การบริหารจัดการไร่อ้อยแบบครบวงจร สำหรับเกษตรกรรายย่อยที่รวมกลุ่มกันใช้เครื่องจักรกลการเกษตร

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา สยามคูโบต้า ได้ร่วมจัดตัวอย่างแปลงสาธิตการบริหารจัดการไร่อ้อยแบบครบวงจร โดยใช้เครื่องจักรกลการเกษตร ในงานประชุมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลนานาชาติ ครั้งที่ 29  เพื่อโชว์ศักยภาพการใช้งานเครื่องจักรกลการเกษตรและอุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับปลูกอ้อยรายย่อยแบบรวมกลุ่มให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น โดยได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานจำนวนมาก ทั้งนักวิชาการ ผู้ประกอบการ รวมถึงเกษตรกรไทยและเกษตรกรจากต่างประเทศ

ทั้งนี้ สยามคูโบต้า ได้นำขั้นตอนการบริหารการจัดการไร่อ้อยและเทคนิคการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร มาใช้เป็นแนวทางในการสาธิตในครั้งนี้  ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งกับเกษตรกรไทยในยุคปัจจุบัน เพราะประหยัดแรงงานคนย่นระยะเวลาในการทำการเกษตร และยังได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ  ที่สำคัญ คือ ตอบโจทย์เกษตรกรรายย่อยที่ประสบปัญหาการลงทุนใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยแบบครบวงครเพื่อปลูกอ้อย

ดังนั้น สยามคูโบต้า จึงวางแผนที่จะเพิ่มขีดความสามารถการปลูกอ้อยให้กับเกษตรกรรายย่อยที่ประสบปัญหาดังกล่าว เริ่มจากการออกแบบขนาดแปลงที่เหมาะสมกับเครื่องจักรกลการเกษตร การสาธิตการจัดการไร่อ้อยแบบครบวงจร สำหรับเกษตรกรรายย่อยที่รวมกลุ่มกันใช้เครื่องจักรกลการเกษตร ซึ่งเมื่อเกษตรกรรวมกลุ่มกันแล้วจะทำให้มีกำลังซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรที่มีขนาดแรงม้ามากขึ้น พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่ทำงานได้หลากหลาย และสามารถนำมาใช้งานร่วมกันในขั้นตอนต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมดิน ที่จะใช้แทรกเตอร์ขนาด 95 แรงม้า มาต่อพ่วงกับผานสับใบ เพื่อใช้ไถรื้อตออ้อย ช่วยให้เกษตรกรไม่ต้องเผาใบอ้อยเหมือนอย่างเดิม และยังเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมในพื้นที่อีกด้วย

นอกจากนี้ สยามคูโบต้ายังใช้แทรกเตอร์ขนาด 95 แรงม้า ต่อพ่วงกับชุดไถระเบิดดินดาน สาธิตการระเบิด
ดินดาน เพื่อช่วยเพิ่มความชื้นใต้ดินในการปลูกอ้อยข้ามแล้งให้กับเกษตรกร อีกทั้งยังสาธิตการพรวนดิน ทำให้ดินมีความละเอียด ราบเรียบ และรักษาความชื้นในดินให้ได้มากที่สุด 

มาถึงขั้นตอนการเพาะปลูก ได้นำแทรกเตอร์ขนาด 95 แรงม้า ต่อพ่วงกับเครื่องปลูกอ้อย สาธิตการทำงานการปลูกอ้อยไปพร้อมๆ กับการใส่ปุ๋ย ซึ่งท่อนพันธุ์ที่ปลูกนั้น จะถูกกลบด้วยล้ออัดดิน ช่วยให้อ้อยงอกโตได้เร็วขึ้น ซึ่งเครื่องปลูกอ้อยนี้ สามารถปลูกอ้อยได้ประมาณ 8 ไร่/ วัน ซึ่งประหยัดแรงงานคนและลดระยะเวลาการปลูกได้เร็วขึ้น

ภายหลังจากการปลูกอ้อย สยามคูโบต้า ยังได้สาธิตการดูแลรักษาไร่อ้อย ด้วยการใช้แทรกเตอร์ขนาด 24 แรงม้า ซึ่งเป็นรุ่นที่เกษตรกรรายย่อยสามารถซื้อไว้ใช้ส่วนตัวได้ โดยนำมาสาธิตการกำจัดวัชพืชระหว่างแถวอ้อย ทดแทนการใช้สารควบคุมวัชพืช ตอบโจทย์การปลูกอ้อยแบบการลดสารเคมี พร้อมทั้งสาธิตการใช้เครื่องฝังปุ๋ย ทดแทนการหว่านปุ๋ย เพื่อลดการสูญเสียปุ๋ยจากความร้อนและการพัดพาของน้ำ ทำให้อ้อยได้รับปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ และเกษตรกรยังได้ผลผลิตที่สูงขึ้นอีกด้วย

การสาธิตของสยามคูโบต้าในงานนี้  เราพยายามตอกย้ำว่า เกษตรกรรายย่อย ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศก็สามารถใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรได้  และคุ้มค่ากับการลงทุน นอกจากนั้นยังช่วยประหยัดเวลา ลดปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงานคน และลดการใช้สารเคมี ซึ่งสามารถตอบโจทย์การปลูกอ้อยเพื่อนำไปทำน้ำตาล  ออร์แกนิคในอนาคตอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

แตนเบียน (Anagyrus lopezi) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแถบอเมริกาใต้ ทำหน้าที่เป็นทั้งตัวห้ำและตัวเบียน สามารถฆ่า (การห้ำ) เพลี้ยแป้งสีชมพูให้ตายได้ทันที เฉลี่ยวันละ 20-30 ตัว และวางไข่ (การเบียน) ในตัวเพลี้ยแป้งสีชมพู เฉลี่ยวันละ 15-20 ตัว แตนเบียนหนึ่งตัวสามารถฆ่าเพลี้ยแป้งสีชมพูได้เฉลี่ยวันละ 35-50 ตัว
มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เอกสารแนะนำ เลขที่ 2/2552 ธันวาคม 2552 เกษตรกรสามารถควบคุมเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง โดยใช้ชีววิธี มี 2 วิธี ได้แก่ การใช้เชื้อราบิวเวอเรียฉีดพ่น และการปล่อยตัวอ่อนแมลงช้างปีกใส ซึ่งเป็นวิธีธรรมชาติ
1. การเลือกปลูกพืชที่เหมาะสม การเลือกปลูกพืชที่ทนกรด ทนต่อการขาดธาตุอาหารบางชนิดและพืชที่ทนต่อสารพิษของเหล็กและอะลูมินัมได้จะเป็นการช่วยลดต้นทุน การผลิตจากการใช้ปูนปรับปรุงดิน ทั้งนี้ควรเลือกปลูกพืชที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ดี เนื่องจากการปลูกพืชในพื้นที่ดินที่เปรี้ยวจัดต้องลงทุนในการจ