สูตรเด็ดพิชิตเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (สูตรอาจารย์ทองเหมาะ)

พี่เกษตรกรชาวนาบ่นมาว่า เพลี้ยระบาด คราวนี้จึงนำเสนอสูตรเด็ดเคล็ดไม่ลับ ไม่ต้องซื้อสารเคมี แต่ได้ผลอย่างมหัศจรรย์ แค่ต้องลงมือทำนิดนึง สูตรนี้ได้มาจากเกษตรกรคนเก่ง อาจารย์ทองเหมาะ แจ่มแจ้ง แห่งสุพรรณบุรี

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นแมลงจำพวกปากดูด ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลปนดำ มีรูปร่าง 2 ลักษณะ คือ ชนิดปีกยาวสามารถเคลื่อนย้ายและอพยพไปในระยะทางใกล้และไกลโดยอาศัยกระแสลมช่วย ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่เป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่วางไข่ที่กาบใบข้าว หรือเส้นกลางใบ โดยวางไข่เป็นกลุ่ม เรียงแถวตามแนวตั้งฉากกับกาบใบข้าว บริเวณที่วางไข่จะมีรอยช้ำเป็นสีน้ำตาล ไข่มีลักษณะรูปกระสวยโค้งคล้ายกล้วยหอม มีสีขาวขุ่น ตัวอ่อนมี 5 ระยะ ระยะตัวอ่อน 16-17 วัน ตัวเต็มวัยเพศเมียชนิดปีกยาวมีขนาด 4-4.5 มิลลิเมตร วางไข่ประมาณ 100 ฟอง เพศเมียชนิดปีกสั้นวางไข่ประมาณ 300 ฟอง ตัวเต็มวัยมีชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์ ในหนึ่งฤดูปลูกข้าวเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 อายุขัย 

ส่วนประกอบสำคัญ

1. น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม

2. น้ำมะพร้าว 3 ลิตร

3. เหล้าขาว 2 ขวด (ขวดใหญ่)

4. พริกไทยดำ 2 – 3 ขีด

วิธีการทำ

– นำพริกไทยดำมาโขลกให้ละเอียด

– ผสมน้ำตาลทรายแดง น้ำมะพร้าว น้ำส้มสายชู เหล้าขาว ในถังขนาด 20 ลิตร คนให้เข้ากันจากนั้นก็เติมพริกไทยดำที่โขลกเรียบร้อยแล้วลงไปปิดฝาถังหมัก หมักทิ้งไว้ 7 วัน ก็สามารถนำไปใช้ได้โดยกรองเอาเฉพาะน้ำ

วิธีการใช้

นำไปฉีดพ่นในพื้นที่ที่เกิดโรคโดยใช้ในอัตราส่วนน้ำหมัก 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยควรทำการฉีดพ่นในช่วงเช้าก่อนมีแดด 

วิธีการใช้พืชสมุนไพรนี้เป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะเป็นการป้องกันกำจัดแมลงโดยใช้ค่าใช้จ่ายน้อย ปลอดภัยต่อตนเอง และสิ่งแวดล้อมด้วย แต่การเริ่มต้นที่ดีก็สำคัญ กล่าวคือ เพลี้ยกระโดดสามารถป้องกันการระบาดได้ด้วยการทำการเกษตรอินทรีย์เลิกใช้สารเคมี ต้นข้าวจะแข็งแรงเพลี้ยมาเกาะก็ไม่สามารถสร้างความเสียหายได้ 

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : มอดดิน (Ground Weevil) รูปร่างลักษณะ : ตัวเต็มวัยของมอดดินเป็นด้วงงวงขนาดเล็ก เป็นแมลงปีกแข็ง ลำตัวป้อม ผิวขรุขระมีสีดำปนน้ำตาล และเทา มีขนาดความกว้างของลำตัวเฉลี่ยประมาณ 2.2 มิลลิเมตร ความยาวเฉลี่ย 3.5 มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่ในดินบริเวณที่มีต้นพืช ไข่มีลักษณะกลมรี
นายมูล สุขเจริญ อายุ 56 ปี เกษตรกรในอำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา อดีตสมาชิก อบต. ทำการเพาะปลูกมาแล้วไม่ต่ำกว่า 25 ปี ปัจจุบันพื้นที่ปลูกอ้อยของตนเองกว่า 700 ไร่ และพื้นที่ของลูกไร่ประมาณ 40 คน ในพื้นที่ 1,500 ไร่ โดยมีโควต้าอ้อยต่อปีกว่า 18,000 ตัน การดูแลอ้อยในพื้นที่ของตัวเอง รวมทั้งพื้นที่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leptocorisa acuta (Thunberg) Leptocorisa oratorius (Fabricius) วงศ์ : Alydidae อันดับ : Hemiptera ชื่อสามัญอื่น