การบริหารจัดการการผลิตอ้อย ใน อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี

อ้อย เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย โดยปัจจุบัน อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล โอกาสที่จะขยายตัวอีกมาก สืบเนื่องจากนโยบายการบริหารพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่การเพาะปลูก ไปสู่การเพาะปลูกอ้อยโรงงาน โดยเมื่อปี 59/60 ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยรวมทั้งประเทศกว่า 10 ล้านไร่ มีผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 9.3 ตัน/ไร่ โดยนิยมปลูกกันในหลายพื้นที่ อาทิ สุพรรณบุรี ราชบุรี กำแพงเพชร โดยทางสยามคูโบต้า ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้กับ Antenna Farmer ของสยามคูโบต้า  คุณธนากร เขียนวิมล ซึ่งมีประสบการณ์ในการเพาะปลูกอ้อยกว่า 17 ปี ประสบความสำเร็จและมีเทคนิคการเพาะปลูกดีๆ มานำเสนอ

โดย คุณธนากร เขียนวิมล มีภูมิลำเนาอยู่ที่ ต.หนองมะค่าโมง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี ทำการปลูกอ้อย พันธุ์ขอนแก่น 3 ในพื้นที่กว่า 800 ไร่ โดย เหตุผลที่เลือกปลูกพันธุ์ขอนแก่น 3 เพราะ เป็นพันธุ์ที่มีการแตกกอดี ใบมีลักษณะคลุมพื้นที่ได้เร็ว ทำให้แข่งขันกับวัชพืชได้ดี ส่งผลให้ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช และพันธุ์ดังกล่าว ยังมีความต้านทานต่อโรคแส้ดำและเหี่ยวเน่าแดงอีกด้วย จุดแข็ง ที่สร้างความแตกต่างในการเพาะปลูกคือ การเตรียมดิน เพราะถ้าเตรียมดินดี จะเสมือนการสร้างฐานการผลิตที่สำคัญ คุณภาพของดินจึงเปรียบเสมือน ต้นทุนการผลิต ถ้าดินดี ต้นทุนการผลิตพืชจะต่ำ กำไรย่อมมากขึ้น จึงกล่าวได้ว่า คุณภาพของดินเท่ากับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ด้วย

เทคนิคในการปลูกอ้อย ดังนี้

การเพาะปลูกปี 60/61

เกษตรกร เริ่มต้นปลูกอ้อยในเดือน ธ.ค.ด้วยการเตรียมดิน โดยการไถบุกเบิก 2 ครั้ง ไถพรวนอีก 1 ครั้ง จากนั้นเริ่มปลูกเนื่องจากดินยังมีความชื้นอยู่ การเพาะปลูกในขณะที่ดินยังมีความชื้นอยู่จะช่วยเพิ่มอัตราการงอกได้ดียิ่งขึ้น ปลูกด้วยด้วย  M95 + SP920 ใช้ปริมาณอ้อย (1 ตัน/ไร่) แล้วให้น้ำต่อเนื่อง 6-7 ชั่วโมง หลังจากปลูก 1 เดือน จึงเข้าสำรวจแปลงเพื่อดูปริมาณวัชพืช หากพบให้รีบกำจัด จากนั้นใส่ปุ๋ยสูตร 20-8-20 อัตรา 50 กก./ไร่ จากนั้นในช่วงบำรุงรักษาจนถึงเก็บเกี่ยวคอยตรวจสอบดูแปลงหากพบความผิดปกติให้รีบจัดการ

การเริ่มต้นวางแผนการเพาะปลูกดี จะช่วยให้สามารถจัดการการเพาะปลูกที่ดี โดยการบริหารจัดการภายในแปลงปลูกขนาดใหญ่ ได้ผลผลิตรวม 12 ตัน/ไร่ ราคาขายอยู่ที่ 880 บาท/ตัน และยังช่วยให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้นอีกด้วย

โดยวิธีการแนะนำของรูปแบบของ KAS ที่ได้แนะนำแลกเปลี่ยนกับเกษตรกร ดังนี้

การเตรียมดินและการจัดการแปลง เริ่มต้นจากการระเบิดดินดาน และไถกลบวัชพืชจากนั้นพรวนดิน เมื่อเข้าสู่ระยะของการปลูกในระยะต้นเริ่มทำการปลูกพร้อมใส่ปุ๋ยรองพื้น ครั้งที่1 และฉีดสารควบคุมวัชพืชแบบก่อนงอก จากนั้นระยะย่างปล้องจึงใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 พรวนดินเพื่อกำจัดวัชพืช เมื่อต้นอ้อยเริ่มเข้าสู่ระยะสร้างน้ำตาลจึงใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 และพรวนดินกำจัดวัชพืชครั้งที่ 2 ซึ่งในระยะสร้างน้ำตาลนี้ อ้อยมีความต้องการน้ำในปริมาณ 5 มม./วัน ระยะของการเก็บเกี่ยวอ้อยมีควรอายุไม่เกิน 14 เดือน ทั้งนี้ได้แนะนำให้เกษตรกรใช้รถตัดอ้อยในการเก็บเกี่ยว ช่วยลดการเผาอ้อยและยังลดมลภาวะได้อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

การระบาดของแมลงศัตรูอ้อยในช่วงเดือนต่างๆ ได้แก่ หนอนกอลายจุดเล็ก หนอนกอลายจุดใหญ่ หนอนกอลายใหญ่ หนอนกอลายแถบแดง หนอนกอสีชมพู หนอนกอสีขาว แมลงหวี่ขาวอ้อย เพลี้ยกระโดดอ้อย เพลี้ยจักจั่นสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นงวง เพลี้ยกระโดดดำ เพลี้ยหอยอ้อย เพลี้ยอ่อนสำลี เพลี้ยแป้งสีชมพู มวนอ้อย ไรแมงมุมอ้อย ด้วงหนวดยาวอ้อย แมลงนูนหลวง ปลวกอ้อย แมลงค่อมทอง ด้วงขี้ควาย ด้วงดำ ด้วงงวงอ้อย ตั๊กแตนไฮโรไกรฟัส ตั๊กแตนโลกัสต้า ตั๊กแตนปาทังก้า และหนอนบุ้ง
หนอนกระทู้คอรวง Mythimna separata (Walker) ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกคู่หน้าสีน้ำตาลอ่อนแทรกสีน้ำตาลแดง ปีกกว้างประมาณ 4.5-5 เซนติเมตร
ปุ๋ยชีวภาพหมายถึง ปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างธาตุอาหารหรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืช ประกอบด้วยแบคทีเรียตระกูลไรโซเบียม (Rhizobiaceae) ที่สามารถเข้าสร้างปมรากกับพืชตระกูลถั่วได้ และเจริญอยู่ภายในปมรากแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Symbiosis) สามารถตรึงไนโตรเจนโดยใช้เอนไซม์ไนโตร