ชุดดินโคราช

ชุดดินในที่ดอนที่สำคัญ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

5. ชุดดินโคราช (โคราช series : Kt)

กลุ่มชุดดินที่ 35

การกำเนิด : เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ/หรือเคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางไม่ไกลนักของหินตะกอนเนื้อหยาบพวกหินทรายบริเวณพื้นที่เกือบราบหรือที่เกือบราบ (peneplain)

สภาพพื้นที่  ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 2-12 %

การระบายน้ำ : ดี

การซึมผ่านได้ของน้ำ : เร็ว

การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ปานกลาง

ลักษณะสมบัติของดิน : เป็นดินลึก ดินบนเป็นทรายปนดินร่วนถึงดินร่วนปนทราย สีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลปนแดงเข้ม ดินล่างเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย สีแดงปนเหลืองหรือแดงลึกลงไปเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย สีแดงหรือแดงเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง (pH 5.5-7.0) ในดินบน และเป็นกรดจัดมาก (pH 4.5-5.0) ในดินล่าง

การแพร่กระจาย : พบมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ที่ดินในการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ มันสำปะหลัง และอ้อยเป็นต้น

ปัญหาและข้อจำกัด : ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ ดินค่อนข้างเป็นทราย และมีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ อาจขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง

ข้อเสนอแนะ :  เหมาะสมสำหรับปลูกพืชไร่ ไม้ผลและไม้ยืนต้น แต่ควรมีการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดินให้มีความสามารถในการอุ้มน้ำดีขึ้นควรจัดหาแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของพืช

สมบัติทางเคมี :

บทความที่เกี่ยวข้อง

มวนง่าม Tetroda denticulifera (Berg) วงจรชีวิตมี 3 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อน และระยะตัวเต็มวัย
เป็นกระแสรุนแรง สำหรับค่าฝุ่นละอองของประเทศไทยในช่วงนี้ เราได้ยินคำว่า PM 2.5กันทุกวัน ทำให้คนไทยมีความตระหนักถึงอันตรายของฝุ่นละออง PM 2.5กันมากขึ้น ความหมายของ PM คือ Particulate Matter ฝุ่นละอองที่ลอยฟุ้งอยู่ในอากาศ เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เทียบง่ายๆ คือมลพิษฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า
เมล็ดที่มีการฟักตัว คือ เมล็ดที่มีชีวิตแต่ไม่งอก แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ระยะฟักตัวหาได้จากจำนวนวันหลังจากเก็บเกี่ยว ถึงวันที่เมล็ดงาน 80% โดบนับทั้งต้นอ่อนสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ ระยะฟักตัวของข้าวแตกต่างกันไปตามพันธุ์