การปลูกถั่วเหลืองฝักสด

อายุเก็บเกี่ยว

เริ่มเก็บเกี่ยวเมื่ออายุประมาณ 62-75 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์

เงื่อนไขการดำเนินการ

  1.  ฤดูกาล ในฤดูแล้งปลูกช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนมกราคม ช่วงปลูกหากกระทบอากาศเย็นจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต

2.  ไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขัง

3.  ดินเหนียวไม่เหมาะสมกับการปลูกถั่วเหลือง

4.  ดินมีการระบายน้ำ และถ่ายเทอากาศดี สามารถอุ้มน้ำได้ดี

5.  การปลูกควรทยอยปลูก เพื่อป้องกันปัญหาการขาดแรงงาน และการตลาด

6.  ต้องมีตลาดรองรับ

วิธีการผลิต/การเขตกรรม

1.  การเตรียมดิน

ไถดะและตากดิน 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอก 300 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วไถพรวนกลบ จากนั้นยกแปลงกว้าง 80-120 เซนติเมตร เว้นร่อง    กว้าง 30 เซนติเมตร

2.  การปลูก

ใช้เมล็ดพันธุ์ 12-15 กิโลกรัมต่อไร่ ก่อนปลูกคลุกด้วยไรโซเบียม อัตรา 200 กรัมต่อ  เมล็ดพันธุ์ 12 กิโลกรัม และสารป้องกันเชื้อรา (เมตรแลกซิล) อัตรา 7 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม โดยคลุกเคล้าเมล็ดพันธุ์ด้วยน้ำเชื่อมเพื่อให้ยึดติดกับเมล็ดพันธ์ได้ดีขึ้น ปลูกโดยวิธีหยอดหลุมๆละ 3-4 เมล็ด ลึก 2-3 เซนติเมตร ระยะห่าง 20-24 x 40 เซนติเมตร หลังปลูกควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดวัชพืชทันที

เกษตรกรสามารถใช้รถแทรกเตอร์รุ่น L5018 ต่อพ่วงด้วยเครื่องหยอดเมล็ด ตราช้างรุ่น MS360 ที่ออกแบบให้มีขนาดเหมาะสมกับเมล็ดพืชแต่ละชนิด จึงสามารถหยอดเมล็ดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.  การให้น้ำ

ควรให้น้ำในแปลง 1 วันก่อนทำการปลูก โดยปล่อยน้ำเข้าไปตามร่องทิ้งไว้ครึ่งวันแล้วระบายออก และให้น้ำต่อไปเมื่อถั่วอายุ 7-10 วัน หลังจากนั้นการให้น้ำให้ดูความชื้นของดิน

4.  การใส่ปุ๋ย

ใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมก่อนปลูกสูตร 15-15-15 อัตรา 30กิโลกรัมต่อไร่ และหลังปลูกประมาณ 50 วัน สูตร 46-0-0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ โดยโรยข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ

5.  การกำจัดศัตรูพืช

สำรวจโรคและแมลงในแปลง เมื่อมีการทำลายของโรคและแมลงให้ป้องกันกำจัดโดยการฉีดพ่นสารเคมีอัตราที่ใช้ตามคำแนะนำในฉลาก ควรใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 15-20 วัน เพื่อป้องกันผลตกค้างของสารเคมี

6.  การเก็บเกี่ยว

เกษตรกรควรใช้รถเกี่ยวนวดข้าวที่ติดตั้งชุดอุปกรณ์เก็บเกี่ยวถั่วเหลือง ตราช้างรุ่น Bean Kit BK93/BK93Gเก็บเกี่ยวในช่วงที่ฝักเต่งประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ขณะฝักยังมีสีเขียวสด แล้วมัดเป็นมัดๆละ 5 กิโลกรัม เพื่อจำหน่าย

การตลาด  รวมกลุ่มการผลิตให้มีคุณภาพ และสามารถจำหน่ายในพื้นที่

การเพิ่มมูลค่า ต้มฝัก

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

–  กลุ่มส่งเสริมการผลิตพืชน้ำมันและพืชตระกูลถั่ว สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรโทรศัพท์/โทรสาร 02561 0453 E-mail : agriman๓๓@gmail.com

–  สำนักงานเกษตรอำเภอ และสำนักงานเกษตรจังหวัด ในพื้นที่

บทความที่เกี่ยวข้อง

การระบาดของแมลงศัตรูอ้อยในช่วงเดือนต่างๆ ได้แก่ หนอนกอลายจุดเล็ก หนอนกอลายจุดใหญ่ หนอนกอลายใหญ่ หนอนกอลายแถบแดง หนอนกอสีชมพู หนอนกอสีขาว แมลงหวี่ขาวอ้อย เพลี้ยกระโดดอ้อย เพลี้ยจักจั่นสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นงวง เพลี้ยกระโดดดำ เพลี้ยหอยอ้อย เพลี้ยอ่อนสำลี เพลี้ยแป้งสีชมพู มวนอ้อย ไรแมงมุมอ้อย ด้วงหนวดยาวอ้อย แมลงนูนหลวง ปลวกอ้อย แมลงค่อมทอง ด้วงขี้ควาย ด้วงดำ ด้วงงวงอ้อย ตั๊กแตนไฮโรไกรฟัส ตั๊กแตนโลกัสต้า ตั๊กแตนปาทังก้า และหนอนบุ้ง
หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด (Corn borer : Ostrinia fumacalis Guenee) รูปร่างลักษณะ : หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด เป็นแมลงศัตรูสำคัญที่สุดชนิดหนึ่งของข้าวโพด โดยเฉพาะในไร่ที่มีการปลูกข้าวโพดมานานปี หรือในแหล่งที่มีการใช้สารฆ่าแมลงมาก เพราะจะไปทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น แตนเบียนไข่ ซึ่งเป็นตัวคอย
การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง นอกเหนือจากการปรับปรุงบำรุงดิน ร่วมกับการอนุรักษ์ดิน และการใช้พันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ดีแล้ว การจัดการดูแลที่ดีโดยเริ่มตั้งแต่ ฤดูกาลปลูกที่เหมาะสม การเตรียมดินดี การเตรียมท่อนพันธุ์ปลูกระยะปลูกที่เหมาะสม ตลอดจนการใช้ปุ๋เคมีในอัตราที่เหมาะสม การกำจัดวัชพืชเป็นปัจจัยที่