ชุดดินร้อยเอ็ด

ชุดดินในที่ลุ่มที่สำคัญ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

3. ชุดดินร้อยเอ็ด (Roi-et series : Re)

กลุ่มชุดดินที่ 17

การกำเนิด : เกิดจากตะกอนของหินตะกอนเนื้อหยาบชะมาทับถมบนพื้นผิวของการเกลี่ยผิวแผ่นดินบริเวณพื้นที่เกือบราบหรือที่ราบ

สภาพพื้นที่ : ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 %

การระบายน้ำ : ค่อนข้างเลว

การซึมผ่านได้ของน้ำ : ปานกลางถึงช้า

การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ช้า

ลักษณะสมบัติของดิน : เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทรายปนดินร่วน สีน้ำตาลปนเทาหรือสีน้ำตาล ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายหรือดินร่วนปนทราย  อาจพบชั้นดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินเหนียว สีเทาปนน้ำตาลอ่อนหรือเทาปนชมพู พบจุดประสีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีน้ำตาลปนแดงตลอด ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.0-6.5) ในดินบนและเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 4.5-6.5) ในดินล่าง

การแพร่กระจาย : พบมากบริเวณที่ราบลุ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี และนครราชสีมา ใช้ประโยชน์ที่ดินสำหรับการปลูกข้าว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ปัญหาและข้อจำกัด : เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ เสี่ยงต่อการขาดน้ำในฤดูเพาะปลูก

ข้อเสนอแนะ : เนื่องจากวัตถุต้นกำเนิดดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เป็นวัสดุที่มีเนื้อค่อนข้างหยาบ ดินที่เกิดขึ้นจึงมีเนื้อดินเป็นพวกดินทรายหรือดินร่วนหยาบ ส่วนใหญ่เป็นการทำการเกษตรแบบอาศัยน้ำฝน หากใช้ทำนาควรมีการชลประทานเข้าช่วยและมีการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยการใส่พืขปุ๋ยสด ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้น ถ้าปลูกพืชโดยอาศัยน้ำฝน ควรเลือกระยะเวลาปลูกที่เหมาะสมเพื่อลดอัตราเสี่ยงของการขาดแคลนน้ำ

สมบัติทางเคมี

บทความที่เกี่ยวข้อง

น้ำหมักชีวภาพ เป็นของเหลวซึ่งได้จากการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากพืชหรือสัตว์ที่มีลักษณะสดอวบน้ำหรือมีความชื้นสูงโดยอาศัยกิจกรรมของจุลินทรีย์ ทั้งในสภาพที่มีออกซิเจนและมีออกซิเจนน้อย ทำให้ได้ฮอร์โมนหรือสารเสริมการเจริญเติบโตของพืช เช่น ออกซิน จิบเบอเรลลิน และไซโดไคนิน รวมทั้งกรดอินทรีย์หลายชนิด
สมบัติของดินที่เหมาะสม – ดินร่วน ดินร่วนเหนียว ดินเหนียว หรือดินร่วนเหนียวปนทราย – มีการระบายน้ำ และถ่ายเทอากาศดี – ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง – ค่าความเป็นกรด – ด่าง 5.5 – 7.0 (ถั่วเหลือง ถั่วเขียว) และ 5.5 – 6.0 (ถั่วลิสง)
การไถกลบตอซังเพื่อปรับปรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าว ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 65 ล้านไร่ ได้ผลผลิตข้าว 24 ล้านตัน มีฟางข้าวเฉลี่ยประมาณปีละ 25.45 ล้านตัน และมีปริมาณตอซังข้าวที่ตกค้างอยู่ในนาข้าว 16.9 ล้านตันต่อปี ดังนั้นจึงนับได้ว่ามีปริมาณฟางข้าว และตอซังข้าวมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับตอซัง