ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 84-1

ประวัติ

ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 84-1 ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ในระหว่างปี พ.ศ.2544-2551 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท เพื่อให้ได้ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมที่มีผลผลิตสูง และมีความเหนียวนุ่ม เกิดจากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้ F4305 กับสายพันธุ์แท้ M80 ผ่านการประเมินผลผลิตพันธุ์ลูกผสมตามขั้นตอนของกรมวิชาการเกษตร จากการพัฒนาพันธุ์ดังกล่าวได้ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมสายพันธุ์ดีเด่น และได้รับการพิจารณาให้เป็นพันธุ์รับรองในปี 2554 โดยใช้ชื่อ “ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 84-1”

ลักษณะเด่น

ผลผลิตทั้งเปลือกเฉลี่ย 1,731 กิโลกรัมต่อไร่ มีคุณภาพการบริโภคเหนียวนุ่ม ปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อม

ลักษณะประจำพันธุ์

  รากค้ำจุน ลำต้น และเปลือกหุ้มฝัก มีสีเขียวปนม่วงแดง เส้นไหมสีชมพู ไม่มีหูใบ วันออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์ 41-42 วัน วันออกไหม 50 เปอร์เซ็นต์ 42-43 วัน เมล็ดสีขาว อายุเก็บเกี่ยว 60-62 วัน ขนาดฝัก (กว้าง x ยาว) 4.5 x 17.9 เซนติเมตร จำนวนแถว 12-14 แถว ความสูงต้น 202 เซนติเมตร ความสูงฝัก 112 เซนติเมตร

พื้นที่แนะนำ

ปลูกได้ทั่วไปในพื้นที่ที่สามารถให้น้ำชลประทานได้ตลอดฤดูปลูก

ข้อควรระวัง

เป็นพันธุ์ที่ไม่ต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง และโรคทางใบที่สำคัญ เช่น โรคใบไหม้แผลใหญ่ โรคใบด่างจากเชื้อไวรัส หากมีการระบาดควรป้องกันกำจัดตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถั่วลิสงเป็นพืชตระกูลถั่วที่ให้ประโยชน์ทั้งเป็นพืชบำรุงดิน และขายเป็นรายได้สำหรับเกษตรกร นำมาปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าวได้ทั้งในพื้นที่อาศัยน้ำชลประทานและไม่อาศัยน้ำชลประทาน แต่การปลูกถั่วลิสงหลังเก็บเกี่ยวข้าวโดยไม่อาศัยน้ำชลประทานสามารถทำได้ในบางพื้นที่เท่านั้น 1. การเลือกพื้นที่ปลูก พื้นที่ทำนา
ชุดดินที่สำคัญที่ใช้ปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน ภาคใต้ 8 ชุดดินท่าแซะ (Tha Saeseries : Te) กลุ่มชุดดินที่ 34 การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำพาบริเวณตะพักลำน้ำ สภาพพื้นที่ : ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 2-12 % การระบายน้ำ : ดี การซึมผ่านได้ของน้ำ : ปานกลางถึงเร็ว
ในระหว่างการเก็บเกี่ยว การขนส่ง การเก็บรักษา และการวางจําหน่ายข้าวโพดฝักอ่อน จะเกิดการสูญเสียน้ำมาก ทำให้ฝักเหี่ยวเป็นสีน้ำตาล น้ำหนักลดลง เมื่อเก็บไว้นานความหวานจะลดลง อาการฝักเน่าและบวมจะปรากฏมากขึ้น การปอกเปลือกข้าวโพดฝักอ่อนถ้าไม่มีความชํานาญจะทําให้ฝักอ่อนเกิดบาดแผลหรือ เกิดอาการช้ำได้