ปลูกข้าวไม่ง้อปุ๋ยเคมี ข้าวงามดี มีกำไร

ในปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมี ซึ่งทำให้เกิดต้นทุนในการผลิตสูง แต่ก็มีเกษตรกรหลายรายหันกลับมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองในนาข้าว โดยอาศัยหลักการพึ่งพากันของธรรมชาติ เกิดองค์ความรู้จากการสังเกตว่า พืชผักใบเขียวในส่วนยอดอ่อนๆ จะมีฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตอยู่ในปริมาณมาก เมื่อนำมาหมักให้เกิดการย่อยสลาย จะทำให้ได้ปุ๋ยชีวภาพที่มีทั้งแร่ธาตุอาหารพืช และฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโต เมื่อใช้สูตรพืชหมักสีเขียวในช่วงการเจริญเติบโตก่อนออกรวง จะทำให้ข้าวในนาของตนงอกงาม แข็งแรง ต้านทานโรคโดยมีขั้นตอนไม่ยุ่งยากดังนี้

การทำน้ำหมักชีวภาพจากพืชสีเขียวกระตุ้นการเจริญเติบโตก่อนข้าวออกรวง

ส่วนผสมที่ต้องเตรียม

          1. พืชตระกูลผักสีเขียว เช่น ผักบุ้ง, ผักกะหล่ำ และผักต่างๆ   3   กิโลกรัม

          2. พืชตระกูลหญ้า เช่น หน่อไม้อ่อน   2  กิโลกรัม

          3. หน่อกล้วย หรือต้นกล้วย     2   กิโลกรัม

          4. พืชตระกูลถั่ว เอาทั้งราก ต้น ใบ   2  กิโลกรัม

          5. กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง   3  กิโลกรัม

          6. น้ำ (กรณีเลือกทำแบบสูตรน้ำ)   20  ลิตร

การทำน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้เพื่อเพิ่มคุณภาพเมล็ดข้าว

ส่วนผสมที่ต้องเตรียม

           1. ฟักทองแก่   2   กิโลกรัม

           2. มะละกอสุก   2   กิโลกรัม

           3. กล้วยน้ำว้าสุก   2  กิโลกรัม

           4. ผลไม้สุกชนิดอื่นๆ   3  กิโลกรัม

           5. กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง   3  กิโลกรัม

           6. น้ำ (กรณีเลือกทำแบบสูตรน้ำ)  20  ลิตร

ตารางการทำน้ำหมักชีวภาพ

วิธีการหมักน้ำหมักชีวภาพ
1. หั่นพืชทุกชนิดให้มีความยาวประมาณ 1 – 2 นิ้ว เพื่อให้ย่อยสลายได้เร็วขึ้น

2. นำไปใส่ถังหมัก (สูตรแห้งหรือสูตรน้ำแล้วแต่การเลือกใช้) 

สูตรแห้ง นำพืชที่หั่นไว้ใส่ลงในถังแล้วคลุกเคล้าด้วยกากน้ำตาล และ พด.2

สูตรน้ำ นำกากน้ำตาลใส่ลงในถังแล้วใส่น้ำลงไป จากนั้นจึงนำเศษพืชใส่ลงไป คนให้เข้ากันดี

ในการหมักน้ำหมักหากใส่สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 กรมพัฒนาที่ดินแจกฟรี ร่วมด้วย 1 ซอง (25 กรัม) จะทำให้น้ำหมักชีวภาพย่อยสลายได้ดี และรวดเร็วขึ้น อีกทั้งมีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย 

3. ใช้ไม้ไผ่มาผ่าและสานเป็นตารางห่างๆ เพื่อทับให้เศษพืชที่หมักจมลงในน้ำ ปิดฝาถังแล้วนำไปวางไว้ในที่ร่ม ไม่ให้ถูกแดดหรือฝน

4. หมักทิ้งไว้ประมาณ 7 – 15 วันก็สามารถกรองเอาน้ำหมักไปใช้ได้

5. หากมีกลิ่นเหม็น หรือบูดเน่าให้เติมกากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดงลงไป แล้วคนให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้  3-7 วัน กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นบูดเน่าจะหายไป เป็นกลิ่นคล้ายๆ น้ำส้มสายชู

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประเทศไทยมีพื้นที่ผลิตถั่วเขียวประมาณ 829,145 ไร่ มีความต้องการเมล็ดพันธุ์ 4,146 ตัน แต่รัฐผลิตได้ 617 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ของความต้องการเมล็ดพันธุ์ทั้งประเทศ ตั้งแต่ปี 2557 เกิดปัญหาฝนแล้งทำให้เกษตรกรไม่สามารถทำนาปรังได้ ประกอบกับนโยบายแทรกแซงราคาข้าวสิ้นสุดลง เกษตรกรจึงหันมาปลูกถั่วเขียวแทน
หนอนกออ้อย (Sugarcane Borer) อาจจะเรียกว่าหนอนเจาะหน่ออ้อย หรือหนอนเจาะลำต้นอ้อย หมายถึง แมลงในระยะตัวอ่อนที่อาศัยกัดกินอยู่ภายในหน่ออ้อยหรือลำต้นอ้อย ทำให้ไส้กลวงหรือเกิดเป็นแผลภายใน หากมองจากด้านนอกจะเห็นว่ายอดเหี่ยวและแห้งตาย ในประเทศไทยมีหนอนกออ้อยอยู่ 5 ชนิด คือ 1. หนอนกอลายจุด