ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 84-1

ประวัติ

ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 84-1 ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ในระหว่างปี พ.ศ.2544-2551 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท เพื่อให้ได้ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมที่มีผลผลิตสูง และมีความเหนียวนุ่ม เกิดจากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้ F4305 กับสายพันธุ์แท้ M80 ผ่านการประเมินผลผลิตพันธุ์ลูกผสมตามขั้นตอนของกรมวิชาการเกษตร จากการพัฒนาพันธุ์ดังกล่าวได้ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมสายพันธุ์ดีเด่น และได้รับการพิจารณาให้เป็นพันธุ์รับรองในปี 2554 โดยใช้ชื่อ “ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 84-1”

ลักษณะเด่น

ผลผลิตทั้งเปลือกเฉลี่ย 1,731 กิโลกรัมต่อไร่ มีคุณภาพการบริโภคเหนียวนุ่ม ปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อม

ลักษณะประจำพันธุ์

  รากค้ำจุน ลำต้น และเปลือกหุ้มฝัก มีสีเขียวปนม่วงแดง เส้นไหมสีชมพู ไม่มีหูใบ วันออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์ 41-42 วัน วันออกไหม 50 เปอร์เซ็นต์ 42-43 วัน เมล็ดสีขาว อายุเก็บเกี่ยว 60-62 วัน ขนาดฝัก (กว้าง x ยาว) 4.5 x 17.9 เซนติเมตร จำนวนแถว 12-14 แถว ความสูงต้น 202 เซนติเมตร ความสูงฝัก 112 เซนติเมตร

พื้นที่แนะนำ

ปลูกได้ทั่วไปในพื้นที่ที่สามารถให้น้ำชลประทานได้ตลอดฤดูปลูก

ข้อควรระวัง

เป็นพันธุ์ที่ไม่ต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง และโรคทางใบที่สำคัญ เช่น โรคใบไหม้แผลใหญ่ โรคใบด่างจากเชื้อไวรัส หากมีการระบาดควรป้องกันกำจัดตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร

บทความที่เกี่ยวข้อง

การดูแลรักษาแปลงอ้อยโดยใช้แทรกเตอร์ขนาดเล็ก อ้อยเป็นพืชที่มีการปลูกเป็นแถว มีระยะห่างระหว่างแถวตั้งแต่ 80 – 180 เซนติเมตร ปลูกได้ทั้งแบบร่องคู่และร่องเดี่ยวขึ้นอยู่กับลักษณะการเจริญเติบโตของแต่ละพันธุ์อ้อยและความอุดมสมบูรณ์ของสภาพดินและน้ำ อีกทั้งเมื่อปลูกแล้วอ้อยยังสามารถเก็บเกี่ยวได้หลายครั้ง
พบมาก : ในนาชลประทาน ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้สาเหตุเชื้อรา สาเหตุหลัก 6 ชนิดได้แก่ Curvularia lunata(Wakk) Boed. Cercospora oryzaeI.Miyake. Bipolaris oryzaeBreda de Haan. Fusarium semitectumBerk & Rav.
การใช้แทรกเตอร์ขนาดเล็กในการบำรุงรักษาไร่อ้อย ด้วยการทำงานที่เต็มประสิทธิภาพสำหรับเกษตรกรไร่อ้อยโดยเฉพาะ ปัจจุบันชาวไร่อ้อยเริ่มมีการนำเครื่องจักรกลการเกษตรมาประยุกต์ใช้ในไร่อ้อยกันมากขึ้น เริ่มตั้งแต่การเตรียมดิน การเพาะปลูก การบำรุงรักษา และการขนส่งเนื่องจากสามารถช่วยลดต้นทุน ทั้งในด้านการประหยัด