การปักดำข้าวด้วยเครื่องปักดำ

ความจำเป็นที่ต้องใช้เครื่องปักดำ

  • นาหว่าน มีปัญหาข้าวดีด,หญ้าวัชพืชและผลผลิตต่ำ
  • ในการขาดแคลนแรงงานคนในช่วงเวลาปักดำ รวมทั้งมีค่าจ้างแรงงานสูง เป็นปัญหาที่สำคัญในการปลูกข้าว โดยเฉพาะในท้องที่ที่ยังคงปลูกข้าวด้วยวิธีปักดำ การใช้รถดำนาจึงเป็นวิธีที่ช่วยแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

เครื่องปักดำทำงานอย่างไร?

 เครื่องปักดำมี 2 ประเภท คือ เดินตาม และนั่งขับ เครื่องยนต์มีทั้งเบนซิลและดีเซลสามารถปักดำได้ครั้งละ 4,6 และ 8 แถว (ตามแต่ละรุ่นที่กำหนดไว้) ระยะห่างระหว่างแถว 30 เซนติเมตร(ไม่สามารถปรับได้) ส่วนระยะห่างระหว่างกอสามารถปรับได้(ขึ้นอยู่กับรุ่น) และนอกจากนั้นยังสามารถปรับความลึกในการปักดำได้อีกด้วย

วิธีการเตรียมแปลง

1.  ไถ-คราดดินในแปลงตามปกติเหมือนกับแปลงนาที่เตรียมไว้สำหรับใช้แรงงานคนปักดำ

2.  หลังการไถ-คราดแล้วต้องพักแปลงไว้โดยขังน้ำทิ้งไว้ 3-5 วัน (ขึ้นอยู่กับลักษณะดิน) เพื่อให้ดินเลนในแปลงตกตะกอนก่อน เพราะถ้าดินเลนในแปลงยังเหลวจะไม่มีแรงยึดต้นกล้า ทำให้ต้นกล้าล้มง่าย และดินเลนยังจะถูกสกีเบียดไหลไปทับต้นกล้าในขณะที่เครื่องยนต์ทำงานด้วย

3.  แปลงที่เป็นดินเหนียวใช้เวลาพักแปลงประมาณ 3-4 วัน ในดินทรายใช้เวลาประมาณ 1-2 วัน

4.  ขณะที่ใช้เครื่องดำนาให้รักษาระดับน้ำในแปลงให้สูงประมาณ 5 เซนติเมตร หรือครึ่งหนึ่งของความสูงของต้นกล้าที่ปักดำแล้ว

วิธีการเตรียมการใช้เครื่องปักดำ

  • ปรับความลึกในการปักดำ ปรับระยะห่างระหว่างกอ และปรับจำนวนต้นต่อกอ ให้ได้ตามที่ต้องการ
  • นำแผ่นกล้าใส่ลงในแผงใส่กล้า จากนั้นก็สามารถขับเคลื่อนรถดำนาได้

ข้อควรระวัง

  • การเตรียมแปลงปักดำไม่ควรไถลึกเกินไป เพื่อง่ายต่อการควบคุมเครื่องปักดำ
  • อย่าใช้เครื่องปักดำในแปลงนาที่มีดินแห้งเด็ดขาด เพราะเครื่องดำนาจะเสียหาย
  • การปักดำด้วยเครื่องจำเป็นต้องใช้กล้าที่ตกเป็นแผ่นในถาดเพาะกล้าหรือในแปลงนา

บทความที่เกี่ยวข้อง

ด้วงหนวดยาว จัดเป็นแมลงศัตรูอ้อยที่สำคัญต่อการปลูกอ้อย โดยสามารถเข้าทำลายอ้อยตั้งแต่ระยะเริ่มปลูกจนถึงระยะเก็บเกี่ยว โดยหนอนของด้วงหนวดยาวจะเข้าไปในส่วนของลำต้นอ้อยที่อยู่ใต้ดิน ทำให้อ้อยแห้งตาย ในอ้อยปลูกหากพบด้วงหนวดยาวเข้าทำลายจะส่งผลให้ผลผลิตอ้อยลดลง 13-43 % และน้ำตาลลดลง 11-46 % ส่วนอ้อย
ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกข้าวหอมมะลิหนองผักบุ้งพัฒนา จ.เพชรบูรณ์ การส่งเสริมให้เกษตรกรใช้พื้นที่นาให้เกิดประโยชน์สูงสุดและให้เล็งเห็นถึงโอกาสในการสร้างรายได้เพิ่ม จากการปลูกพืชหลังนา เป็นหนึ่งแนวทางที่สยามคูโบต้าได้สนับสนุนพี่น้องเกษตรกรไทยมาโดยตลอด เพราะนอกจากจะทำให้มีรายได้เพิ่มแล้ว ยังเกิด
มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เอกสารแนะนำ เลขที่ 2/2552 ธันวาคม 2552 เกษตรกรสามารถควบคุมเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง โดยใช้ชีววิธี มี 2 วิธี ได้แก่ การใช้เชื้อราบิวเวอเรียฉีดพ่น และการปล่อยตัวอ่อนแมลงช้างปีกใส ซึ่งเป็นวิธีธรรมชาติ