การจัดการฟางในระบบการผลิตข้าวนาชลประทาน

ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวแต่ละฤดู นอกจากจะเกิดการสูญเสียธาตุอาหารพืช ในเมล็ดที่เคลื่อนย้ายออกไปจากนาแล้ว หากมีการเผาหรือนำฟางไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นแทน จะทำให้เกิดการสูญเสียธาตุอาหารพืชในดินมากยิ่งขึ้น ดินจะมีธาตุอาหารพืชลดลง และเกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหาร ส่งผลให้ดินเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต

แม้ว่าการไถกลบฟางข้าวจะให้ผลดีหลายประการ แต่เกษตรกรไม่นิยมปฏิบัติ เนื่องจากการย่อยสลายฟางตามธรรมชาติต้องใช้เวลานาน ไม่สอดคล้องกับสภาพการทำนาของเกษตรกร ในเขตชลประทานที่มีการทำนาหลายครั้งในรอบปี

แนวทางการจัดการฟาง

1.  เลือกใช้พันธุ์ข้าวที่มีลักษณะต้นเตี้ย แตกกอดีและมีมวลชีวภาพต่ำ หรือมีค่าดรรชนีการเก็บเกี่ยวสูง (มากกว่าร้อยละ 40) เช่น สุพรรณบุรี 3 ปทุมธานี 1 พิษณุโลก 2 หรือ ชัยนาท 2 ต้นไม่หักล้มง่าย ตอซังสั้น มีฟางเหลือในนาน้อย ระหว่าง 900 – 1,300 เพื่อสะดวกต่อการไถกลบด้วยรถ

2.  ถ้ามีปริมาณฟางเหลือทิ้งในนาน้อยกว่า 1,300 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรควรไถกลบฟาง ด้วยรถไถเตรียมดิน ในสภาพดินแห้งหรือ ปล่อยน้ำลงแช่ฟาง 2-3 วันเพื่อให้ฟางนุ่มอ่อนตัว แล้วไถกลบฟางในสภาพดินมีน้ำขัง หมักฟางไว้ 15-20 วัน แล้วเตรียมดินปลูกข้าวตามปกติต่อไป

3.  ถ้ามีฟางเหลือทิ้งในนาเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นพันธุ์ข้าวต้นสูง ตอซังยาว ข้าวหักล้มหรือการระบายน้ำในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยวไม่แห้งสมบูรณ์ ยากต่อการไถกลบ เกษตรกรควรปล่อยน้ำลงในแปลงพอท่วม แล้วใช้รถแทรกเตอร์ย่ำตอซังข้าวให้แนบกับพื้นดิน ในลักษณะปล่อยให้ย่อยสลายบนดิน การจัดการฟางด้วยวิธีนี้ค่อนข้างใช้เวลาและการย่อยสลายฟางในสภาพดังกล่าว ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น หลังจากหมักฟางในสภาพดังกล่าว 15-20 วัน ทำการไถกลบฟาง และเตรียมดินปลูกข้าว

4.  การจัดการฟางทั้ง 2 วิธี ทำให้ดินมีอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น ภายหลังการจัดการฟางต่อเนื่องกัน 2 ปี และในดินที่ไถกลบฟางพบว่ามีฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมเพิ่มขึ้น

5. เกษตรกรไม่ควรเผาฟางที่เหลือทิ้งในนาด้วยวิธีเผา

การใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง

1.  หลังการไถกลบ หรือย่ำฟางด้วยรถไถให้แบนราบกับพื้นดิน และปล่อยฟางให้ย่อยสลายบนพื้นดิน เกษตรกรควรใช้ พด.2 อัตรา 5 ลิตร ผสมกับกากน้ำตาล 5 กิโลกรัม ในน้ำ 200 ลิตร แล้วปล่อยน้ำลงในแปลงพอท่วมในพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อให้ตอซังข้าวที่นุ่มอ่อนตัวดีแล้วเกิดการย่อยสลาย

2.  หลังปล่อยน้ำลงแช่แปลงแล้ว หว่านปุ๋ยยูเรียเพิ่มอีก 5 กิโลกรัมต่อไร่ และรักษาระดับน้ำไว้อย่าให้แปลงแห้ง หมักฟางไว้ประมาณ 15 วัน เตรียมดินทำเทือกเพื่อปลูกข้าวตามปกติ

3.  การใช้จุลินทรีย์ร่วมกับการจัดการฟาง ด้วยวิธีย่ำฟางด้วยรถแทรกเตอร์ให้แบนราบกับพื้นดิน และปล่อยฟางให้ย่อยสลายบนพื้นดิน เป็นวิธีที่เกษตรกรควรนำไปปฏิบัติ เนื่องจากเป็นวิธีที่จัดการได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย

บทความที่เกี่ยวข้อง

นายมูล สุขเจริญ อายุ 56 ปี เกษตรกรในอำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา อดีตสมาชิก อบต. ทำการเพาะปลูกมาแล้วไม่ต่ำกว่า 25 ปี ปัจจุบันพื้นที่ปลูกอ้อยของตนเองกว่า 700 ไร่ และพื้นที่ของลูกไร่ประมาณ 40 คน ในพื้นที่ 1,500 ไร่ โดยมีโควต้าอ้อยต่อปีกว่า 18,000 ตัน การดูแลอ้อยในพื้นที่ของตัวเอง รวมทั้งพื้นที่
ชุดดินในที่ลุ่มที่สำคัญ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3. ชุดดินร้อยเอ็ด (Roi-et series : Re) กลุ่มชุดดินที่ 17 การกำเนิด : เกิดจากตะกอนของหินตะกอนเนื้อหยาบชะมาทับถมบนพื้นผิวของการเกลี่ยผิวแผ่นดินบริเวณพื้นที่เกือบราบหรือที่ราบ สภาพพื้นที่ : ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 %
แช่ท่อนพันธุ์ ปลูกมันฯ รวยแน่ ค่าสารเคมีไร่ละ 20 บาท เท่านั้น