ชุดดินนครปฐม

ชุดดินในที่ลุ่มที่สำคัญ ในภาคกลาง

2. ชุดดินนครปฐม (Nakhon Pathom series : Np)

กลุ่มชุดดินที่ 7

การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนที่ราบตะกอนน้ำพาหรือตะพักลำน้ำ

สภาพพื้นที่ : ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 %

การระบายน้ำ : ค่อนข้างเลว

การซึมผ่านได้ของน้ำ : ช้า

การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ช้า

ลักษณะสมบัติของดิน : เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง หรือดินร่วนปนดินเหนียวสีน้ำตาลปนเทาหรือน้ำตาลเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.0-6.5) ดินล่างตอนบนเป็นดินเหนียวหรือดินร่วนปนดินเหนียว สีน้ำตาลปนเทาเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นด่างปานกลาง (pH 6.5-8.0) ในตอนล่าง จะพบมวลก้อนกลมของเหล็กและแมงกานีส รวมทั้งมวลก้อนกลมของปูน ที่ระดับความลึกมากกว่า 80 ซม. พบจุดประสีน้ำตาลแก่หรือน้ำตาลปนเหลืองตลอดชั้นดิน

การแพร่กระจาย : พบมากบริเวณที่ราบลุ่มในภาคกลาง ส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในจังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และนครปฐม ใช้ประโยชนที่ดินสำหรับการปลูกข้าวซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของที่ราบลุ่มภาคกลาง

ปัญหาและข้อจำกัด : การมีน้ำขังในช่วงฤดูฝน

ข้อเสนอแนะ : เหมาะสำหรับทำนา ความอุดมสมบูรณ์ของดินอยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างสูง จะให้ผลผลิตข้าวอยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างสูง ปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มผลผลิตโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ในพื้นที่ชลประทาน นอกฤดูทำนาอาจปลูกพืชไร่หรือพืชผัก ซึ่งจะต้องยกร่องและปรับสภาพดินให้ร่วนซุยและระบายน้ำดีขึ้น โดยการเพิ่มอินทรียวัตถุ

สมบัติทางเคมี :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาน้ำเค็มไหลเข้าพื้นที่การเกษตรหลายแห่ง ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ทำการเพาะปลูกพืชมากมาย และส่งผลกระทบต่อพืชโดยตรง เช่น ปลายใบไหม้ ต้นเหี่ยว และใบเหลือง ทำให้ผลผลิตของเกษตรกรลดลง ซึ่งสาเหตุการเกิดน้ำเค็มในแต่ละภาคแตกต่างกันไป เช่น บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas rubrilineans การระบาด 1. ระบาดไปทางท่อนพันธุ์ 2. ระบาดโดยทางลม ฝน โดยพัดพาเชื้อจากต้นที่เป็นโรคไปติดต้นอ้อยข้างเคียง ลักษณะอาการ ใบมีเส้นสีแดงเป็นขีดยาวตามความยาวของใบบางครั้งรอยขีดติดกันเป็นปื้น ต่อมาเชื้อลามไปในยอด ทําให้มีอาการยอดเน่าบางพันธุ์อาจพบ
น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการชักนำให้เกิดชนิดวัชพืชต่าง ๆ ในนาข้าว เนื่องจากความชื้นในดินมีส่วนช่วยให้เมล็ดหรือส่วนขยายพันธุ์ของวัชพืชงอกได้ วัชพืชแต่ละชนิดต้องการความชื้นในการงอก ในระดับที่แตกต่างกันออกไป เช่น หญ้านกสีชมพู หนวดปลาดุก และกกทราย ต้องการความชื้นระดับดินหมาด (field capacity)