ปรับตัวสู้ภัยแล้ง

ในปัจจุบันเกษตรกรประสบปัญหาภัยแล้ง ทำให้ไม่สามารถทำนาในฤดูนาปรังได้ เกษตรกรสามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้โดยการปลูกผักอายุสั้น ซึ่งเป็นทางเลือกในการสร้างรายได้อีกวิธีหนึ่ง โดยผักอายุสั้นที่เกษตรกรนิยมปลูกได้แก่ ผักชี ต้นหอม กะเพรา โหระพา และแตงกวา เป็นต้น  ผักเหล่านี้เป็นผักที่ใช้น้ำน้อยเหมาะสำหรับวิกฤตภัยแล้ง โดยก่อนการเริ่มปลูกนั้นเกษตรต้องทำการปรับสภาพพื้นที่นาให้เหมาะสมสำหรับการปลูกผัก และต้องทำการวางแผนการเพาะปลูกผักให้ตรงกับช่วงฤดูกาลซึ่งจะช่วยให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง จึงควรพิจารณาการเลือกปลูกผักดังนี้

การเลือกปลูกผักให้ตรงตามฤดูกาลนั้นนอกจากทำให้ได้ผักที่มีคุณภาพดีแล้ว เกษตรกรสามารถลดต้นทุนด้านการผลิตได้อีกทางหนึ่ง เนื่องจากผักที่ปลูกตามฤดูกาลนั้นจะได้รับอุณหภูมิ และน้ำในปริมาณที่พอเหมาะทำให้ผักแข็งแรง ดูแลง่าย และเจริญเติบโตได้ดีโดยไม่ต้องใช้สารเคมีในการเพาะปลูกอีกด้วย 

บทความที่เกี่ยวข้อง

จุดกำเนิด ของการปลูกมันสำปะหลังเพื่อเลี้ยงโคนมในระบบอินทรีย์ของประเทศไทย เริ่มต้นจากกระแสการดูแลสุขภาพของคนทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น โดยเกษตรกรต้องการลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน แหล่งน้ำ และอากาศ รวมถึงการตอบแทนคุณแผ่นดินซึ่งเป็นที่ทำกินตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ
สำหรับการปรับปรุงบำรุงดินทำได้หลากหลายวิธี โดยการใช้อินทรียวัตถุในรูปแบบต่างๆ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยพืชสด การใช้วัสดุคลุมดินหรือการไถกลบตอซังของพืชที่ปลูก แต่หลายๆวิธีการที่กล่าวมานั้นต้องมีการจัดเตรียมหรือจัดหามาจากแหล่งภายนอก บางครั้งต้องเสียค่าใช้จ่าย วิธีการไถกลบ
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์ของประเทศ ทั้งนี้ มีการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ภายในประเทศมากถึงร้อยละ 93.1 ของอาหารเลี้ยงสัตว์ทั้งหมดภายในประเทศ ซึ่งจากปริมาณความต้องการดังกล่าวถือเป็นโอกาสอันดี ที่เกษตรกรของไทยจะพัฒนาการผลิตข้าว