การจัดการดิน ปุ๋ยและเศษซากพืช เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตพืชตระกูลถั่ว

สมบัติของดินที่เหมาะสม

–  ดินร่วน ดินร่วนเหนียว ดินเหนียว หรือดินร่วนเหนียวปนทราย 

–  มีการระบายน้ำ และถ่ายเทอากาศดี

–  ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง

–  ค่าความเป็นกรด – ด่าง 5.5 – 7.0 (ถั่วเหลือง ถั่วเขียว) และ 5.5 – 6.0 (ถั่วลิสง)

ความต้องการธาตุอาหารของพืชตระกูลถั่ว 

ปริมาณธาตุอาหารที่ถั่วถูกใช้ เพื่อสร้างผลผลิต 300 กิโลกรัม/ไร่

ปริมาณธาตุอาหารในเศษซากต้นและใบถั่วที่ให้ผลผลิต 300 กิโลกรัม/ไร่

การจัดการดิน

ควรไถกลบเศษซากต้นและใบถั่ว เพื่อให้ธาตุอาหารกลับคืนสู่ดิน ช่วยรักษาดินไม่ให้เสื่อมโทรม สามารถใช้ในการผลิตพืชได้อย่างยั่งยืน

การจัดการปุ๋ย

1.  คลุกเมล็ดด้วยปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม 1 ถุง (200 กรัม) ต่อเมล็ดถั่วเขียว 3-5 กิโลกรัม ถั่วเหลือง 10 – 12 กิโลกรัม หรือ ถั่วลิสง 10 – 15 กิโลกรัม

2.  ใส่ปุ๋ยรองก้นหลุม พร้อมปลูกใส่ปุ๋ย P K  หรือใส่ปุ๋ย N K ครึ่งอัตราร่วมกับปุ๋ย P K อัตราแนะนำ

3.  ระยะเริ่มงอกต้นถั่วใช้ธาตุอาหารในปริมาณน้อย ปมที่รากถั่วมีการเจริญอย่างช้าๆ

4.  ระยะออกดอกปมรากเจริญเต็มที่ตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้สูงไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย N K

5.  ระยะติดฝักต้นถั่วเจริญเติบโตสูงสุดการดูดใช้ธาตุอาหารเริ่มลดน้อยลง

บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวข้าว เกษตรกรส่วนใหญ่จะเริ่มทำการเพาะปลูกพืชผัก เพราะในช่วงฤดูหนาวพืชผักจะงอกงามอย่างดี แต่อากาศที่หนาวเย็นบวกกับความแล้ง ที่มีหมอกในตอนเช้า แดดแรงในตอนกลางวัน อากาศเย็นในตอนกลางคืน ระวังโรคพืชที่จะตามมาแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ทำให้ผลผลิตน้อย โตช้า
พบมาก : ในนาชลประทาน ภาคกลาง สาเหตุ : พบทุกภาคที่มีการระบาดของแมลงพาหะ อาการ : ข้าวเป็นโรคได้ตั้งแต่ระยะแตกกอจนถึงระยะตั้งท้อง ต้นข้าวที่เป็นโรคนี้ ใบแสดงอาการสีแสดจากปลายใบที่ใบล่าง และเป็นสีแสดทั่วทั้งใบยกเว้นเส้นกลางใบ ใบที่เป็นโรคจะม้วนจากขอบใบทั้งสองข้างเข้ามาหาเส้นกลางใบ และใบจะ