การใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยอย่างมีประสิทธิภาพ

การผลิตอ้อยมีหลายกิจกรรมที่ใช้แรงงานมาก และเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีนั้นจำเป็นต้องบริหารจัดการแต่ละกิจกรรมให้ทันเวลา แต่ปัจจุบันปัญหาการขาดแคลนแรงงานไร่อ้อยทวีความรุนแรงมากขึ้น หากจะบริหารจัดการในไร่อ้อยให้มีประสิทธิภาพจะใช้แต่แรงงานคนนั้นอาจไม่ทันเวลา เครื่องจักรกลการเกษตรจึงเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และการทำงานให้ทันเวลา นอกจากนี้การใช้เครื่องจักรกลการเกษตรให้มีประสิทธิภาพยังทำให้ผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้นอีกด้วย

               เครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อย มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ มีราคาค่อนข้างสูง และมีหลากหลายรูปแบบให้เลือก เกษตรกรจึงควรตัดสินใจเลื่อกเครื่องจักรกลการเกษตรให้เหมาะสมกับหน้างานของตนเองและคุ้มค่ากับการลงทุนซื้อ ซึ่งในระยะยาวจะช่วยประหยัดเวลาและลดต้นทุนการผลิตอ้อย แต่หากตัดสินใจผิดพลาดเลือกเครื่องจักรกลการเกษตรที่ไม่เหมาะสมกับหน้างานจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตอ้อยอย่างมาก

การใช้เครื่องจักรกลการเกษตร จำเป็นต้องรู้จักเครื่องจักรนั้นๆ เพื่อจะได้ใช้งานเครื่องจักรกลการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยสำคัญ ได้แก่

1.  รถแทรกเตอร์

 เป็นเครื่องจักรกลการเกษตรที่ถือว่ามีความสำคัญ เพราะเป็นเครื่องต้นกำลังในการทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งการปลูกและบำรุงต้นอ้อยโดยรถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตรมีทั้งชนิดขับเคลื่อน 4 ล้อและขับเคลื่อน 2 ล้อ ซึ่งแทรกเตอร์ขับเคลื่อน 4 ล้อที่ใช้ในประเทศไทย สามารถแบ่งตามแรงม้าได้ 3 ขนาด คือ ขนาดเล็กต่ำกว่า 18 แรงม้า ขนาดกลาง 18-50 แรงม้า และขนาดใหญ่ 50 แรงม้าขึ้นไป

2.  อุปกรณ์ต่อพ่วง

นับเป็นเครื่องจักรกลการเกษตรที่สำคัญในการทำงานให้มำเร็จควบคู่กับรถแทรกเตอร์ ในแต่ขั้นตอนการผลิตอ้อย ยกเว้นเฉพาะขั้นตอนการเก็บเกี่ยวที่ใช้รถตัดอ้อย อุปกรณ์ต่อพ่วงที่สำคัญในไร่อ้อย ได้แก่

2.1  จอบหมุนพรวนดินแนวตั้ง (power harrow)

ใช้งานได้มีประสิทธิภาพกับลักษณะดินแห้งและช่วยลดขั้นตอนในการเตรียมดินเนื่องจากจอบหมุนพรวนดินแบบแนวตั้ง สามารถทำงานได้ลึกทำให้ดินละเอียดและไม่เป็นก้อนขนาดใหญ่เหมาะกับการปลูกอ้อย และไม่ทำให้พื้นที่ปลูกอ้อยเกิดปัญหาดินอัดตัว(ดินดาน) นอกจากนี้ยังประหยัดเวลาในการทำงานและลดต้นทุนในการเตรียมดิน

2.2  จอบหมุนกำจัดวัชพืช

ในร่องอ้อยสำหรับรถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก ออกแบบเพื่อให้ทำงานในระหว่างร่องอ้อยได้ ใช้พรวนดิน สับใบอ้อย และกำจัดวัชพืชในร่องอ้อย แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ประหยัดเวลา เพิ่มผลผลิตอ้อย ช่วยลดความเสี่ยงเนื่องจากเกิดไฟไหม้ในแปลงอ้อย และเป็นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุและปริมณอากาศและให้ความชุ่มชื่นแก่ดินด้วย

2.3  เครื่องปลูกอ้อยแบบท่อน (Billet planter)

พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปลูกให้มากขึ้นพร้อมประหยัดแรงงานและเวลาในการปลูก สามารถปลูกได้ทั้งในสภาพดินเหนียวและดินทรายเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในการตัดพันธุ์อ้อย และเพื่อช่วยให้ชาวไร่อ้อยสามารถปลูกได้ทันช่วงที่ดินกำลังมีความชื้นเหมาะสม ท่อนพันธุ์มีระยะห่างสม่ำเสมอ

3.  รถตัดอ้อย

เป็นเครื่องมือเก็บเกี่ยวอ้อยซึ่งไว้ใช้ในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวอ้อยเข้าสู่โรงงานน้ำตาลใช้ในการตัดอ้อยแบบอ้อยท่อน พร้อมทั้งมีตัวตัดยอดและหางสะพานลำเลียงอ้อยขึ้นสู่รถตะกร้าหรือรถบรรทุกทันที ช่วยทดแทนแรงงานคน และลดความยุ่งยากในการจัดการกับแรงงานคน ซึ่งช่วยให้สามารถกำหนดเป้าหมาย และวางแผนการตัดอ้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

การใส่ปุ๋ย สูตรปุ๋ยยางพาราที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้ใช้ในปัจจุบันมี 6 สูตร แต่ละสูตรจะเหมาะสมกับเนื้อดินและอายุของต้นยางแตกต่างกัน ดังแสดงไว้ในตาราง ตารางแสดงสูตรปุ๋ยที่มีความเหมาะสมกับเนื้อดินและอายุของต้นยาง หมายเหตุ ฟอสฟอรัสในสูตรปุ๋ยเม็ดเป็นค่าของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ฟอสฟอรัสในสูตรปุ๋ยผสม
1.การเตรียมการก่อนปลูก 1.1 การเตรียมดิน1) ถั่วฝักยาวสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ลักษณะดินที่มีความเหมาะสมในการปลูกคือดินทรายหรือดินร่วนปนทราย ความเป็นกรดและด่างของดิน pH มีค่าอยู่ระหว่าง 5.5 – 6.82) การเตรียมดิน ควรไถดินตากไว้ประมาณ 7 วัน แล้วไถพรวนอีก 1 – 2 ครั้ง ใส่ปุ๋ยหมักหรือ
รำข้าว คือ ส่วนที่ได้จากการขัดข้าวกล้องให้เป็นข้าวสาร ซึ่งประกอบด้วยชั้นเยื่อหุ้มเมล็ด และคัพภะ เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งได้จากกระบวนการสีข้าว โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ รำหยาบ (bran) ซึ่งได้จากการขัดผิวเมล็ดข้าวกล้อง และรำละเอียด(polish) ได้จากการขัดขาวและขัดมัน นอกจากนี้รำข้าวยังมีคุณค่าทางอาหารสูง