เกษตรกรไม่ต้องกังวลใจเรื่องปุ๋ยยูเรียแพงแล้วนะ เพราะเราสามารถใช้แหนแดงแทนปุ๋ยยูเรียได้

เกษตรกรไม่ต้องกังวลใจเรื่องปุ๋ยยูเรียแพงแล้วนะ เพราะเราสามารถใช้แหนแดงแทนปุ๋ยยูเรียได้

โดยข้อมูลจากกรมวิชาการการเกษตรระบุไว้ว่าหากปลูกแหนแดง 1 ไร่ จะได้แหนแดง 3 ตัน มีธาตุอาหารเทียบเท่าปุ๋ยยูเรีย 7-10 กิโลกรัม เลยทีเดียว แต่ก่อนจะใช้แหนแดงทดแทนปุ๋ย เรามารู้จักคุณสมบัติ และวิธีการใช้แหนแดงกันก่อนดีกว่าครับ

  แหนแดง เป็นปุ๋ยพืชสดที่ให้ธาตุอาหารสูงมาก ยิ่งกว่าพืชตระกูลถั่วที่รู้จักกันดี โดยมีสัดส่วนไนโตรเจนสูงถึง 5 %

ในขณะที่ปุ๋ยพืชสดที่ได้จากพืชตระกูลถั่วมีอยู่เพียง 2.5%

ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวทำให้สามารถใช้ปุ๋ยพืชสดจากแหนแดงแทนปุ๋ยยูเรียได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  แหนแดง เป็นพืชตระกูลเฟิน เจริญเติบโตบนผิวน้ำ เลี้ยงได้ในบ่อตื้น มีร่มรำไร หากปล่อยลงบ่อในฤดูฝนจะใช้เวลาเติบโตเต็มบ่อ 5 ตารางเมตร ในระยะเวลาเพียง 10-15 วันเท่านั้น

  การเลี้ยงแหนแดง 1 ไร่จะได้ผลผลิตมากถึง 3,000 กิโลกรัม ซึ่งแหนแดงแห้ง 1 กิโลกรัมใช้ในพื้นที่ปลูกได้  2 ตารางเมตร และที่สำคัญธาตุอาหารที่ได้จากแหนแดงแห้ง 6 กิโลกรัม เทียบเท่ากับที่ได้จากปุ๋ยยูเรียประมาณ 10-12 กิโลกรัมเลยทีเดียว

  การใช้แหนแดงสดในนาข้าว ควรหว่าน 2 ช่วง ช่วงแรกคือก่อนตีเทือก เพื่อให้แหนแดงไปเพาะขยายในท้องนา ประมาณ 20 วัน แล้วไถกลบ เมื่อแหนแดงย่อยสลายก็จะเริ่มปลดปล่อยไนโตรเจนออกมา อีกช่วงคือหว่านในนาดำหลังจากดำนาแล้ว แหนแดงจะไปขยายพันธุ์เต็มท้องนา ใช้ประโยชน์จากแหนแดงให้บังแสงแดดไม่ให้วัชพืชขึ้นตามมาได้

  หากใช้แหนแดงแห้งในการปลูกผัก ให้ใช้ในอัตราส่วน 20 กรัมต่อวัสดุเพาะ 1 กิโลกรัม นอกจากนี้ยังใช้แหนแดงเป็นอาหารสัตว์ ทั้ง ไก่ เป็ด ปลา ได้ด้วย จึงไม่น่าแปลกใจที่แหนแดงจะถูกขนานนามให้เป็นเสมือนโรงงานผลิตปุ๋ยไนโตรเจน ที่สามารถผลิตเองได้ในครัวเรือน ต้นทุนน้อย ได้ผลผลิตเร็วและดี นั่นเอง

  รู้จักคุณสมบัติ และวิธีใช้แหนแดงกันแบบนี้แล้ว ก็อย่าลืมลองเอามาปรับใช้กับที่นาของตัวเองกันดูนะครับ จะได้ช่วยลดต้นทุนการทำเกษตรในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ครับ

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ชนิด : ข้าวเจ้า คู่ผสม : การผสมเดี่ยว ระหว่างพันธุ์ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี และพันธุ์สุพรรณบุรี 1 ประวัติพันธุ์ :ทดสอบที่ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี ในฤดูนาปรัง เมื่อปี พ.ศ. 2542 และปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPR99007-22-1-2-2-1 ทดสอบผลผลิตในสถานีระหว่างสถานีในนาราษฎร์ โดยมีทดสอบความ ต้านทานต่อโรคและแมลงศ
แหนแดง (Azolla) เป็นเฟิร์นน้ำเล็กๆชนิดหนึ่ง เจริญเติบโตและลอยอยู่บนผิวน้ำในเขตร้อน และเขตอบอุ่น โดยจะดำรงชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกันกับสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินกลุ่มไซยาโนแบคทีเรียชื่อ Anabana azollae อาศัยอยู่ ที่สามารถตรึงก๊าซไนโตรเจนในอากาศ (symbiotic nitrogen fixing microorganisms) ให้ม
“น้ำดี ดินดี คนมีความสามัคคี ข้าวดีมีคุณภาพ ต้องข้าวของศูนย์ข้าวชุมชนหนองปิ้งไก่” พี่น้องเกษตรกรทุกท่าน เคยประสบปัญหาเหล่านี้บ้างไหม ไม่รู้จะปลูกอะไรดี ปลูกอย่างไร ใช้วิธีไหนถึงจะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณมาก เมื่อได้ผลผลิตแล้วจะไปขายที่ไหน ทำไมราคาสินค้าทางการ