การควบคุมแมลงศัตรูอ้อยโดยแมลงหางหนีบ (Earwig)

แมลงหางหนีบ (Earwig)

แมลงหางหนีบมีประมาณ 1,800 ชนิด มีลักษณะลำตัวยาวรี และค่อนข้างแบน มีชนิดที่เป็นตัวสีดำ และชนิดที่เป็นตัวสีน้ำตาล มีแพนหางเป็นรูปคีมใช้สาหรับการจับเหยื่อเพื่อการป้องกันตัว เพื่อสร้างรัง และเพื่อช่วยในการผสมพันธุ์ทั้งนี้ แมลงหางหนีบมีความยาวลำตัวจากหัวจรดแพนหางประมาณ 4-15 มิลลิเมตร อาจะพบแมลงหางหนีบได้ทั้งประเภทที่มีปีกและ  ไม่มีปีก โดยกลุ่มที่มีปีกนั้น ปีกคู่แรกจะหดเข้าไปอยู่สั้นกว่าลำตัว ปีกคู่หลังบางใส พับอยู่ใต้ปีกคู่หลัง

แมลงหางหนีบ เป็นกลุ่มที่ทำหน้าที่ในการย่อยสลายเศษซากพืช จึงมักพบแมลงหางหนีบอยู่ในที่ชื้นมืดและค่อนข้างอับ เช่นใต้เศษซากพืช เปลือกไม้ รวมทั้งในแปลงพืชไร่ชนิด ต่าง ๆ เช่นในไร่อ้อย ไร่ข้าวโพด และไร่ผัก โดยปกติแมลงหางหนีบจะออกหากินเฉพาะกลางคืน สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว และเป็นตัวหาที่กัดกินไข่ตัวหนอน และตัวอ่อนของสัตว์ต่าง ๆ ที่มีขนาดเล็ก สามารถนำมาเพาะเลี้ยงและผลิตขยายได้ง่าย รวมทั้งสามารถนำไปปล่อยในไร่อ้อยเพื่อให้ควบคุมตัวหนอนหนอนกออ้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ แมลงหางหนีบมีความสามารถในการเสาะหาเหยื่อตามซอกมุมได้ดี การทำลายเหยื่อที่เป็นหนอนโดยการใช้แพนหางซึ่งมีลักษณะคล้ายคีมหนีบลำตัวเหยื่อแล้วกินเป็นอาหาร แต่ถ้าเป็นเพลี้ยอ่อนจะกัดกินโดยตรง ดังนั้นแมลงหางหนีบจึงเป็นแมลงที่มีศักยภาพในการใช้เพื่อควบคุมหนอนกออ้อย

ลักษณะการทำลายศัตรูอ้อยของแมลงหางหนีบ

แมลงหางหนีบมีความสามารถในการเสาะหาเหยื่อตามซอกมุมได้เป็นอย่างดี ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยเป็นตัวหากินไข่ศัตรูพืชเป็นอาหาร โดยใช้แพนหางลักษณะคล้ายคีมหนีบลำตัว เหยื่อแล้วกัดกิน ถ้าเป็นไข่ศัตรูพืชหรือแมลงศัตรูพืชขนาดเล็ก เช่นเพลี้ยอ่อน แมลงหางหนีบจะกัดกินโดยตรง ทั้งนี้แมลงหางหนีบ 1 ตัวจะสามารถกินเหยื่อได้ประมาณ 20-30 ตัวต่อวัน ทั้งนี้ หากแมลงหางหนีบอิ่มแล้ว และยังเจอตัวหนอนจะใช้แพนหางหนีบจนกระทั่งตัวหนอนตายและจากไปโดยไม่กิน และจะหนีบต่อไปเรื่อย ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง

จุดกำเนิด ของการปลูกมันสำปะหลังเพื่อเลี้ยงโคนมในระบบอินทรีย์ของประเทศไทย เริ่มต้นจากกระแสการดูแลสุขภาพของคนทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น โดยเกษตรกรต้องการลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน แหล่งน้ำ และอากาศ รวมถึงการตอบแทนคุณแผ่นดินซึ่งเป็นที่ทำกินตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ
ข้าวอินทรีย์เป็นการผลิตทางการเกษตรที่เน้นเรื่องของธรรมชาติเป็นสำคัญ อีกทั้งยังสามารถอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ รวมถึงการรักษาสมดุลธรรมชาติอย่างยั่งยืนอีกด้วย คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ในทุกๆวันนี้โลกมีวิวัฒนาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากมาย ในขณะที่การใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชยั