การเตรียมแปลงปลูกข้าว

การไถเตรียมดินมีวัตถุประสงค์ เพื่อกำจัดวัชพืช และทำให้ดินมีสภาพเหมาะแก่การปลูกข้าว การไถครั้งแรกพลิกดินขึ้นมาแล้วเว้นช่วงให้เมล็ดวัชพืชงอก ยิ่งงอกมากยิ่งดี แล้วไถครั้งที่ 2 หรือไถแปรฝังกลบต้นวัชพืชลงในดิน จะช่วยลดปริมาณวัชพืชได้มาก ช่วงเวลาระหว่างไถครั้งแรกกับครั้งที่ 2 ขึ้นกับปัจจัยในการงอกของเมล็ดวัชพืชโดยเฉพาะความชื้น ถ้ามีความชื้นพอเหมาะจะทำให้งอกได้ดีและใช้เวลาไม่นาน แต่ถ้าดินแห้งอาจจะต้องใช้เวลานานมากขึ้น หลังจากไถแล้วมีการคราดเอาเศษส่วนวัชพืชออกจากแปลงนาและทำให้ดินละเอียด นอกจากนี้ยังเป็นการปรับระดับพื้นที่ให้เรียบสม่ำเสมอ ถ้าเป็นนาหว่านน้ำตมและนาดำ ต้องทำเทือกเป็นขั้นตอนสุดท้าย เพื่อทำให้ดินเละง่ายต่อปักดำ และเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเมล็ดข้าวงอก

การปรับระดับพื้นที่

การปรับระดับพื้นที่ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก มีผลต่อความสม่ำเสมอของต้นข้าว บริเวณที่ต่ำเป็นแอ่งมีน้ำขังไม่สามารถระบายน้ำออกได้หมดต้นข้าวมักจะเน่าตาย และระดับพื้นที่มีผลต่อการให้น้ำเมื่อข้าวเริ่มตั้งตัวได้หลังหว่าน ถ้าพื้นที่ไม่สม่ำเสมอจะทำให้เอาน้ำเข้านาได้ไม่ทั่วถึง ถ้าจะเอาน้ำเข้าให้ถึงบริเวณที่สูงกว่าจะทำให้น้ำท่วมต้นข้าวบริเวณต่ำการเจริญเติบโตไม่ดีหรืออาจจะตายได้ แต่ถ้าให้ระดับน้ำพอเหมาะสำหรับบริเวณต่ำ บริเวณที่สูงกว่าน้ำก็ไม่ถึง จะทำให้เกิดปัญหามีวัชพืชงอกขึ้นมาได้ นอกจากนี้ระดับพื้นที่ไม่สม่ำเสมอยังมีผลต่อประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืช อันเนื่องมาจากน้ำเข้าแปลงนาได้ไม่ทั่วถึง เพราะความชื้นที่เหมาะสมทำให้การใช้สารกำจัดวัชพืชมีประสิทธิภาพมากขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ความสำคัญ แตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา หรือแตนตาแดง เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมาก เมื่อเจริญเต็มที่มีขนาด ประมาณ 0.50 มิลลิเมตร ลำตัวสีน้ำตาลเหลืองขุ่น ตาสีแดง บริเวณเส้นปีกมีขนอ่อนเรียงเป็นแนวตรง แตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมาทำลายไข่ของผีเสื้อต่างๆ ได้หลายชนิด เช่น หนอนกออ้อย หนอนกอข้าว หนอนห่อใบข้าว หนอนเจาะ ล้าต้น
การดูดธาตุอาหารของพืช พืชได้รับคาร์บอนและออกซิเจนจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยการสังเคราะห์แสงจากใบพืชและส่วนที่มีสีเขียว ส่วนธาตุอาหารพืชในรูปของไอออนพืชได้รับเช่นกัน การดูดธาตุอาหาร พืชโดยส่วนต่างๆของพืช ได้แก่ การดูดธาตุอาหารของพืชโดยใช้ส่วนต่างๆของพืช และ การดูดซับธาตุอาหารของพืชทางราก สารอาหารสามารถ
เกษตรกรไม่ต้องกังวลใจเรื่องปุ๋ยยูเรียแพงแล้วนะ เพราะเราสามารถใช้แหนแดงแทนปุ๋ยยูเรียได้ โดยข้อมูลจากกรมวิชาการการเกษตรระบุไว้ว่าหากปลูกแหนแดง 1 ไร่ จะได้แหนแดง 3 ตัน มีธาตุอาหารเทียบเท่าปุ๋ยยูเรีย 7-10 กิโลกรัม เลยทีเดียว แต่ก่อนจะใช้แหนแดงทดแทนปุ๋ย เรามารู้จักคุณสมบัติ และวิธีการใช้แหนแดงกันก่อน