กลิ่นสับปะรดในอ้อย

ชื่อสามัญ   Pineapple disease

สาเหตุ  เชื้อรา Ceratocystis paradoxa 

อาการ : เป็นโรคที่เกิดกับท่อนพันธุ์ ทำให้ท่อนพันธุ์มีความงอกต่ำ หน่ออ้อยไม่เจริญเติบโต ผ่าลำดู  จะเป็นสีแดงเข้มสลับดำมีกลิ่นเหม็นคล้ายสับปะรด

วิธีการแพร่ระบาด : เชื้อราในดินจะเข้าทำลายทางตามรอยแผล และด้านตัดของท่อนพันธุ์ ต้นอ้อยแก่ก็อาจเป็นโรคโดยติดเชื้อจากดินหรือลมเมื่อนำไปทำพันธุ์จะติดโรคไปกับท่อนพันธุ์ อ้อยก็จะไม่งอก

วิธีการป้องกันรักษา :

เตรียมแปลงปลูกอ้อยให้เหมาะสม อย่าให้แปลงแล้งจัด น้ำขัง หรือแปลงร่มจนเกินไป เพราะถ้าอ้อยงอกช้า เชื้อโรคมีโอกาสเข้าทำลายท่อนพันธุ์ได้นานและมากขึ้น ท่อนพันธุ์ที่นำมาปลูกควรเป็นท่อนพันธุ์ที่สมบูรณ์ แข็งแรง งอกได้เร็ว และไม่ใช้อ้อยแก่จัดเกินกำหนดไปทำท่อนพันธุ์ การแช่ท่อนพันธุ์ในน้ำร้อน 50 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมง ทำให้ท่อนพันธุ์งอกช้าจึงควรแช่ท่อนพันธุ์ในสารเคมีฆ่าเชื้อราก่อนปลูก หรือพ่นสารเคมีหลังปลูกก่อนกลบดิน

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการแพร่ระบาด เตรียมแปลงปลูกอ้อยให้เหมาะสม อย่าให้แปลงแล้งจัด น้ำขัง หรือแปลงร่มจนเกินไป เพราะถ้าอ้อยงอกช้า เชื้อโรคมีโอกาสเข้าทำลายท่อนพันธุ์ได้นานและมากขึ้น ท่อนพันธุ์ที่นำมาปลูกควรเป็นท่อนพันธุ์ที่สมบูรณ์ แข็งแรง งอกได้เร็ว และไม่ใช้อ้อยแก่จัดเกินกำหนดไปทำท่อนพันธุ์ การแช่ท่อนพันธุ์ในน้ำร้อน 50 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมง ทำให้ท่อนพันธุ์งอกช้าจึงควรแช่ท่อนพันธุ์ในสารเคมีฆ่าเชื้อราก่อนปลูก หรือพ่นสารเคมีหลังปลูกก่อนกลบดิน

พาหะนำโรค  :  ท่อนพันธุ์ที่เป็นโรค    ดิน    ลม 

ปัจจัยที่ส่งเสริมการแพร่  :   แปลงปลูกมีน้ำขังระบายน้ำไม่ดี     แปลงร่ม(แดดส่องไม่ถึงโคน) 

สารเคมีที่ใช้ป้องกันและวิธีการใช้ 

  • โปรพิโคนาโซล-แช่ท่อนพันธุ์ในสารเคมีอัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 30  นาทีก่อนปลูก
  • บีโนมิล (เบนโนมิล)-แช่ท่อนพันธุ์ในสารเคมีอัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 30 นาทีก่อนปลูก
  • ไบลีตัน-แช่ท่อนพันธุ์ในสารเคมีอัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 30 นาทีก่อนปลูก

บทความที่เกี่ยวข้อง

เนื่องจากข้าวแดงหอมที่ปะปนไปกับผลผลิตข้าวขาว จะทำให้ข้าวขาวขาดมาตรฐานตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ที่กำหนดไม่ให้มีข้าวแดงปนในข้าวขาว 100% ชั้น 1 ชั้น 2 และ ชั้น 3 แม้แต่เมล็ดเดียว ดังนั้น กรมการข้าวจึงกำหนดมาตรการการปลูกข้าวแดงหอม ดังนี้ ควรปลูกในพื้นที่เฉพาะที่กำหนดไว้เท่านั้น และไม่ควรปลูกใกล้เคียง
ควบคุมวัชพืช เพื่อป้องกัน ยับยั้ง หรือ ชะลอ การงอกของวัชพืชที่จะมีผลต่อต้นพืชก่อนที่จะถึงช่วงวิกฤติของการแข่งขัน การป้องกันโดยทำลายวัชพืชส่วนที่อยู่เหนือต้น คือ ใบ ต้น ดอก และส่วนที่อยู่ใต้ดิน เช่น ไหล เหง้า เมล็ด ให้หลุดจากดินตายไป ป้องกันการออกดอก เพื่อไม่ให้มีการแพร่พันธุ์ของวัชพืช ด้วยเทคนิค