ปลูกกระชาย ทางรอดเกษตรกรยุคโควิด-19

 กระชาย คือ พืชที่ไทยได้รับอิทธิพลมาจากการค้าขายของจีน ซึ่งในต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้ล้มลุก ไม่มีลำต้นบนดิน มีเหง้าใต้ดินซึ่งแตกรากออกไปเป็นจำนวนมาก เหง้ากระชายมีน้ำมันหอมระเหยและมีสารสำคัญหลายชนิดสะสมอยู่ซึ่งมีสรรพคุณทางยาสมุนไพร ต่อมาไทยก็ได้นำเข้ามาปลูกและเป็นหนึ่งในพืชสมุนไพรที่ได้รับความนิยม นอกรสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ กระชายขาวยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงร่างกายอีกด้วย 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

กระชายเป็นพืชไม้ล้มลุกขนาดเล็กมีใบและลำต้นเล็กน้อย ไม่ได้เก็บสารอาหารไว้ที่ผล ลำต้น หรือใบ แต่จะเก็บพลังงานทั้งหมดไว้ที่รากหรือเหง้าเป็นหลัก กระชายขาว จึงเป็นพืชที่เน้นการเจริญเติบโตของราก โดยรากจะแตกออกเป็นกลุ่มจำนวนมาก มีลักษณะรากที่หนา อวบอิ่มน้ำมากกว่ารากทั่วไป มีรากฝอยเล็กน้อยไว้เพื่อหาอาหาร ส่วนของใบกระชายขาว เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่ใบจะออกสลับกัน ตรงกลางของใบมีร่องลึก แซมด้วยดอกช่อที่ขึ้นบริเวณโคนกิ่งก้าน ดอกมีสีชาวอมชมพูขนาดเล็ก

การปลูกกระชายขาว

1. การเตรียมพันธุ์

เป็นการปลูกด้วยเหง้าที่มีอายุ 8 เดือนขึ้นไป และต้องมีรากกระชายอยู่ 2 – 3 ราก/เหง้า

2. การเตรียมแปลงปลูก

โดยปลูกในดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์สูง กระชายเป็นพืชที่ชอบสภาพแสงรำไร ดังนั้นการปลูกกระชายส่วนใหญ่จะต้องปลูกภายใต้ร่มเงาของไม้อื่น ให้ทำการไถพรวนและขุดหลุมปลูกเป็นแถว

3. การปลูก

การปลูกเว้นระยะระหว่างแถวและต้น 30 x 30 ซม. ส่วนการปลูกเป็นการค้าจะปลูกกลางแจ้งในเขตชลประทานหรือสามารถให้น้ำได้ ไถพรวนดินและยกร่องปลูกกว้าง 80 – 120 ซม. ใช้ระยะปลูกระหว่างแถวและต้น 25 – 30 ซม. ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปลูกแล้วใช้ฟางคลุมรักษาความชื้นของดิน 

4. การดูแลรักษา

โดยรดน้ำทุก 2 – 3 วัน/ครั้ง กำจัดวัชพืชให้แปลงสะอาด เมื่อกระชายเริ่มงอกที่ลำต้นมีความยาว                5-10 เซนติเมตร ให้ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต 50 กก./ไร่และใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ อัตรา 30 กก./ไร่ เมื่ออายุประมาณ 3 เดือนหลังปลูก

5. โรคและการป้องกันกำจัด

โรคพืชที่พบในกระชายขาว ได้แก่ โรคเน่า โรคนี้จะระบาดในดินที่เป็นกรด ดินที่มีการใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ในปริมาณมาก และในดินที่ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ แต่กระชายขาว เป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตในดินเป็นหลัก เพราะฉะนั้นการสังเกตว่าพืชนั่นสมบูรณ์หรือไม่ จึงเป็นเรื่องยาก เราควรเพื่อป้องกันก่อนที่จะเกิดโรคเน่าในดิน โดยหลีกเลี่ยงปลูกกระชายซ้ำที่เดิมเป็นเวลาหลายปี ก่อนปลูกควรแช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อรา และควรมีการปรับปรุงดินด้วยปูนขาว ในอัตรา 200 – 300 กิโลกรัมต่อไร่ และไม่ควรนำท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคมาปลูก

6. การเก็บเกี่ยว

เริ่มเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 7-8 เดือน หรือสังเกตจากใบ และลำต้นมีลักษณะสีเหลืองและจะยุบตัวลง การเก็บเกี่ยวโดยใช้มือถอนหรือจอบขุด แต่ควรทำขณะดินมีความชื้น ถ้าดินแห้งควรรดน้ำก่อน เพื่อลดความเสียหายในขณะเก็บเกี่ยว แล้วนำมาล้างน้ำทำความสะอาด ถ้าต้องการขยายช่วงเวลาเก็บเกี่ยวให้นานขึ้นหรือไว้ทำพันธุ์จะต้องคลุมฟางและรดน้ำเป็นครั้งคราวเพื่อรักษาความชื้นของดินให้เหง้าและรากกระชายไม่ฝ่อในช่วงแล้ง

ประโยชน์และสรรพคุณ

ประโยชน์  กระชายมีคุณสมบัติบำรุงร่างกาย มีรสชาติเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอมระเหยอ่อนๆ ที่สำคัญยังเต็มไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด

สรรพคุณ เหง้าและรากใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง แก้บิด แก้โรคกระเพาะ แก้ลำไส้ใหญ่อักเสบ ยาบำรุงหัวใจ แก้ใจสั่น บำรุงกำหนัด ลดน้ำตาลในเลือด ยารักษาริดสีดวงทวาร ยาแก้ไอ แก้แผลในปาก (ปากเปื่อย ปากแตกเป็นแผล) ยาอายุวัฒนะ มีรสเผ็ดร้อนขม กลิ่นหอมฉุนเฉพาะตัว

บทความที่เกี่ยวข้อง

การผลิตขยายอ้อยพันธุ์ดีให้มีประสิทธิภาพที่สามารถให้ผลผลิตได้อย่างเต็มศักยภาพนั้น ปัจจัยแรกที่สำคัญที่สุดคือการเลือกใช้พันธุ์อ้อยให้เหมาะสมกับพื้นที่ โดยมีหลักการของการคัดเลือกพันธุ์อ้อยให้เหมาะสมกับพื้นที่ดังนี้ 1. เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงและมีคุณภาพ ความหวานสูง ซึ่งโดยควรมีค่าซีซีเอส. สูงกว่า
หลายท่านคงมีข้อสงสัยกับคำถามนี้ อันที่จริงแล้วปัญหาข้าวล้ม มีสาเหตุมาจากหลายประการ ตั้งแต่ 1. พันธุ์ข้าว พันธุ์ที่มีต้นสูงจะมีโอกาสล้มได้ง่ายกว่าพันธุ์ต้นเตี้ย 2. มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป และใส่ไม่ถูกช่วงเวลา ปุ๋ยไนโตรเจนมีผลต่อผลผลิตของข้าว แต่ถ้าใส่มากเกินไปจะเป็นการเพิ่มความสูงของต
ชื่อสามัญ Pineapple disease สาเหตุ เชื้อรา Ceratocystis paradoxa อาการ : เป็นโรคที่เกิดกับท่อนพันธุ์ ทำให้ท่อนพันธุ์มีความงอกต่ำ หน่ออ้อยไม่เจริญเติบโต ผ่าลำดู จะเป็นสีแดงเข้มสลับดำมีกลิ่นเหม็นคล้ายสับปะรด วิธีการแพร่ระบาด : เชื้อราในดินจะเข้าทำลายทางตามรอยแผล และด้านตัดของท่อนพันธุ์ ต้นอ้อยแก่