การเลือกชนิดพืชปลูกให้เหมาะสมกับระดับความเค็มของดิน

การปลูกพืชในพื้นที่ดินเค็มควรเลือกชนิดพืชให้เหมาะสม เนื่องจากพืชแต่ละชนิดทนเค็มได้ไม่เท่ากัน สำหรับการจัดการดินเค็มเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจทนเค็ม ควรปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ เช่น แกลบดิบ ขี้เถ้าแกลบ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสด การให้น้ำควรให้แบบระบบน้ำหยด จะช่วยควบคุมความชื้นดินและความเค็มของดิน หลังปลูกต้องคลุมดินเพื่อรักษาความชื้น และป้องกันการสะสมของเกลือที่ผิวดิน ชนิดพืชที่สามารถปลูกได้ในระดับความเค็มต่างๆของดินดังนี้

1.  ดินเค็มน้อย พืชที่เจริญเติบโตได้ดี เช่น ถั่วฝักยาว คื่นฉ่าย มะเขือ แตงกวา แตงไทย กล้วย มะนาว ส้ม มะม่วง ถั่วเขียว ถั่วลิสง งา เป็นต้น

2.  ดินเค็มปานกลาง พืชเหมาะสมที่จะปลูกได้ เช่น ข้าว หอมแดง พริก ผักกาดหอม ข้าวโพดหวาน หอมใหญ่ น้ำเต้า บวบ บรอคโคลี่ แตงโม ชมพู่ แค และ ทับทิม เป็นต้น

3.  ดินเค็มมาก มีพืชทนเค็มเท่านั้นที่เจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ เช่น มะเขือเทศ ผักโขม ผักกาดหัว  แคนตาลูป ขี้เหล็ก กระถินณรงค์ ฝรั่ง ยูคาลิปตัส หญ้ากินนี เป็นต้น

4.  ดินเค็มจัด พืชทนเค็มจัดบางชนิดที่เจริญเติบโตได้ เช่น หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า กะเพรา มะขาม มะพร้าว มะขามเทศ และ ละมุด

ระดับความเค็มของดินกับการตอบสนองของพืช

บทความที่เกี่ยวข้อง

เชื้อสาเหตุของโรคใบขาว โรคใบขาวของอ้อยเกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา ซึ่งเป็นเชื้อที่ต้องเจริญเติบโตอยู่ในต้นอ้อยหรือในแมลงพาหะเท่านั้น โดยเชื้อจะอยู่ภายในท่ออาหารของอ้อย ซึ่งอ้อยเจริญเติบโตไปได้เพียงใด เชื้อสาเหตุของโรคสามารถเพิ่มปริมาณไปได้ไกลเท่ากัน แมลงพาหะถ่ายทอดเชื้อ แมลงพาหะที่สามารถถ่ายทอดเชื้อไฟโต
ข้าวพันธุ์ กข 79 ได้รับรองพันธุ์เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 และอยู่ระหว่างการขยายพันธุ์เพื่อให้ได้จำนวนเมล็ดพันธุ์ข้าว รองรับพื้นที่เพาะปลูกจำนวน 500,000 ไร่ ในปี 2563 กรมการข้าวจึงปรับแผนที่จะนำเมล็ดพันธุ์ กข79 จำนวนหนึ่งมาใช้ในโครงการนำร่องการผลิตและตลาดข้าวนุ่มครบวงจรในพื้นที่เขตชลประทาน