การควบคุมแมลงศัตรูอ้อยโดยเชื้อราเมตาไรเซียม

การควบคุมแมลงศัตรูอ้อยโดยเชื้อราเมตาไรเซียม (ราเขียว)(Metarhizium anisopliae)

เป็นเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกับแมลงได้หลายชนิด ซึ่งขึ้นกับชนิดและสายพันธุ์ของเชื้อรา เมตตาไรเซียมด้วย ลักษณะโดยทั่วไปของเชื้อราเมตตาไรเซียม คือเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีสี เขียวหม่น สามารถมีชีวิตอยู่ในดินได้นาน เป็นเชื้อราที่ไม่ทำอันตรายต่อไส้เดือนฝอย สัตว์ต่างๆ และมนุษย์ 

ลักษณะของเชื้อราเมตาไรเซียมซึ่งเพาะเลี้ยงในถุง

ลักษณะเชื้อราเมตาไรเซียมบนอาหารเลี้ยงเชื้อรา

เชื้อราเมตตาไรเซียม Metarhizium anisopliae สามารถเข้าทำลายด้วงหนวดยาว ได้ทุกระยะ ตั้งแต่ระยะไข่ จนถึงตัวเต็มวัย และสามารถทำลายหนอนได้มากกว่า 90% จัดว่าเป็นเชื้อราที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมศัตรูพืชชนิดหนึ่ง

เมื่อเชื้อราเมตตาไรเซียมสัมผัสกับด้วงหนวดยาว เชื้อราจะเข้าทางผิวหนังและเข้าทำลายระบบ ภายในของด้วงหนวดยาว ทำให้กินอาหารไม่ได้ และจะแห้งตายภายใน 14 วัน

เชื้อราเมตาไรเซียมเจริญบนตัวหนอนและสร้างเป็นดอกเห็ดขึ้นมาให้เห็นได้
ตัวหนอนของด้วงหนวดยาวที่ตายจากการเข้าทำลายของเชื้อราเมตาไรเซียม
พบเป็นสีเขียวของเชื้อ

การผลิตขยายเชื้อราเมตาไรเซียม

สามารถผลิตขยายโดยใช้เมล็ดข้าวโพดหรือใช้เมล็ดข้าวสุก การนาไปใช้ในสภาพไร่ มี 2 วิธี คือ

1. วิธีการราด โดยนำข้าวที่มีสปอร์ของเชื้อราเมตตาไรเซียมขึ้นปกคลุม จำนวน 2.5 กก. ผสมน้ำสะอาด จำนวน 100 ลิตร ผสมสารจับใบลงไปเล็กน้อย ใช้ไม้คนจนสปอร์หลุดจากเมล็ดข้าวสุก กรองด้วยผ้าขาวบาง เพื่อเอาเมล็ดข้าวออก นำไปราดตามร่องปลูกอ้อย แล้วกลบดินทันที

2. วิธีการโรยเชื้อ นำข้าวที่มีสปอร์ของเชื้อราโรยลงในร่องปลูกอ้อย โดยโรยให้ต่างๆ เนื่องจากสปอร์ของเชื้ออราอาจ ฟุ้งกระจายได้ แล้วให้กลบทันที ใช้เชื้อราเมตตาไรเซียม อัตรา 40 กก./ไร่

บทความที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะเด่น มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตที่อายุ 8 เดือน ผลผลิตหัวสดสูงเฉลี่ย 4,632 กิโลกรัม/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ระยอง 5,ระยอง 7 ,ระยอง 72 และเกษตรศาสตร์ 50คิดเป็นร้อยละ 10, 18, 5 และ 4 ตามลาดับ เมื่ออายุ 8 เดือน เปอร์เซ็นต์แป้งสูงเฉลี่ย 29.2 สูงกว่าพันธุ์ระยอง 5 ,ระยอง 7 และระยอง 72คิดเป็น