การจัดการการปนในข้าวแดงหอม (Red Hawm Rice)

เนื่องจากข้าวแดงหอมที่ปะปนไปกับผลผลิตข้าวขาว จะทำให้ข้าวขาวขาดมาตรฐานตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ที่กำหนดไม่ให้มีข้าวแดงปนในข้าวขาว 100% ชั้น 1 ชั้น 2 และ ชั้น 3 แม้แต่เมล็ดเดียว ดังนั้น กรมการข้าวจึงกำหนดมาตรการการปลูกข้าวแดงหอม ดังนี้

  1. ควรปลูกในพื้นที่เฉพาะที่กำหนดไว้เท่านั้น และไม่ควรปลูกใกล้เคียงกับแปลงปลูกข้าวขาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งใกล้กับพันธุ์ข้าวที่มีวันออกดอกต่างกันน้อยกว่า 15 วัน
  2. การปลูกข้าวควรมีการตรวจ และตัดข้าวปนออก ซึ่งสามารถกระทำได้ทุกระยะการเจริญเติบโต เพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของข้าวแต่ละพันธุ์
  3. ต้องทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องทุ่นแรง และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บเกี่ยว นวด ตาก ทำความสะอาด และการขนส่งทุกครั้ง เมื่อเปลี่ยนไปใช้กับข้าวพันธุ์อื่น
  4. ควรแยกเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวแดงได้โดยเฉพาะ
  5. ควรเป็นการผลิตแบบครบวงจรโดยมีการขึ้นทะเบียนผู้ปลูก และมีนักวิชาการด้านพันธุ์ข้าวคอยดูแล ให้คำแนะนำในขั้นตอนการผลิต

บทความที่เกี่ยวข้อง

วัชพืชเป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการปลูกอ้อยและส่งผลให้ผลผลิตของอ้อยลดต่ำลงเป็นอันมากรวมถึงการที่ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการกำจัดวัชพืชไม่ทันตามเวลา โดยความเสียหายจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของวัชพืชและอายุอ้อยในขณะนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอ้อยปลูกสำหรับอ้อยตอนั้น
เตรียมส่วนผสม ขั้นตอนที่ 1: ราบิวเวอเรีย 1 ก้อน ผสมกับกับน้ำ 2 ลิตร และน้ำยาล้างจาน 2 ช้อนชา (10 มิลลิลิตร) ขั้นตอนที่ 2 : ขยี้ให้สปอร์หลุดจากเมล็ดข้าว แล้วกรองผ่านผ้าขาวบาง เทใส่ลงในส่วนผสมในขั้นตอนที่ 1 จะได้สารละลายสีขาวขุ่น ขั้นตอนที่ 3 : เติมน้ำใส่ลงในส่วนผสมให้ครบ 20 ลิตร ขั้นตอนที่ 4
ควบคุมวัชพืช เพื่อป้องกัน ยับยั้ง หรือ ชะลอ การงอกของวัชพืชที่จะมีผลต่อต้นพืชก่อนที่จะถึงช่วงวิกฤติของการแข่งขัน การป้องกันโดยทำลายวัชพืชส่วนที่อยู่เหนือต้น คือ ใบ ต้น ดอก และส่วนที่อยู่ใต้ดิน เช่น ไหล เหง้า เมล็ด ให้หลุดจากดินตายไป ป้องกันการออกดอก เพื่อไม่ให้มีการแพร่พันธุ์ของวัชพืช ด้วยเทคนิค