใบข้าวตามระยะเวลาที่เหมาะสม จึงเป็นอีกแนวทางในการช่วยจัดการธาตุอาหารได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพสูงสุด ส่งผลให้เกษตรกรสามารถเพิ่มคุณภาพของผลผลิตและช่วยลดต้นทุนได้อีกด้วย

ในอนาคต สยามคูโบต้า ยังได้วางแผนที่จะนำคลอโรฟิลล์มิเตอร์ ไปทำการศึกษาและทดลองกับกลุ่มพืชชนิดอื่นๆ เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้ครอบคลุมและถ่ายทอดไปยังกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการเกษตร  ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน

บทความที่เกี่ยวข้อง

KUBOTA Farm ฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ ของคูโบต้า บนเนื้อที่มากกว่า 220 ไร่ โดยใช้นวัตกรรมด้านการเกษตรอย่างครบวงจร เพื่อยกระดับเกษตรกรรมให้เป็นเกษตรแม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ด้วยเกษตรวิถีใหม่ที่ให้ผลลัพธ์คุ้มค่าทุกตารางเมตร รวมถึงการบริหารจัดการรายได้ที่ยั่งยืน เพื่อนำพาเกษตรกร
“น้ำดี ดินดี คนมีความสามัคคี ข้าวดีมีคุณภาพ ต้องข้าวของศูนย์ข้าวชุมชนหนองปิ้งไก่” พี่น้องเกษตรกรทุกท่าน เคยประสบปัญหาเหล่านี้บ้างไหม ไม่รู้จะปลูกอะไรดี ปลูกอย่างไร ใช้วิธีไหนถึงจะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณมาก เมื่อได้ผลผลิตแล้วจะไปขายที่ไหน ทำไมราคาสินค้าทางการ
เกษตรกรรายย่อย ปลูกอ้อยอย่างไรให้กำไรงาม ชาวไร่อ้อยที่มีการบริหารจัดการไร่อ้อย แบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นางอุทัย สุขศรีพะเนาว์ ได้รับรางวัลดีเด่น ชาวไร่อ้อยที่มีการบริการจัดการไร่อ้อยที่มีความปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมดีเด่น (ประเภทรายเล็ก พื้นที่ปลูกอ้อย 56 ไร่) ทำการเพาะปลูกอ้อยมากว่า 24 ปี