ข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 86-1

ประวัติ

ข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 86-1 ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ในระหว่างปี พ.ศ.2548-2554 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท เพื่อให้ได้ข้าวโพดหวานลูกผสมที่มีผลผลิตสูง และคุณภาพการบริโภคดี เกิดจากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้เบอร์ 75 กับสายพันธุ์แท้เบอร์ 50 ผ่านการประเมินผลผลิตพันธุ์ลูกผสมตามขั้นตอนของกรมวิชาการเกษตร จากการพัฒนาพันธุ์ดังกล่าวได้ข้าวโพดหวานลูกผสมสายพันธุ์ดีเด่น “CNSH 7550” และได้รับการพิจารณาให้เป็นพันธุ์รับรองในปี 2556  

ลักษณะเด่น

ให้ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือก 2,888 กิโลกรัมต่อไร่ และผลผลิตฝักสดปอกเปลือก 1,939 กิโลกรัมต่อไร่ มีอัตราแลกเนื้อ 40 เปอร์เซ็นต์ รสชาติหวาน (13.8 บริกซ์) และปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อม

ลักษณะประจำพันธุ์

รากค้ำจุน ลำต้น และเปลือกหุ้มฝักมีสีเขียว เส้นไหมสีเขียวอ่อน อับละอองเกสรสีเหลือง มีหูใบที่ฝัก ไม่มีการแตกหน่อ วันออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์ 50-52 วัน วันออกไหม 50 เปอร์เซ็นต์ 52-54 วัน อายุเก็บเกี่ยว 72-74 วัน เมล็ดสดสีเหลือง ขนาดฝัก (กว้าง x ยาว) 5.0 x 18.0 เซนติเมตร จำนวนแถว 16-18 แถว ความสูงต้น 220 เซนติเมตร ความสูงฝัก 120 เซนติเมตร

พื้นที่แนะนำ

ปลูกได้ทั่วไปทั้งเขตน้ำฝน และในพื้นที่ชลประทาน ทั้งก่อนฤดูการทำนา และหลังฤดูการทำนา

ข้อควรระวัง

เป็นพันธุ์ที่ไม่ต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง และโรคใบไหม้แผลใหญ่ หากมีการระบาดของโรคควรป้องกันกำจัดตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร

บทความที่เกี่ยวข้อง

1. มลภาวะทางอากาศ มลพิษจากการเผาอ้อยจะมากหรือน้อยจะแตกต่างกันไปในแต่ละสถานที่ โดยทั่วไปมลพิษจากการเผาไหม้ ประกอบด้วย ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ สารประกอบอินทรีย์ที่ระเหยได้ อนุภาคของแข็งขนาดเล็กและฝุ่นละออง ซึ่งจะกระจายไปในอากาศทำให้สภาพการมองเห็นลดลง เกิดการระคายต่อจมูกและลำคอแล้วถ้าประสบสภาวะนี้อยู่นาน
การแบ่งพันธุ์ข้าวตามการตอบสนองต่อช่วงแสง พันธุ์ข้าวไวต่อแสง (Photoperiod Sensitive Varieties) เป็นพันธุ์ข้าวที่ต้องการช่วงแสง หรือช่วงเวลากลางวันสั้นเพื่อเปลี่ยนการเจริญเติบโตของลำต้นและใบมาเป็นการเจริญทางการสืบพันธุ์เพื่อสร้างช่อดอกและเมล็ด โดยข้าวจะสร้างช่อดอกเมื่อช่วงแสงสั้น
ถั่วเขียวผิวดำ หรือ ถั่วแขก หรือถั่วเม็ดนุ่น เป็นชื่อเรียกที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ มีลักษณะต้น ใบ กิ่งก้าน ฝัก และเมล็ดใกล้เคียงกับถั่วเขียวธรรมดา ฝักอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสด ส่วนเปลือกถั่วและซากลำต้นใช้เป็นอาหารสัตว์ ยังสามารถปลูกไว้เพื่อใช้ทำปุ๋ยพืชสดได้ ปัจจุบันผลผลิตของถั่วเขียวผิวดำตลาดของ